Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2019

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชชมัย ฤกษะสุต

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2019.143

Abstract

เอกัตศีกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาหามาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมในการ ส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทย ด้วยวิธีการศึกษาและวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการรวบรวมข้อมูลเชิงเอกสารทั้งแบบปฐมภูมิและทุติยภูมิ เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติเขต เศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ... และประเด็นปัญหาเกี่ยวกับเศรษฐกิจชุมชน ความเป็นมา แนวคิด และ ตัวอย่างของเศรษฐกิจชุมชน มาตรการในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมทั้งปัญหาและผลกระทบของการไม่มีการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของไทย แล้วจึงได้น าข้อมูลที่ได้ศึกษามารวบรวม และวิเคราะห์ โดยการศึกษา มาตรการต่างๆ ในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีน และน ามาตรการของสาธารณรัฐประชาชนจีนมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า “ร่างพระราชบัญญัติเขตเศรษฐกิจพิเศษ พ.ศ. ...” ที่รัฐบาลมีความ พยายามจะประกาศใช้ ถูกต่อต้านจากภาคประชาชนโดยเฉพาะคนในพื้นที่ สาเหตุมาจากการที่ ประชาชนในท้องถิ่นถูกริดรอนอำนาจและสิทธิในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชน รวมถึงการที่ประชาชนไม่รู้สึกถึงการมีส่วนร่วมและการ เป็นเจ้าของ โดยมีประเด็นปัญหาที่สำคัญ 3 ประการคือ (1) ปัญหาจากการกำหนดนโยบายที่ไม่ได้ตั้ง ต้นจากชุมชน (2) ปัญหาจากการบริหารงานแบบรวมศูนย์อำนาจ ชุมชนไม่มีอำนาจการตัดสินใจ (3) ปัญหาจากการขาดการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่ต่อการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง จากปัญหาที่กล่าวมานี้ทำให้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของประเทศไทยยังไม่ถูกประกาศใช้ โดยผลการศึกษาพบว่า สาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการ จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นอย่างมาก โดยปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ (1) รัฐบาลมีนโยบายการ ดำเนินงานลักษณะจากล่างขึ้นบน (Top - Down) (2) มีรูปแบบการบริหารงานแบบกระจายอำนาจ (Decentalization) และ (3) มีนโยบายให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายที่เป็นของตนเอง นอกจากนี้แล้ว ภายใต้กฎหมายเขตเศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนยังมีบทบัญญัติในการ คุ้มครองแรงงานในพื้นที่ รวมถึงมีมาตรการที่สามารถสร้างความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจระหว่าง เศรษฐกิจท้องถิ่นและเศรษฐกิจในประเทศได้เป็นอย่างดี จึงท าให้การส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขต เศรษฐกิจพิเศษของสาธารณรัฐประชาชนจีนประสบความส าเร็จอย่างสวยงาม เมื่อเปรียบเทียบกับ ประเทศไทยแล้ว ผู้เขียนจึงได้เสนอแนวทางในการส่งเสริมเศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษของ ประเทศไทย โดยปรับเปลี่ยนมาตรการของรัฐ ดังนี้(1) กลไกในการกำหนดนโยบาย (2) กลไกในการ บริหารงาน (3) กลไกในการมีส่วนร่วมของชุมชน โดยรัฐบาลเป็นผู้ก ากับดูแล เพื่อช่วยลดการต่อต้าน จากภาคประชาชน และช่วยส่งเสริมให้เศรษฐกิจชุมชนในเขตเศรษฐกิจพิเศษประสบความส าเร็จ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.