Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

สิริกัญญา โฆวิไลกูล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

นิติศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายการเงินและภาษีอากร

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.190

Abstract

เอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์มุ่งศึกษาหาแนวทางแก้ไขปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน ซึ่งมีปัญหาทางกฎหมายอันเป็นอุปสรรคต่อการเข้าถึงแหล่งเงินทุนอันได้แก่ (1) ปัญหาการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ ทั้งก่อนการก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิและภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิ มาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ (2) ปัญหาสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิ (3) ปัญหาการคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกัน อันได้แก่ การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิ การยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลา และบทบัญญัติของตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ไม่คุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในบางกรณี และ (4) ปัญหาการบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิ เอกัตศึกษานี้ดำเนินการโดยศึกษากฎหมายการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุกิจ พ.ศ. 2558 ของประเทศไทย และนำไปศึกษาเปรียบเทียบกับกฎหมายการประกันการชำระหนี้ของต่างประเทศ ได้แก่ ระบบหลักประกันแบบ Uniform Commercial Code Article 9 ตามหลักกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา และในระบบหลักประกันแบบ Floating Charge ตามหลักกฎหมายของประเทศอังกฤษทำการวิเคราะห์ เพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น การวิจัยนี้พบว่า การนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงินนั้น ตามพระราชบัญญัติทรัพย์อิงสิทธิ พ.ศ. 2562 ได้กำหนดลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิไว้ ซึ่งบทบัญญัติในบางมาตรายังเป็นอุปสรรคในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจกับสถาบันการเงิน อีกทั้งตามพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติให้สอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของทรัพย์อิงสิทธิ ในการนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจ เอกัตศึกษานี้จึงเสนอให้ (1) การก่อตั้งทรัพย์อิงสิทธิในอสังหาริมทรัพย์ที่มีภาระผูกผันและการก่อภาระผูกพันในอสังหาริมทรัพย์ภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทงธุรกิจต้องได้รับความยินยอม (2) กำหนดสถานะทางกฎหมายของทรัพย์อิงสิทธิให้เป็นหลักประกันทางธุรกิจประเภทอสังหาริมทรัพย์ (3) การบอกเลิกสัญญาโอนทรัพย์อิงสิทธิและการยกเลิกทรัพย์อิงสิทธิก่อนครบกำหนดเวลาภายหลังนำทรัพย์อิงสิทธิมาเป็นหลักประกันทางธุรกิจต้องได้รับความยินยอมจากสถาบันการเงิน และแก้ไขบทบัญญัติในพระราชบัญญัติหลักประกันทางธุรกิจ พ.ศ. 2558 เพื่อคุ้มครองสิทธิของผู้รับหลักประกันในกรณีผู้ให้หลักประกันกระทำการโดยทุจริตจนเป็นเหตุให้ผู้รับหลักประกันไม่อาจบังคับหลักประกันทั้งหมดหรือแต่บางส่วนและ (4)กำหนดหลักเกณฑ์การบังคับคดีกับทรัพย์อิงสิทธิให้สามารถนำบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 334 และหมวด 4 บังคับโดยอนุโลม เพื่อให้สถาบันการเงินมีความเชื่อมั่นในการรับทรัพย์อิงสิทธิเป็นหลักประกันทางธุรกิจ อันส่งผลให้นักลงทุนหรือผ็ประกอบการสามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย และเพื่อให้บรรลุเจตนรมณ์ของกฏหมายที่ต้องการให้มีการส่งเสริมและสนับสนุนการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไป

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.