Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลการศึกษาในทางคลินิกย้อนหลัง 7 ปี ต่อความยั่งยืนของเซรามิกวีเนียร์ทั้งทางเชิงกล ชีวภาพ และความสวยงาม

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Chalermpol Leevailoj

Faculty/College

Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Esthetic Restorative and Implant Dentistry

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.233

Abstract

Purpose: To evaluate the longevity and mechanical, biological and aesthetic performance of ceramic veneers placed after 5 to 7 years in service. Materials and Methods: Ceramic veneer restorations were clinically examined following modified from the United States Public Health Service (USPHS) and World Dental Federation (FDI) criteria. Clinical evaluation was performed by two clinicians regarding mechanical, biological and aesthetic performances during maintenance appointments between September 2016 and August 2017. Intra-examiner and inter-examiner reliability were evaluated by calculating the intraclass correlation coefficient and inter-examiner calibration. The results were analysed by Kaplan-Meier survival estimation method and log-rank test at a 95% confidence level. Results: One hundred and sixty-three veneers were placed in 26 patients with mean clinical service of 68.1 ± 0.66 months. Overall survival rate of the veneer restoration was 97.5% with 2.5% (4 veneers) presenting clinically unacceptable problems such as fracture and debonding. The aesthetic parameter was rated as excellent by 99.4% (n = 162). Caries was not detected in any teeth. Radiographic examination determined the development of a periapical lesion in one patient after veneer placement. Most patients were comfortable with the restoration and satisfied with the aesthetic results. Conclusion: Ceramic veneers demonstrated a high survival rate with most failure cases resulting from fracture and debonding.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

วัตถุประสงค์: เพื่อประเมินผลทางคลินิกย้อนหลังต่อความยั่งยืน และความสำเร็จของเซรามิกวีเนียร์ในผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเซรามิกวีเนียร์ที่คลินิกทันตกรรมเพื่อความสวยงามและรากเทียมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาอย่างน้อย 5-7 ปี ทั้งทางด้านทางกล ทางชีวภาพ และความสวยงาม วิธีการทดลอง: ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาด้วยเซรามิกวีเนียร์ที่คลินิกทันตกรรมเพื่อความสวยงามและรากเทียมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมาอย่างน้อย5-7ปี ผู้ป่วยทุกรายได้รับ การตรวจประเมินผลด้วยแบบสอบถามความพึงพอใจ และการตรวจประเมินผลทางคลินิก ทั้งด้านทางกลทาง ชีวภาพ และ ความสวยงาม โดยทันตแพทย์ 2 คนในช่วงเดือนกันยายน พ.ศ. 2559 ถึง สิงหาคม พ.ศ. 2560 เกณฑ์การตรวจปรับปรุงมาจากเกณฑ์การประเมินของ USPHS และ FDI criteria อัตราความ สำเร็จของวีเนียร์เริ่มวัดตั้งแต่ยึดซีเมนต์สำเร็จและล้มเหลวเมื่อเซรามิกวีเนียร์ไม่สามารถซ่อมแซมได้ Kaplan-Meire analysis ถูกใช้เพื่อประเมินผลความสำเร็จของเซรามิกวีเนียร์ ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการทดลอง: ผู้ป่วยที่สามารถเข้ารับการตรวจประเมินที่คลินิกทันตกรรมเพื่อความสวยงามและรากเทียม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีทั้งหมด 26 ราย มีวีเนียร์ทั้งหมด 163 ซี่ ผลการประเมินด้านความสวยงาม ร้อยละ 99.4% (n=162) ของเซรามิกวีเนียร์มีสีเหมือนกับฟันข้างเคียง ผลการประเมินด้านเชิงกล พบการแตกหักของวีเนียร์ที่ต้องรื้อแก้ไข ร้อยละ 1.8 (n=3) และสามารถ ซ่อมแซมได้ร้อยละ 1.2 (n= 2) พบการหลุดของเซรามิกวีเนียร์ร้อยละ 0.6 (n=1) มีการเขี่ยติดตามขอบของวีเนียร์กับฟันเล็กน้อยมีร้อยละ 4.9 (n=8) พบการติดสีตามขอบของเซรามิก วีเนียร์ที่สามารถขัดออกได้ ร้อยละ 0.6 (n=1) ผลการประเมินเชิงชีวภาพ พบเหงือกอักเสบระดับเล็กน้อย ร้อยละ 3.1(n= 5) อักเสบระด้บ ปานกลางร้อยละ 9.8 (n= 16) มีผู้ป่วยร้อยละ 12.3 (n= 20) เคยมีประวัติเสียวฟันภายหลังได้รับการรักษาด้วยเซรามิกวีเนียร์ ไม่มีผู้ป่วยรายใดมีฟันผุบริเวณที่ได้รับการรักษาด้วยเซรามิกวีเนียร์ ผลการประเมินจากภาพรังสี พบมี ผู้ป่วย 1 รายที่มีพยาธิสภาพรอยโรคปลายรากภายหลังได้รับการรักษาด้วยเซรามิกวีเนียร์ ส่วนใหญ่ผู้ป่วยมีความพึงพอใจ ต่อความสวยงาม การใช้งาน และการดูแลทำความสะอาดฟันที่ได้รับการรักษาด้วยเซรามิกวีเนียร์ในระดับมาก อัตราความสำเร็จของ เซรามิกวีเนียร์ร้อยละ 97.5% สรุป: ฟันที่ได้รับการบูรณะด้วยเซรามิกวีเนียร์ที่คลินิกทันตกรรมเพื่อความสวยงามและรากเทียมมีอัตรา ความสำเร็จสูง สาเหตุที่ล้มเหลวส่วนใหญ่มากจาก การแตกหัก และการหลุดของเซรามิกวีเนียร์ตามลำดับ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.