Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
ชวพล อัครวรนันท์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.179
Abstract
พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ถูกบัญญัติขึ้นเพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้มากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีการเพิ่มเติมประเภทของทรัพย์สินที่สามารถนำมาเป็นหลักประกันได้โดยไม่ต้องส่งมอบการครอบครองทรัพย์สินทำให้ลูกหนี้สามารถใช้ทรัพย์สินนั้นต่อไปในการประกอบกิจการได้ และเพื่ออำนวยความสะดวกแก่เจ้าหนี้ที่ไม่จำเป็นต้องดูแลทรัพย์สินที่ลูกหนี้นำมาเป็นหลักประกัน การบัญญัติพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจนี้ขึ้นจึงถือได้ว่าเป็นประโยชน์แก่ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้โดยทั่วไป แต่สำหรับเจ้าหนี้ต่างประเทศ เช่น ธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เป็นต้น ที่ให้สินเชื่อร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ของไทย ซึ่งเจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวไม่ใช่ธนาคารพาณิชย์ต่างประเทศ ทำให้เจ้าหนี้ต่างประเทศดังกล่าวไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อสิทธิในหลักประกันที่เจ้าหนี้ต่างประเทศควรจะได้รับเทียบเท่ากับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยในกรณีที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ และเกิดการบังคับหลักประกันเกิดขึ้น เนื่องจากเจ้าหนี้ต่างประเทศข้างต้นไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจได้ เจ้าหนี้ต่างประเทศเหล่านั้นจึงต้องเลือกทางเลือกอื่นในการจัดทำหลักประกันบนทรัพย์สินของลูกหนี้นั่นก็คือ การทำจำนอง จำนำ การทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้อง (Assignment) ซึ่งตามกฎหมายไทยนั้น การทำสัญญาโอนสิทธิเรียกร้องไม่สามารถทำมาเป็นหลักประกันเพื่อประกันการชำระหนี้ได้ ทำให้เมื่อเกิดการบังคับหลักประกันบนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันชิ้นเดียวกัน ระหว่างเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยซึ่งสามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจได้ กับเจ้าหนี้ต่างประเทศที่ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันทางธุรกิจได้ สิทธิบนทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันที่เจ้าหนี้ทั้ง 2 จะได้รับย่อมแตกต่างกัน กล่าวคือ การเป็นผู้รับหลักประกันทางธุรกิจจะถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 และถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้มีบุริมสิทธิ ทำให้สมารถได้รับชำระหนี้ได้ก่อนเจ้าหนี้รายอื่นในกรณีที่ลูกหนี้ล้มละลาย แต่ฝ่ายเจ้าหนี้ต่างประเทศที่ไม่ได้เป็นผู้รับหลักประกันจึงถือได้ว่าเป็นเจ้าหนี้ไม่มีประกันตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 จำเป็นจะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพื่อรอรับชำระหนี้ตามสัดส่วนจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ จากที่กล่าวมาข้างต้นทำให้เห็นถึงความเสียเปรียบของเจ้าหนี้ต่างประเทศที่ได้รับจากการให้สินเชื่อร่วมกับเจ้าหนี้ที่เป็นธนาคารพาณิชย์ไทยเนื่องมาจากการที่พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ.2558 ไม่กำหนดให้เจ้าหนี้ต่างประเทศเหล่านั้น สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ ในอนาคตหากไม่มีการแก้ไชพระราชบัญญัติเพื่อเพิ่มเติมเจ้าหนี้ต่างประเทศเหล่าหนี้เข้าไปเป็นผู้รับหลักประกัน อาจจะทำให้เจ้าหนี้ต่างประเทศไม่อยากเข้าร่วมให้สินเชื่อกับธนาคารพาณิชย์ไทยเนื่องมาจากการได้รับสิทธิที่ไม่เท่ากันระหว่างเจ้าหนี้ทั้ง 2 ฝ่าย ซึ่งจะถือเป็นการตัดโอกาสการเข้าถึงแหล่งเงินทุนขนาดใหญ่ของภาคธุรกิจของประเทศไทยก็เป็นได้ ข้อเสนอแนะ การกำหนดให้ผู้รับหลักประกันต้องเป็นสถาบันการเงินหรือบุคคลอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวง ถือเป็นการจำกัดการเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ ดังนั้น จึงทำให้นิติบุคคลต่างประเทศอื่น ๆ ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ซึ่งเป็นการปิดโอกาสในการให้สินเชื่อโดยใช้ทรัพย์เป็นหลักประกันจากนิติบุคคลที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศ สถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งถือเป็นแหล่งเงินทุนที่สำคัญ โดยสถาบันการเงินและองค์กรเหล่านี้ในทางปฏิบัติก็มีการให้สินเชื่อกันอยู่แล้ว และอาจทำให้สถาบันการเงินและองค์กรที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายของประเทศผู้ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการในไทยรู้สึกว่าได้รับการปฏิบัติไม่เท่าเทียม หรืออาจส่งผลให้ผู้ขอสินเชื่อได้รับกระทบต่อการพิจารณาการให้สินเชื่อของสถาบันการเงินของต่างประเทศ ดังนั้นผู้เขียนจึงขอเสนอให้พระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 มีการเพิ่มให้สถาบันการเงินระหว่างประเทศและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเหล่านั้น ให้สามารถเป็นผู้รับหลักประกันตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทองพาหุสัจจะ, เพชรไพลิน, "สิทธิของผู้ให้สินเชื่อที่ไม่สามารถเป็นผู้รับหลักประกันได้ตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7795.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7795