Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.164

Abstract

ตราบใดที่สภาวการณ์ในเรื่องค่าฝุ่น 2.5 PM ยังคงมีความทวีพูนอยู่และมากขึ้นที่ยังไม่ สามารถจัดการหรือควบคุมให้ดีขึ้นได้ หรือแม้กระทั่งสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 ในปัจจุบันที่ยังคงระบาดอยู่ทั่วโลก ผู้ประกอบการหรือนายจ้างย่อมต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิตทั้ง ในด้านสังคมและพฤติการณ์ในการทํางานที่เปลี่ยนแปลงไปให้เข้ากับสภาวการณ์ที่ยังดํารงอยู่ใน ปัจจุบัน ดังนั้นตัวผู้ประกอบหรือนายจ้าง และตัวพนักงงานหรือลูกจ้างต้องมีการเตรียมความพร้อม เรื่องการทํางานนอกสถานที่ หรือที่เรียกว่าการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) อยู่เสมอ และดูเหมือนจะเป็นรูปแบบการทํางานที่คนให้ความสนใจนิยมมากขึ้น อีกทั้งจากการที่ผู้วิจัยได้ศึกษาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมิเดีย (Telework) พบว่า ถึงแม้ว่าการทํางานแบบนี้จะมีข้อดีในเรื่องเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทําให้สามารถพูดคุย กันแบบเห็นหน้าได้โดยไม่ต้องไปทํา ณ สํานักงาน ที่ช่วยให้เวลาในการทํางานมีความยืดหยุ่นมาก ยิ่งขึ้น และยังเป็นการลดใช้จ่ายส่วนกลางที่ตัวผู้ประกอบการต้องรับภาระ แต่ถึงกระนั้นแล้วใช้ว่าการ ทํางานรูปแบบนี้จะมีข้อดีอย่างเดียว แต่หากยังพบถึงปัญหาไม่ว่าจะเป็นในเรื่องไม่มีการจัดสรรเวลาใน การทํางานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นฝั่งลูกจ้างที่โดนใช้เวลานอกงานทําให้ไปรบกวนเวลาว่างที่ควรจะเป็นอิสระ และได้รับการพักผ่อน อีกทั้งฝั่งนายจ้างอาจได้รับผลกระทบที่ฝั่งลูกจ้างไม่จัดสรรเวลาให้ดี ทํางานไม่ ครบตามเวลาที่กําหนดจึงทําให้การทํางานไม่เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามที่พึงต้องการในเนื้อ งาน เป็นตัน ปัญหาเหล่านี้ยังขาดบทกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิแรงงานที่ควรจะได้รับ ดังนั้นเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่ผู้วิจัยได้ทําการศึกษา ได้แก่สหรัฐอเมริกา และสหพันธ สาธารณรัฐเยอรมนีพบว่าประเทศเหล่านี้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างในทางกฎหมายโดยการมีบัญญัติ กฎหมายขึ้นโดยเฉพาะเพื่อกําหนดกฎเกณฑ์หรือสร้างกรอบนโยบายในการคุ้มครองลูกจ้างที่ทํางาน ทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อขจัดปัญหาที่ได้เกิดขึ้น และหากย้อนกลับมาดูถึงสภาวการณ์ ของกฎหมายที่เป็นความว่างเปล่าของกฎหมายไทยที่ยังไม่มีแนวทางในการปฏิบัติหรือการบัญญัติ กฎหมายเฉพาะ หากมองถึงข้อบกพร่องของความว่างเปล่าที่ไม่มีกฎหมายในการเข้ามาควบคุมการทํา สัญญาเกี่ยวกับการทํางานในลักษณะนี้จากการศึกษาผู้วิจัยจึงต้องการให้มีการกําหนดกฎเกณฑ์หรือ สร้างกรอบนโยบายอันเป็นแนวทางในการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) เพื่อเป็นการ สร้างนิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างที่สามารถได้รับการคุ้มครองภายใต้กฎหมายแรงงานตาม ความเหมาะสมทั้งส่วนสิทธิและหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิหน้าที่ของลูกจ้างเพื่อให้เป็นการประกัน โครงสร้างและรูปแบบการทําสัญญาการทํางานทางไกลผ่านมัลติมีเดีย (Telework) ที่จะมี ประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดกับทุกฝ่ายที่เป็นไปตามแนวทางมาตรการสากล

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.