Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

มานิตย์ จุมปา

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.182

Abstract

วิสาหกิจเริ่มต้นหรือสตาร์ทอัพเป็นกลไกสําคัญอย่างหนึ่งในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของ ประเทศ การมีธุรกิจสตาร์ทอัพจํานวนมากจะช่วยให้ระบบเศรษฐกิจของประเทศเจริญเติบโต ดึงดูด นักลงทุนต่างประเทศให้เข้ามาลงทุนในประเทศไทย สร้างอาชีพและรายได้ให้กับคนในประเทศ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเศรษฐกิจและสังคม ในการประกอบธุรกิจสตาร์ทอัพนั้น จําเป็นจะต้องมีแหล่งเงินทุนเพื่อเข้ามาสนับสนุนธุรกิจ ตั้งแต่ระยะเริ่มต้นจนกระทั่งเติบโตและขยายธุรกิจเพื่อเข้าสู่ตลาดใหม่ ๆ ในอนาคต ปัจจุบันแหล่ง เงินทุนที่สําคัญสําหรับสตาร์อัพ คือ ธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) มีสตาร์ทอัพ มากมายทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ประสบความสําเร็จเพราะได้รับเงินสนับสนุนจากธุรกิจเงิน ร่วมลงทุน เนื่องจากนักลงทุนประเภทนี้มีความเข้าใจในธุรกิจสตาร์ทอัพและมองเห็นถึงศักยภาพของ ธุรกิจ สามารถยอมรับความเสี่ยงในระดับที่สูง สามารถให้คําแนะนําและเป็นที่ปรึกษาด้านการดําเนิน ธุรกิจ โดยมีเป้าหมายร่วมกับเจ้าของสตาร์ทอัพ คือ ผลักดันให้ธุรกิจเติบโตจนประสบความสําเร็จ เพื่อ ผลตอบแทนที่มีมูลค่าสูง มาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่มีอยู่ในปัจจุบันของประเทศไทยเมื่อเปรียบเทียบกับ ต่างประเทศพบว่าประเทศไทยมีข้อจํากัดบางประการที่ทําให้ไม่สามารถดึงดูดนักลงทุนได้เท่าที่ควร มี สภาพแวดล้อมในการทําธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เป็นอุปสรรค เช่น มีการร่างพระราชบัญญัติการพัฒนา และส่งเสริมวิสาหกิจเริ่มต้น พ.ศ. .... ตั้งแต่ปี 2559 จนกระทั่งปัจจุบัน แต่ยังไม่สามารถตราเป็น พระราชบัญญัติเพื่อใช้บังคับเป็นการทั่วไป มาตรการยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการ ลงทุนขาดความต่อเนื่อง โครงการ SMART Visa ที่ให้สิทธิพิเศษแก่ชาวต่างชาติที่เป็นนักลงทุนไม่ ครอบคลุมทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกับนโยบายรัฐบาล เป็นต้น จากการศึกษามาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนของประเทศสิงคโปร์และอิตาลี ในด้าน กฎหมาย มาตรการทางภาษี มาตรการเชิงนโยบายของภาครัฐ ผู้เขียนเห็นว่า สามารถนําแนวคิดหรือ รูปแบบการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนบางประการมาปรับใช้ตามความเหมาะสมของบริบทและ สภาพแวดล้อมของประเทศไทย โดยปรับปรุงกฎหมายให้เอื้ออํานวยต่อการลงทุน เพิ่มมาตรการ ยกเว้นภาษีกําไรจากลงทุนและเงินปันผลจากการลงทุนในสตาร์ทอัพ เพิ่มสิทธิประโยชน์ให้แก่นัก ลงทุนต่างชาติ ตลอดจนรัฐบาลจัดตั้งกองทุนร่วมกับธุรกิจเงินร่วมลงทุนเพื่อสนับสนุนเงินทุนให้แก่ สตาร์อัพ หากประเทศไทยมีมาตรการส่งเสริมธุรกิจเงินร่วมลงทุนที่เหมาะสมจะช่วยดึงดูดนักลงทุนให้ มีส่วนร่วมในการสนับสนุนสตาร์ทอัพให้สามารถเติบโตอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนซึ่งจะช่วยขับเคลื่อน ระบบเศรษฐกิจของประเทศไทย

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.