Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2018.35

Abstract

ในการศึกษาครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระทางภาษีที่รัฐบาลกำหนดให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี โดยมุ่งเน้นในเรื่องมาตรการหักค่าค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีได้จ่ายไปเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ในทางวิชาชีพของตนว่าเป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักความเป็นธรรมในการเสียภาษีอย่างแท้จริงหรือไม่ โดยผู้เขียนได้ทำการศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระภาษีของประเทศไทยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะวิชาชีพบัญชี นอกจากนี้ ยังศึกษาถึงมาตรการบรรเทาภาระภาษีของประเทศสิงคโปร์ซึ่งเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อนำมาเปรียบเทียบกับมาตรการบรรเทาภาระภาษีในประเทศไทยเพื่อเป็นแนวทางให้ประเทศไทยศึกษาและนำแนวทางดังกล่าวมาปรับปรุงพัฒนาประมวลรัษฎากร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในประเทศไทย จากการศึกษาพบว่ามาตรการทางภาษีของประเทศไทยยังขาดมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาชีพแก่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งเป็นผู้เสียภาษีโดยตรง เช่น ค่าธรรมเนียมการสอบ และค่าใช้จ่ายเพื่อการพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ ส่งผลให้เกิดปัญหา 2 ประการ คือการแบกรับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเกินสมควรไม่เป็นไปตามหลักความสามารถในการเสียภาษี และความไม่เป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีของไทยต้องการแบกรับภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่มากเกินสมควร เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบวิชาชีพในประเทศสิงคโปร์ พบว่ารัฐบาลได้กำหนดมาตรการบรรเทาภาระทางภาษี คือการหักค่าลดหย่อนค่าใช้จ่ายเพื่อพัฒนาทักษะความรู้ทางวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพโดยตรง เพื่อเป็นแรงจูงใจหรือกระตุ้นให้กับผู้ประกอบวิชาชีพมีการพัฒนาทักษะความรู้ความสามารถของต้นเอง และเพิ่มการจ้างงานของประเทศสิงคโปร์ได้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งมาตรการนี้มีส่วนช่วยกระตุ้นให้บุคลากรพัฒนาทักษะความรู้ในอาชีพที่ตนทำ และทำให้เกิดความเป็นธรรมในการบรรเทาภาระภาษีอย่างแท้จริง ผู้เขียนได้เสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาทั้ง 2 ประการ โดยผู้เขียนเห็นว่าวิธีการดัวกล่าวมีความเหมาะสม สามารถนำมาประยุกต์และปรับใช้กับประเทศไทยได้ ซึ่งจะเป็นการช่วยให้เกิดการบรรเทาภาระภาษีแก่ตัวผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีโดยตรงช่วยให้ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเสียภาษีตามหลักความสามารถ หลักความเสมอภาค และก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทักษะความรู้ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และเป็นการดึงดูดให้มีการเพิ่มจำนวนแรงงานที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีมากขึ้น

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.