Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2020

Document Type

Independent Study

First Advisor

ไพฑูรย์ คงสมบูรณ์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2020.158

Abstract

ปัจจุบันธนาคารในประเทศไทย ได้มีการให้บริการผลิตภัณฑ์ด้านสินเชื่อให้แก่ลูกหนี้ในหลากหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อภายในประเทศ เช่น ตั๋วสัญญาใช้เงิน (Promissory Notes: PN) หรือสินเชื่อสำหรับการเข้าทำธุรกรรมระหว่างประเทศ เช่น สินเชื่อเพื่อการนำเข้าและส่งออก (Trade Finance) รวมไปถึงการให้บริการการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ (Standby Letter of Credit: SBLC) โดยการให้บริการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ หรือ Standby Letter of Credit (“SBLC”) ของธนาคารนั้น มีวัตถุประสงค์สำหรับกรณีที่ลูกหนี้จะเข้าทำนิติกรรมสัญญากับบุคคลอื่น ไม่วาจะเป็นสัญญาการดำเนินงาน หรือสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินต่างๆ โดยคู่สัญญาอีกฝ่ายนั้นจะมีความเสี่ยงจากการที่ลูกหนี้จะไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้อย่างครบถ้วน และก่อให้เกิดความเสียหาย เช่น ไม่สามารถปฎิบัติหรือส่งมอบงานได้ตามกำหนดเวลา หรือไม่สามารถชำระเงินได้ครบตามที่กำหนดไว้ เป็นต้น เพื่อป้องกันความเสี่ยงดังกล่าวคู่สัญญาอีกฝ่ายจึงได้มีข้อกำหนดให้ลูกหนี้ต้องนำหนังสือค้ำประกันที่ออกโดยธนาคารวางเข้าค้ำประกันสำหรับการดำเนินงาน หรือการเข้าทำสัญญาต่างๆ ดังนั้นลูกหนี้จึงมีคำขอออกหนังสือค้ำประกันมายังธนาคารที่ตนมีวงเงินสินเชื่ออยู่ เพื่อให้ธนาคารออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศและเข้าไปผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันให้แก่ลูกหนี้บนสัญญาประธานต่างๆ ที่ลูกหนี้ได้เข้าทำนิติกรรมกับคู่สัญญาอีกฝ่าย ต่อมาหากลูกหนี้ไม่สามารถปฎิบัติตามสัญญาประธานดังกล่าวได้ คู่สัญญาอีกฝ่ายในฐานะผู้รับผลประโยชน์มีสิทธิที่จะเรียกร้องให้ธนาคารชำระหนี้แทนตามจำนวนเงินที่ระบุในหนังสือค้ำประกันต่างประเทศแต่ละฉบับ ดังนั้นการที่ธนาคารเข้าผูกพันตนในฐานะผู้ค้ำประกันผ่านการออกหนังสือค้ำประกันต่างประเทศ จะเป็นการสร้างความมั่นใจแก่ผู้รับผลประโยชน์ว่าหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้แล้วก็จะสามารถเรียกให้ธนาคารชำระหนี้แทนได้ และธนาคารก็มีสิทธิที่จะมาไล่เบี้ยเอาจากลูกหนี้ตามในภายหลังได้ ทั้งนี้หากลูกหนี้ตามสัญญาสินเชื่อของธนาคารเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูกิจการ และอยู่ในสภาวะการพักชำระหนี้ (Automatic Stay) ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) มาตรา 90/12 คำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวไม่ได้มีผลไปถึงคู่สัญญาที่อยู่ในต่างประเทศ ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบันคือหากลูกหนี้ได้มีการเข้าทำสัญญาที่มีข้อผูกพันต้องชำระเงินแก่เจ้าหนี้ต่างประเทศ โดยสัญญาดังกล่าวถูกค้ำประกันโดยหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ออกจากธนาคารในประเทศไทย ต่อมาหากลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประธาน เจ้าหนี้ต่างประเทศยังคงบังคับชำระหนี้ดังกล่าวผ่านการเรียกร้องให้ชำระหนี้ใต้ความผูกพันตามหนังสือค้ำประกันต่างประเทศที่ธนาคารได้มีการออกเพื่อค้ำประกันไว้ ซึ่งโดยทั่วไปธนาคารมีหน้าที่ที่จะต้องชำระทันทีโดยไม่ต้องพิสูจน์ความผิดของลูกหนี้ โดยปัจจุบันเกิดปัญหาขึ้นว่าธนาคารสามารถมาไล่เบี้ยกับลูกหนี้ขณะที่ลูกหนี้อยู่ในกระบวนการฟื้นฟูกิจการได้อย่างไร และกรณีที่ลูกหนี้ได้มีการมอบหลักประกันเป็นการจดทะเบียนทางธุรกิจหลักประกันบัญชีเงินฝากไว้ ธนาคารสามารถบังคับหลักประกันดังกล่าวเพื่อมาชำระหนี้ได้ทันทีหรือไม่ หรือจะต้องมีการยื่นขอรับชำระหนี้ตามกระบวนการฟื้นฟูกิจการ และรอรับชำระหนี้ตามแผนของลูกหนี้ในภายหลัง ซึ่งธนาคารในฐานะเป็นเจ้าหนี้ที่มีหลักประกันอาจจะไม่ได้รับชำระหนี้ตามที่ควรจะเป็นซึ่งจะขึ้นอยู่กับแผนฟื้นฟูกิจการที่ผู้นำแผนจะนำส่งต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และจะต้องเป็นไปตามความเห็นชอบของเจ้าหนี้ทั้งหมด จากประเด็นปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นว่าคำสั่งสภาวะการพักชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 (แก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ. 2541) ยังไม่สามารถระงับการบังคับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ประเทศได้ อันส่งผลให้เกิดความเสียหายและความเสี่ยงต่อธนาคารในฐานะที่เป็นผู้ค้ำประกัน รวมถึงตัวลูกหนี้เองที่อาจจะไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการฟิ้นฟูได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้นจึงควรศึกษาถึงบทบัญญัติของกฎหมายไทยที่จะเข้ามาคุ้มครองลูกหนี้และธนาคารจากการเรียกรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้ต่างประเทศระหว่างที่ลูกหนี้อยู่ในระหว่างกระบวนการฟื้นฟูกิจการ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.