Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2020
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิมพัทธ์ ราชประดิษฐ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2020.194
Abstract
การจัดเก็บเงินเพิ่มภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กฎหมายไม่ได้กำหนดบทบัญญัติไว้อย่างชัดเจนถึงวิธีการคำนวณภาษีที่ต้องชำระในกรณีเกี่ยวกับภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่ายทำให้เกิดวิธีการคำนวณหลายแนวทางจากการตีความกฎหมายของหน่วยงานที่มีหน้าที่จัดเก็บภาษีตามประมวลรัษฎากร คือ กรมสรรพากร คำนวณโดยไม่คำนึงถึงภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย และจากองค์กรที่มีอำนาจหน้าที่วินิจฉัยชี้ขาดตัดสินข้อพิพาททางภาษีอากร คือ ศาลภาษีอากร ตีความในทางตรงกันข้าม จากการคำนวณที่แตกต่างกันนี้ส่งผลให้ได้ผลลัพธ์จำนวนภาษีที่ต้องช าระหลายจำนวนแตกต่างกันและเกิดการดำเนินการจัดเก็บและประเมินภาษีอากรของกรมสรรพากรโดยอาศัยความไม่ชัดเจนของกฎหมายอย่างไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาล ความไม่ชัดเจนของบทบัญญัติกฎหมายเป็นสาเหตุก่อให้เกิดปัญหาและผลกระทบต่อผู้เสียภาษีให้ไม่สามารถปฏิบัติตามกฎหมายได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้เสียภาษีขาดสิทธิเรียกร้องต่อฝ่ายปกครองจากการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายในการใช้สิทธิทางศาล ประสบภาระเกี่ยวกับการอุทธรณ์การประเมินภาษีอากรและการลิดรอนสิทธิในทรัพย์สินจากเงินที่ต้องชำระตามการประเมินหรือการทุเลาการเสียภาษีอากร จากการศึกษาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นสามารถได้รับการแก้ไขอย่างเหมาะสมด้วยการกำหนดบทบัญญัติกฎหมายให้เกิดความชัดเจนตามแนวทางคำพิพากษาของศาลภาษีอากร
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กานต์สมเกียรติ, ธันวาเทพ, "ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการจัดเก็บและประเมินภาษีอากรของหน่วยงานจัดเก็บภาษีที่ไม่สอดคล้องกับคำพิพากษาของศาลภาษีอากร : ศึกษากรณีการประเมินเงินเพิ่มตามมาตรา 67 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7258.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7258