Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
วิโรจน์ วาทินพงศ์พันธ์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.10
Abstract
การเข้ารับบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน ในกรณีของผู้ป่วยนอกหากจำเป็นต้องใช้ยาและเวชภัณฑ์เกี่ยวกับยา แพทย์ผู้ทำการรักษาจะส่งใบสั่งยาผ่านระบบออนไลน์ไปที่แผนกเภสัชกรรมของโรงพยาบาล ซึ่งส่งผลให้ผู้เข้ารับบริการมีภาระผูกพันที่จะต้องรับยาที่โรงพยาบาลระบบดังกล่าว นอกจากจะส่งผลให้ผู้บริโภคไม่มีสิทธิเลือกชื่อทางการค้าของยา ในกรณีที่ยาชนิดหนึ่งผลิตขึ้นโดยมีชื่อทางการค้ามากกว่า 1 ชื่อ ยังนำมาซึ่งปัญหาร้องเรียนเกี่ยวกับยากในโรงพยาบาลเอกชนราคาสูงเกินจริง และเกิดข้อถกเถียงเกี่ยวกับสิทธิของผู้บริโภคในการไปซื้อยานอกสถานพยาบาล จากการศึกษาพบว่า แม้พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ.2522 จะให้การรับรองสิทธิในการได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสินค้าและบริการ และสิทธิที่จะมีอิสระในการเลือกหาสินค้าและบริการ แต่เนื่องจากยารักษาโรคเป็นสินค้าที่มีลักษณะแตกต่างจากสินค้าเศรษฐกิจชนิดอื่น คือ ยารักษาโรคเป็นสินค้าที่จำเป็น และเกี่ยวข้องกับชีวิตของมนุษย์ สามารถต่อชีวิตให้ยืนยาวได้ ในขณะเดียวกันหากบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสมก็เกิดโทษได้เช่นกัน ประกอบกับผู้บริโภคอยู่ในสถานะที่ไม่สามารถกำหนดชนิด และปริมาณที่จะควรจะได้รับยารักษาโรคได้ การตัดสินใจขึ้นอยู่กับแพทย์ผู้สั่งจ่ายยา ดังนั้นการออกไปซื้อยานอกสถานพยาบาล ซึ่งเป็นสิทธิในการเลือกซื้อสินค้า จะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ ผู้บริโภคได้รับใบสั่งยา ที่มีลักษระเป็นคำสั่งหรือรายละเอียดในการให้ยาที่ออก และลงชื่อรับรองโดยแพทย์ผู้ตรวจรักษาบทบัญญัติแห่งกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคที่มีอยู่ในปัจจุบันจึงยังไมเพียงพอที่จะนำมารับรองสิทธิของผู้บริโภคในการไปซื้อยานอกสถานพยาบาลได้ ดังนั้นการศึกษาในครั้งนี้ ผู้เขียนจึงมีข้อเสนอแนะว่า ควรมีบทบัญญัติเกี่ยวกับใบสั่งยา ผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถออกใบสั่งยา ผู้ประกอบวิชาชีพที่สามารถส่งมอบยาได้ รวมถึงรายละเอียดอื่นที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการออกใบสั่งยา และมีบทบัญญัติที่ให้การรับรองสิทธิของผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาลไว้อย่างชัดเจน นอกจากนี้ภาครัฐควรมีมาตรการเข้ามากำกับดูแลร้านขายยาให้มีคุณภาพ มาตรฐาน มีระบบการจัดทำบันทึกเกี่ยวกับการจ่ายยาตามใบสั่งยา ทั้งนี้ เพื่อความปลอดภัยและประโยชน์สูงสุดของผู้บริโภค
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เตชะศิระประภากุล, ภารดี, "แนวทางการคุ้มครองผู้บริโภคในการได้รับใบสั่งยาเพื่อไปซื้อยานอกสถานพยาบาล : ศึกษากรณีโรงพยาบาลเอกชน" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6832.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6832