Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2021

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2021.160

Abstract

ประเทศไทยได้มีการประกาศพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 และมีผลบังคับใช้แล้วในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 40 และมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร โดยกำหนดเพิ่มเติมสำหรับเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) ให้ครอบคลุมถึงส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดจากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล และผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีที่ตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน ดังนั้น การถือครองหรือการซื้อขายหรือแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีอาจก่อให้เกิดกำไรหรือผลประโยชน์ที่ได้รับ จึงถือได้ว่าเป็นเงินได้พึงประเมินที่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษี การได้มาซึ่งจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระเกิดจากการคำนวณของเงินได้พึงประเมินกับอัตราภาษี แต่การคำนวณเงินได้พึงประเมินจากคริปโทเคอร์เรนซียังขาดความชัดเจนว่าจะต้องคำนวณอย่างไร เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่และการอ้างอิงตัวเลขเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณหาราคาขายและต้นทุนเพื่อนำมาใช้ในการคำนวณเพื่อเสียภาษีอาจทำได้ไม่ง่ายนักไม่เหมือนกับการซื้อสินค้าทั่วไปที่มีใบเสร็จรับเงินหรือเอกสารที่แสดงราคาสินค้าไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ การได้มาซึ่งคริปโทเคอร์เรนซีมีได้หลายรูปแบบ ตัวอย่างเช่น ได้มาจากการซื้อ ได้มาจากการเสนอขายครั้งแรก (Initial Coin Offering, ICO) ได้มาจากการรับชำระเงิน ได้มาจากการขุดเหรียญดิจิทัล (Mining) ได้มาจากการรับมรดก ได้มาจากการถูกรางวัลหรือการพนันออนไลน์ ได้มาจากการแตกหน่วยใหม่ของคริปโทเคอร์เรนซี ได้มาจากการแลกเปลี่ยนคริปโทเคอร์เรนซีด้วยกันเอง ซึ่งแต่ละรูปแบบจะใช้ตัวเลขใดมาอ้างอิงเป็นต้นทุนของการได้มา อีกทั้งการบันทึกข้อมูลการทำธุรกรรมและการจัดเก็บข้อมูลของการทำธุรกรรมซื้อขายเป็น ภาระหน้าที่ของผู้มีเงินได้เพื่อให้เกิดความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูลการทำธุรกรรม การจัดทำดังกล่าวอาจเป็นอีกหนึ่งอุปสรรคในการคำนวณภาษีที่ต้องชำระ การที่ไม่มีหลักการคำนวณส่วนแบ่งกำไร หรือกำไรจากการขายหรือผลประโยชน์อื่นที่ได้รับจาก คริปโทเคอร์เรนซี อาจทำให้ผู้มีเงินได้พึงประเมินประเภทนี้ขาดความเข้าใจ ส่งผลให้ผู้มีเงินได้ใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกัน เมื่อใช้วิธีการคำนวณที่ไม่เหมือนกันแล้วก็จะส่งผลให้ฐานภาษีที่จะนำมาใช้ในการคำนวณภาษีอาจจะแตกต่างกันแม้ว่าข้อมูลในส่วนอื่นที่ใช้ในการคำนวณเช่น ลักษณะของการทำธุรกรรม วันที่ของการทำธุรกรรม จำนวนเงินของการทำธุรกรรมจะเหมือนกันก็ตาม โดยปกติแล้วหากมีปัจจัยแวดล้อมที่เหมือนกัน ผลลัพธ์ของการคำนวณฐานภาษีและจำนวนเงินภาษีที่ต้องชำระก็ควรที่จะได้เท่ากัน ดังนั้น การขาดการกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณฐานภาษีในการจัดเก็บภาษีเงินดิจิทัลที่ชัดเจนแน่นอนอาจทำให้การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในกรณีดังกล่าวไม่มีประสิทธิภาพ จึงเป็นที่มาในการจัดทำเอกัตศึกษาฉบับนี้ โดยศึกษาและวิเคราะห์ปัญหาและเสนอแนะแนวทางที่เหมาะสมสำหรับประเทศไทยในการกำหนดแนวทางแก้ไขปรับปรุงวิธีการคำนวณฐานภาษีสำหรับคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.