Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
พัฒนาพร โกวพัฒนกิจ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.196
Abstract
ในปัจจุบันธนาคารกลางทั่วโลกรวมไปถึงธนาคารแห่งประเทศไทยวางแผนผลิตและนำออกใช้สกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน (Retail CBDC) ซึ่งจะถูกนำมาใช้งานเป็นเงินในรูปแบบใหม่อันมีสถานะรับรองอย่างถูกต้องตามกฎหมายเงินตรา ดังเช่น ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ในปัจจุบัน อย่างไรก็ตาม พระราชบัญญัติเงินตรา พ.ศ. 2501 กำหนดรูปแบบของเงินตราให้หมายความเฉพาะถึงเหรียญกษาปณ์และธนบัตรเท่านั้น ซึ่งมิได้หมายความรวมถึงเงินในรูปแบบดิจิทัลด้วย ดังนั้น หากเงินดิจิทัลดังกล่าวจะถูกนำมาใช้งานดังเช่นเงินตราที่ถูกต้องตามกฎหมาย กฎหมายเงินตราต้องได้รับการปรับปรุงแก้ไขเพื่อให้สอดคล้องกับการออกสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าว ทั้งนี้ เพื่อที่จะทราบถึงประเด็นในการแก้ไขหรือปรับปรุงกฎหมายเงินตราข้างต้น เอกัตศึกษาฉบับนี้ได้พิจารณาถึงคุณลักษณะทางกฎหมายของเงินตรา 5 ประการ อันได้แก่ (1) การถูกจัดทำขึ้นโดยรัฐหรือหน่วยงานของรัฐ (2) มีมูลค่าบังคับ (3) สามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย (4) เอกสิทธิภายใต้กฎหมายเอกชน และ (5) ความคุ้มครองภายใต้กฎหมายอาญา ประกอบกับรูปแบบการใช้งานของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชน รวมไปถึงศึกษาและเปรียบเทียบการปรับปรุงกฎหมายเงินตราในสาธารณรัฐประชาชนจีนและบาฮามาสต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลดังกล่าวเพื่อเสนอแนวทางการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเงินตราให้สอดคล้องกับคุณลักษณะทางกฎหมายของเงินตราและรูปแบบการใช้งานของสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พงษ์ประภาพันธ์, กฤษฏ์, "ข้อจำกัดของกฎหมายเงินตราต่อการออกสกุลเงินดิจิทัลที่ออกโดยธนาคารกลางสำหรับประชาชนในประเทศไทย" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7812.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7812