Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2020
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภศิษฏ์ ทวีแจ่มทรัพย์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2020.150
Abstract
การทำงานจากบ้าน หรือ Work from Home ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายใน ต่างประเทศ เนื่องจากรูปแบบการใช้ชีวิตและค่านิยมเกี่ยวกับการทำงานของลูกจ้างเปลี่ยนแปลงไป โดยลูกจ้างให้ความสำคัญกับความสมดุลระหว่างชีวิตส่วนตัวและชีวิตการทำงาน รวมถึงสุขภาพและ ความปลอดภัยในการทำงานเพิ่มมากขึ้น ประกอบกับความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีและ สารสนเทศ จึงทำให้ลูกจ้างสามารถทำงานจากบ้านได้เสมือนทำงานจากสถานที่ทำงานของนายจ้าง สำหรับประเทศไทยการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เป็นตัวเร่งที่สำคัญที่ทำให้เกิด การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการทำงานจากสถานที่ทำงานของนายจ้างไปสู่การทำงานจากบ้าน และมี แนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงอย่างถาวรมากขึ้นในหลาย ๆ องค์กรหลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สิ้นสุดลง อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่ารูปแบบการทำงานจากบ้านจะก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อนายจ้างและ ลูกจ้าง แต่จากผลสำรวจในประเทศไทยพบว่า ปัญหาการทำงานจากบ้านที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ลูกจ้างมีเวลาทำงานเพิ่มมากขึ้นต่อวันหรือต่อสัปดาห์ เมื่อพิจารณาจากตัวบทกฎหมายของประเทศ ไทยพบว่า กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดเวลาทำงานที่ปรากฎในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 และกฎกระทรวงต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง มีลักษณะไม่สอดคล้องกับรูปแบบการทำงานจากบ้าน ผู้วิจัยจึงเห็นควรที่จะศึกษากฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดเวลาทำงาน ควบคู่ไปกับมาตรการทางการ บริหารทรัพยากรมนุษย์ที่เหมาะสมกับรูปแบบการทำงานจากบ้าน โดยผู้วิจัยทำการศึกษากฎหมาย แรงงานของประเทศญี่ปุ่นที่ใช้สำหรับรูปแบบการทำงานจากบ้าน จากการศึกษา พระราชบัญญัติมาตรฐานแรงงาน ค.ศ. 1947 ของประเทศญี่ปุ่น พบว่า มีหลักการกำหนดเวลาทำงานที่หลากหลายรูปแบบ ซึ่งทุกรูปแบบสามารถนำไปใช้กับการทำงานจาก บ้านในประเทศญี่ปุ่นได้ทั้งสิ้น โดยองค์กรจะเลือกใช้รูปแบบใดนั้นขึ้นอยู่กับเงื่อนไขและบริบทของ แต่ละองค์กร ทั้งนี้ผลจากการศึกษาพบว่า รูปแบบที่เหมาะสมจะนำมาปรับใช้กับการทำงานจากบ้าน ของประเทศไทย คือ ระบบเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น (Flextime System) และเนื่องจากการทำางาน จากบ้านเป็นลักษณะที่ลูกจ้างอยู่ห่างจากนายจ้าง ดังนั้นจึงนิยมประเมินผลการปฏิบัติงานโดยใช้ดัชนี ชี้วัดผลสำเร็จของงาน (Key Performance Indicators: KPI) เนื่องจากสามารถวัดผลได้ชัดเจน เป็นรูปธรรม และสามารถตรวจสอบย้อนหลังได้ จึงถือว่าเป็นรูปแบบการประเมินผลที่สามารถสะท้อน ประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการทำงานของลูกจ้างได้อย่างแท้จริง
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
พสุธานันท์, อรณรัณ, "มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการบริหารจัดการเวลาทำงาน สำหรับการทำงานจากบ้าน (Work from Home)" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7210.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7210