Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2019
Document Type
Independent Study
First Advisor
สำเรียง เมฆเกรียงไกร
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2019.145
Abstract
ด้วยองค์กรภาครัฐที่ควบคุมและกำกับดูแลการประกอบธุรกิจของสถาบันการเงินในประเทศ ไทย อาทิเช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการก ากับหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ได้มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมาย ตลอดรวมทั้งกฎเกณฑ์ ประกาศ แนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สถาบันการเงินใน ประเทศไทยประกอบธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพปฏิบัติงานได้มาตรฐาน ถูกต้อง และเคร่งครัดมาก ขึ้น ผนวกกับปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลภายใต้การกำกับดูแลของธนาคารแห่ง ประเทศไทย ได้เข้ามามีบทบาทในการพิจารณาและอนุมัติสินเชื่อส่วนบุคคลให้กับทั้งภาคธุรกิจและ ลูกค้ารายบุคคล โดยจากสถิติการปล่อยสินเชื่อ จัดเก็บและประมวลผลโดยธนาคารแห่งประเทศไทย มีแนวโน้มสูงขึ้นและมีบทบาทสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจมากยิ่งขึ้น ธนาคารแห่งประเทศไทยอาศัย อำนาจตามพระราชบัญญัติสถาบันการเงิน จึงออกแนวปฏิบัติให้ธนาคารพาณิชย์มีการจัดตั้งหน่วยงาน กำกับดูแลการปฏิบัติงานตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของทางการ (Compliance Unit) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ก ากับดูแลการปฏิบัติงานขององค์กร แต่ทั้งนี้พบว่าปัจจุบันบริษัทผู้ประกอบธุรกิจ ประเภทสินเชื่อบุคคลภายใต้การก ากับของธนาคารแห่งประเทศไทย บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ จำนำรถ และบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หน่วยงานทางการที่กำกับดูแล กลุ่มธุรกิจดังกล่าวยังไม่มีการตรากฎหมาย และ/หรือประกาศ กฎเกณฑ์กำหนดให้มีการจัดตั้ง หน่วยงานหรือผู้ปฏิบัติหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน ซึ่งอาจส่งผลกระทบให้องค์กรอาจมีการก ากับ ดูแลการปฏิบัติงานด้านธุรกิจได้อย่างไม่รัดกุมตามกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับและประกาศของ หน่วยงานทางการเกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยได้ท าการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากการเปรียบเทียบหลัก กฎหมาย กฎเกณฑ์ ประกาศ ข้อบังคับต่างๆ ของประเทศไทยกับต่างประเทศอันเกี่ยวกับบทบาท หน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ทำหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงาน และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กับการควบคุมและกำกับดูแลวิชาชีพอื่นในสถาบันการเงินและบริษัทมหาชนจำกัดทั้งที่จดทะเบียนใน และนอกตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ระบุถึงประเด็นหลัก รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาแนว ทางการในทำงานและวิชาชีพของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติการในบริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อ ส่วนบุคคลภายใต้กำกับ
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ชำนาญการ, อนุพงษ์, "บทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่กำกับดูแลการปฏิบัติงานใน บริษัทผู้ประกอบธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล" (2019). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 7011.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/7011