Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.192

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเนื้อหาสาระสำคัญในร่างพระราชบัญญัติการ แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อปฏิบัติตามการภาษีอากรระหว่างประเทศ พ.ศ. ... ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติ ภายใต้พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 54) พ.ศ. 2564 ที่มีสาระสำคัญในการ ให้อำนาจเจ้าหน้าที่กรมสรรพากรในการนำข้อมูลผู้มีถิ่นฐานทางภาษีของประเทศคู่สัญญา ที่ถือครอง บัญชี หรือมีบัญชีที่เข้าข่ายต้องถูกนำส่งข้อมูลโดยอัตโนมัติ เป็นรายปี ด้วยวิธีบันทึกลงในฐานข้อมูล ตามมาตรฐานและการรักษาความปลอดภัยทางข้อมูลที่กำหนดโดยองค์การเพื่อความร่วมมือและการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ (OECD) และกรมสรรพากรไทยจะได้รับข้อมูลทางบัญชีของผู้มีถิ่นที่อยู่เพื่อการ จัดเก็บภาษีในไทยส่งกลับมาเช่นกัน จากการวิเคราะห์มาตรการตามร่างพระราชบัญญัติฯ พบว่า เมื่อได้รับข้อมูลทางบัญชีจากการ แลกเปลี่ยนข้อมูลอัตโนมัติระหว่างประเทศจากประเทศภาคีที่ทำตามความตกลง หากพบความ ผิดปกติ เช่น มีแนวโน้มกระทำธุรกรรมเพื่อเลี่ยงภาษี กฎหมายไทยยังไม่มีการบัญญัติที่เป็นลายลักษณ์ อักษรในเรื่องดังกล่าวในการตรวจสอบผู้ที่กระทำการจงใจเลี่ยงภาษีด้วยการย้ายเงินได้ เงินทุน ประกอบธุรกรรมในต่างประเทศ เนื่องด้วยการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบการทำธุรกรรมทางการเงินใน ยุคดิจิทัล การลงทุนในรูปแบบต่างๆ นั้นมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วและในบางครั้งอาจเกินกว่าที่ข้อ กฎหมายจะสามารถระบุออกมาได้อย่างครอบคลุม ดังนั้นกฎหมายดังกล่าวจะต้องดำเนินการให้เท่า ทันต่อความเปลี่ยนแปลงที่เกิดอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพื่อให้การใช้บังคับกฎหมายเป็นไปอย่างเกิดประโยชน์สูงสุด จึงศึกษาแนวทางการบัญญัติกฎ ทั่วไปว่าด้วยการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร (General Anti-tax Avoidance Rules) และเสนอให้ เพิ่มมาตรการต่อต้านการเลี่ยงภาษีอากร เพื่อให้อำนาจเจ้าหน้าที่ และกำหนดกลไกทางกฎหมายอย่าง ครบถ้วนในการใช้ข้อมูลเกี่ยวกับบัญชีที่ได้รับจากการแลกเปลี่ยนข้อมูลฯ เพื่อพิจารณาในประเด็นการ กระทำที่มีเหตุจูงใจ หรือเชื่อได้ว่าจงใจเลี่ยงภาษีรวมถึงหลักการรายงานข้อมูลเงินได้นอกประเทศไม่ ว่าจะนำเงินได้กลับเข้าประเทศหรือไม่ โดยการระบุขั้นต่ำของยอดเงินในบัญชีและประเภทของเงินได้ ที่ต้องรายงาน รวมไปถึงการเปิดเผยข้อมูลโดยสมัครใจเพื่อเป็นการจูงใจให้ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเข้า รายงานโดยตรงต่อหน่วยงานทางภาษีที่เกี่ยวข้อง หากไม่มั่นใจเกี่ยวกับการทำธุรกรรมในต่างประเทศ ในอดีตที่มีผลสืบเนื่องทางภาษี และมีการลดหย่อนโทษที่อาจเกิดขึ้นหากผู้มีหน้าที่เสียภาษีถูก ตรวจสอบ ผู้ศึกษาเชื่อว่าจะสามารถสร้างประโยชน์ต่อประเทศชาติในการจัดเก็บภาษีบนเงินได้ ดังกล่าวได้ในอนาคต

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.