Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
ทัชมัย ฤกษะสุต
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.199
Abstract
จากมาตรการบรรเทาภาระภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่กำหนดว่า ให้ที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมที่มีบุคคลธรรมดาเป็นเจ้าของเป็นจำนวนไม่เกิน 50 ล้านบาท ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษี ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ซึ่งผู้วิจัยเห็นว่า เป็นการยกเว้นภาระภาษีที่มากเกินไปและไม่สอดคล้องกับหลักภาษีอากรที่ดี ส่งผลให้เกิดปัญหาการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมอยู่หลายประการ เช่น การนำที่ดินซึ่งตั้งอยู่ในเขตพื้นที่เมืองมาใช้ประโยชน์ในการประกอบเกษตรกรรมเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษี หรือการยกเว้นภาษีไม่ได้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรอย่างแท้จริงเพราะไม่ใช่เจ้าของที่ดิน เป็นต้น ดังนั้น ผู้วิจัยจึงได้เสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าวตามที่ได้ศึกษากฎหมายภาษีทรัพย์สินของต่างประเทศโดยนำมาเปรียบเทียบและวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อปรับใช้ให้เกิดความเหมาะสม โดยจำแนกได้ 3 แนวทาง ได้แก่ การกำหนดนิยามการใช้ที่ดินสำหรับเกษตรกรรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ควรกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณาสำหรับการประกอบเกษตรกรรมให้มุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบอาชีพเกษตรกรอย่างแท้จริง การกำหนดมาตรการบรรเทาภาระภาษีสำหรับที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมให้เหมาะสม กล่าวคือ ผู้วิจัยเห็นว่ามาตรการบรรเทาภาระภาษีดังกล่าวยังคงต้องมีการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษีที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมอยู่ แต่ควรนำแผนผังเมืองรวมตามกฎหมายว่าด้วยการผังเมืองมาประกอบการพิจารณาในการยกเว้นมูลค่าของฐานภาษี ทั้งนี้ เพื่อไม่เป็นการจำกัดเสรีภาพของผู้ที่ประกอบเกษตรกรรมอย่างแท้จริงซึ่งมีที่ดินตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ใจกลางเมืองมากเกินไป จึงควรกำหนดเป็นข้อยกเว้นให้ได้รับการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีได้โดยการตั้งคณะกรรมการในแต่ละเขตท้องถิ่นขึ้นมาเพื่อพิจารณาว่าสมควรได้รับการยกเว้นหรือไม่เป็นรายกรณีไป และกำหนดมาตรการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้รัดกุมและมีประสิทธิภาพควบคู่กันไป เช่น การกำหนดให้กลับมาประเมินภาษีใหม่และให้ชำระค่าภาษีย้อนหลัง ในกรณีที่ดินที่ใช้สำหรับเกษตรกรรมถูกนำไปใช้ประโยชน์อื่น หรือการกำหนดการถือครองและกฎเกณฑ์ในการควบคุมการเช่าที่ดินเพื่อการเกษตรให้มีความเหมาะสม หรือการกำหนดให้จัดเก็บภาษีการใช้น้ำสำหรับเกษตรกรรมโดยมุ่งเน้นจัดเก็บจากเกษตรกรรายใหญ่ รวมทั้งการสนับสนุนเกษตรกรให้มีความสามารถในการประกอบอาชีพได้อย่างมั่นคง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
อุ่นจิตต์, คุณานนต์, "ปัญหามาตรการบรรเทาภาระภาษีโดยการยกเว้นมูลค่าฐานภาษีสำหรับที่ดิน และสิ่งปลูกสร้างที่ใช้สำหรับเกษตรกรรม ตามมาตรา 40 แห่งพระราชบัญญัติ ภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7815.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7815