Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Potential of Ethanol-to-jet (ETJ) in accordance with carbon offsetting and reduction scheme for international aviation (CORSIA)
Year (A.D.)
2021
Document Type
Independent Study
First Advisor
วีรินทร์ หวังจิรนิรันดร์
Faculty/College
Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
เทคโนโลยีและการจัดการพลังงาน
DOI
10.58837/CHULA.IS.2021.141
Abstract
วัตถุประสงค์ของงานวิจัยฉบับนี้คือการประเมินศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์และเชิงเทคนิคของเอทานอลที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงชีวอากาศยานจากเทคโนโลยี Ethanol-to-jet (ETJ) ในช่วงตั้งแต่ปี 2021 จนถึงปี 2035 โดยพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุน พัฒนาเทคโนโลยี Ethanol-to-jet รวมถึงความพอเพียงเพื่อใช้ในการชดเชยปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ตามกรอบการดำเนินงาน CORSIA โดยข้อมูลการบินระหว่างประเทศถูกนำมาใช้เพื่อประเมินความต้องการของเอทานอลทั้งหมดของปริมาณเชื้อเพลิง ข้อมูลสัดส่วนการผสมเอทานอลสูงสุดที่ทาง ICAO ยอมรับในเทคโนโลยี Ethanol-to-jet และปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ที่ปล่อยในภาคการบินระหว่างประเทศโดยนำมาใช้ประกอบการวิเคราะห์ความอ่อนไหว ปริมาณความต้องการเอทานอลทั้งหมด ที่ไม่รวมปริมาณจากเชื้อเพลิงชีวอากาศยาน และปริมาณเอทานอลในประเทศไทยที่สามารถผลิตได้ โดยในส่วนของสต็อกของผู้ผลิตเอทานอลจะถูกนำมาพิจารณาเพิ่มเติมในส่วนศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลด้านอุปทาน จากผลการศึกษาพบว่า ศักยภาพเชิงเศรษฐศาสตร์ของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะปกติมีความคุ้มค่าและน่าลงทุนที่ต้นทุนทางเทคโนโลยี Ethanol-to-jet มีราคาต่ำ และภายใต้ฉากทัศน์สภาวะ COVID-19 มีความคุ้มค่าและน่าลงทุนเทคโนโลยี Ethanol-to-jet ในส่วนของศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะปกติ พบว่าปริมาณเอทานอลมีแนวโน้มไม่เพียงพอจนถึงช่วงปลายกรอบเวลาของ CORSIA ในขณะที่ศักยภาพเชิงเทคนิคของเอทานอลภายใต้ฉากทัศน์ที่สภาวะ COVID-19 แสดงว่าประเทศไทยสามารถผลิตเอทานอลได้เพียงพอจนถึงช่วงกลางของ CORSIA (หลังผ่าน 2025-2027) อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2025-2027 ได้แสดงถึงความเป็นไปได้ว่าเอทานอลอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purposes of this study were to evaluate and determine economic and technical potential of ethanol used for the biojet fuels from Ethanol-to-jet (ETJ) technology, which has been enlisted from 2021 to 2035, whether this can be worth developing to serve the carbon offsetting for CORSIA. The international aviation data were used to determine the overall the biojet’s ethanol demand from fuel quantities, ICAO maximum blending ratio acceptance and carbon emission using sensitivity analysis, the total ethanol consumption to determine annually overall ethanol demand excluding biojet fuels, and the quantities of ethanol production in Thailand. The stock from ethanol producer was additionally applied for the investigation of the supply potential of ethanol. The result of this study has revealed that the economic potential under the normal scenario has the potential to develop the technology to serve biojet fuels. Similarly, under the COVID-19 scenario, has also shown the potential to develop this technology to serve this biojet fuels. Regarding the technical potential, under the normal scenario, it was appeared the possibility of the ethanol insufficiency on the long run even including the stock of ethanol producer until the post-period of CORSIA timeframe. Meanwhile under the COVID-19 scenario revealed that Thailand was possibly produce sufficient ethanol demand after the mid-period of CORSIA timeframe. However, on year 2025-2027 shows that there was a possibility of ethanol shortage due to excessive demand.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รัตนะโสภณชัย, ทัตพงศ์, "ศักยภาพของแอลกอฮอล์ที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในภาคการบิน ภายใต้โครงการชดเชยและการลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ภาคการบินระหว่างประเทศ (CORSIA)" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7757.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7757