Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2020
Document Type
Independent Study
First Advisor
กฤติกา ปั้นประเสริฐ
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2020.133
Abstract
การจัดเก็บภาษีอากรจะจัดเก็บจากสินค้าที่นำเข้าและส่งของออกสำเร็จ ตามมาตรา 13 วรรค สอง ที่บัญญัติให้ความรับผิดในอันที่จะต้องเสียอากรสำหรับของที่นำเข้ามาหรือส่งออกไปนอก ราชอาณาจักร เกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้าสำเร็จหรือส่งของออกสำเร็จ ซึ่งเวลาดังกล่าวมีความสำคัญ อย่างมาก ในการใช้พิจารณาว่าสินค้าหรือของดังกล่าวที่นำเข้ามาสำเร็จแล้วหรือไม่ ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 50 หากนำเข้านั้นสำเร็จแล้ว ภาระภาษีหรือหน้าที่ในการเสียค่าภาษีอากรจะเกิดขึ้นทันที และ หนี้ดังกล่าวจะระงับไปได้ ก็ต่อเมื่อมีการชำระหนี้ค่าภาษีอากรแล้ว หรือมีกฎหมายบัญญัติให้หนี้นั้น ระงับไปด้วยเหตุอื่นๆ เท่านั้น หนี้จึงจะระงับไปได้ ดังนั้น หากเกิดเหตุภัยพิบัติใดๆ ขึ้น ภายหลังที่มี การนำเข้าสำเร็จ จะไม่ทำให้หนี้ค่าภาษีอากรหมดไป การคำนวณค่าภาษีอากรให้ถือตามมาตรา 14 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2560 อย่างไรก็ตาม การคำนวณค่าภาษีอากรยังมีข้อยกเว้นสำหรับการคำนวณอากรแก่ของที่นำไป จัดเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามมาตรา 124 คือ หากนำมาสินค้าหรือวัตถุดิบ ไปเก็บไว้ใน คลังสินค้าทัณฑ์บนก่อน จะยังไม่ต้องชำระค่าภาษีอากรในขณะนั้น แม้หน้าที่ในการเสียค่าภาษีอากร จะเกิดขึ้นแล้ว ตั้งแต่วันที่มีการนำเข้าสำเร็จ ทั้งนี้ หากนำของออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนเพื่อจำหน่ายหรือบริโภคภายในประเทศ กฎหมายกำหนดให้จัดเก็บอากร โดยให้คำนวณตามสภาพของและราคาของเดิมในเวลาที่นำของนั้น เข้าไปจัดเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บน และให้ใช้สภาพและราคานั้นเป็นฐานในการคำนวณอากร ไม่ว่า ของนั้นจะออกมาจากคลังสินค้าทัณฑ์บนในสภาพเดิมหรือในสภาพอื่น แค่เฉพาะอัตราศุลกากรเท่านั้น ที่กฎหมายกำหนดให้ใช้ตามอัตราอากรที่เป็นอยู่สำหรับของตามพิกัดศุลกากรนั้น ในเวลาที่ของนำออก จากคลังสินค้าทัณฑ์บน การตีความคำว่า “สภาพอื่น” กรมศุลกากร ยังให้รวมถึงสภาพเศษหรือส่วน สูญเสียจากการผลิตในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามสูตรการผลิต ที่นำออกมาเพื่อบริโภคภายในประเทศ และไม่ได้ส่งออกจะต้องเสียภาษีอากร โดยให้คำนวณอากรตามสภาพแห่งของราคาศุลกากร และพิกัด ศุลกากร การนำเศษหรือส่วนสูญเสียจากการผลิตในคลังสินค้าทัณฑ์บนตามสูตรการผลิต และที่นำ ออกมาเพื่อบริโภคภายในประเทศ แม้ของนั้นจะมีมูลค่าหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่สมควรให้มีการจัดเก็บภาษี อากรแก่ของ เช่นเดียวกับมาตรา 29 ควรได้รับยกเว้นอากรเหมือนกัน จึงสมควรที่จะศึกษาวิเคราะห์ ในประเด็นดังกล่าว เพื่อให้มีการแก้ไขและปรับปรุงกฎหมายให้การจัดเก็บอากรให้มีประสิทธิภาพและ สร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับกรมศุลกากรไทยต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เขียวขจี, วิมล, "ความไม่ชัดเจนของหลักกฎหมายเรื่องคลังสินค้าทัณฑ์บนเกี่ยวกับการเก็บอากร กรณีนำเศษหรือส่วนสูญเสียที่เกิดจากการผลิตมาบริโภคในประเทศไทย" (2020). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7191.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7191