Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2019
Document Type
Independent Study
First Advisor
ธิดาพร ศิริถาพร
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2019.180
Abstract
รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาแนวทางในการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน กรณีประโยชน์เกื้อกูล ซึ่งประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์ในการพิจารณา เนื่องจาก "เงินได้พีงประเมิน" ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรหมายความรวมถึง ประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ดังนั้น ในกรณีที่ได้รับ "ประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน" ตาม มาตรา 40 (1) แห่งประมวลรัษฎากร อันถือเป็นเงินได้พึงประเมินได้นั้น ประโยชน์ดังกล่าวจะต้องคิดคำนวณเป็นเงินได้ ผลการศึกษาพบว่า สหราชอาณาจักรมีการกำหนดนิยามความหมายและข้อยกเว้นต่างๆ เกี่ยวกับประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงานไว้อย่างชัดแจ้งใน Income Tax (Earning and Pensions) Act 2003 และมีการกำหนดหลักเกณฑ์ในการพิจารณามูลค่าเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี รายงานเอกัตศึกษาฉบับนี้ จึงจัดทำขึ้นเพื่อประโยชน์ในการพัฒนาหลักเกณฑ์การกำหนดขอบเขตและการพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจากการจ้างแรงงาน ตาม มาตรา 40 (1) ให้สอดคล้องกับความหมายของเงินได้พึงประเมิน ตาม มาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นิ่มเชื้อ, กิตติลักษณ์, "แนวทางการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณามูลค่าของสิทธิประโยชน์เนื่องจาก การจ้างแรงงานเพื่อวัตถุประสงค์ในการจัดเก็บภาษี : กรณีศึกษาประโยชน์เกื้อกูลเพื่ออำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงาน" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7046.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7046