Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2019
Document Type
Independent Study
First Advisor
สุชาติ ธรรมาพิทักษ์กุล
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายการเงินและภาษีอากร
DOI
10.58837/CHULA.IS.2019.173
Abstract
เอกัตศึกษาฉบับนี้มุ่งศึกษาปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 จากการศึกษาในเรื่องของการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดตาม มาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์นั้น พบว่า พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ไม่ได้มีการกำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการในการพิจารณาของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดไว้ รวมถึงไม่ได้มีการเปีดเผยวิธีการในการกำหนดจำนวนค่าปรับของคณะกรรมการดังกล่าว เมื่อเกิดกรณีการกระทำความผิดขึ้น จึงเป็นช่องทางให้คณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดใช้ดุลพินิจโดยปราศจากกรอบหรือหลักเกณฑ์ที่ชัดเจนทำให้กระบวนพิจารณาขาดความโปร่งใสและไม่สอดคล้องกับหลักนิติธรรมตามรัฐธรรมนูญ โดยเริ่มทำการศึกษาตั้งแต่ที่มาและองค์ประกอบของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด ปรากฏฎว่าในการแต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดนั้นเป็นการแต่งตั้งตามประกาศกระทรวงการคลังเรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการเปรียบเทียบตามพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ พ.ศ. 2530 พระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 และพระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ในประกาศดังกล่าวนั้นไม่มีการระบุถึงคุณสมบัติและข้อห้ามของบุคคลที่พึงได้รับการแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิด เป็นการแต่งตั้งไปตามตำแหน่งเพียงเท่านั้น ทำให้ไม่มีการตรวจสอบถึงความเกี่ยวพันระหว่างกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งกับบุคคลที่กระทำความผิด และเมื่อเข้าสู่ขั้นตอนการพิจารณาแล้วในการกำหนดค่าปรับก็ไม่มีการเปิดเผยถึงหลักเกณฑ์ในการพิจารณากำหนดค่าปรับของคณะกรมการเปรียบความผิดให้กับผู้กระทำความผิดและประชาชนได้รับทราบ ทำให้บริษัทที่ประกอบธุรกิจหลักทรัพย์รวมถึงนักลงทุนที่เข้าสู่กระบวนการเปรียบเทียบความผิด ไม่มั่นใจว่าจะได้รับความยุติธรรมในการดำเนินการของคณะกรรมการเปรียบเทียบความผิดอันเนื่องจาการบังคับใช้กฎหมายมาตรา 317 อันไม่เป็นไปตามหลักนิติรัฐและนิติธรรม ซึ่งส่งผลต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่เข้ามาลงทุนในประเทศไทย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ถนอมทรัพย์, ณฐพร, "ปัญหาการใช้อำนาจในการเปรียบเทียบปรับของคณะกรรมการเปรียบเทียบ ความผิดตามมาตรา 317 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7039.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7039