Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2018

Document Type

Independent Study

First Advisor

ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2018.9

Abstract

ประเทศไทยมีการตรวจพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 40) พ.ศ. 2558 ในการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้จากการโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์โดยไม่มีค่าตอบแทนให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายซึ่งไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม และเงินได้ที่ได้รับจากการอุปการะโดยหน้าที่ธรรมจรรยาหรือจากการให้โดยเสน่หาเนื่องในพิธีหรือตามโอกาสแห่งขนบธรรมเนียมประเพณี เพื่อให้สอดคล้องกับการจัดเก็บภาษีการรับมรดกและภาษีการให้ อย่างไรก็ตามหลักเกณฑ์ในการยกเว้นภาษีการให้ดังกล่าวนั้นยังมีความไม่เหมาะสมและไม่เป็นธรรมตามหลักความสามารถในการเสียภาษี รวมถึงหลักความเสมอภาคทางภาษี เอกัตศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาความเหมาะสมและเป็นธรรมในการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ตลอดจนศึกษากฎหมายของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวันที่มีการจัดเก็บภาษีการให้ เพื่อนำแนวทางของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวันมาปรับใช้ โดยงานศึกษาเล่มนี้จัดทำขึ้นอาศัยการวิจัยเชิงเอกสาร (Docomentary Research) ทั้งในประเทศและต่างประเทศเป็นสำคัญ จากการศึกษาพบว่าการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากรของประเทศไทย ยังขาดความเหมาะสมและเป็นธรรม เนื่องจากการกำหนดเพดานในการยกเว้นภาษีการให้ตามประมวลรัษฎากรจำนวน 20 ล้านบาท หรือ 10 ล้านบาท ตลอดปีภาษีแล้วแต่กรณีของการให้ถือว่าเป็นจำนวนที่สูง นอกจากนี้ยังให้สิทธิในการเลือกเสืยภาษีในอัตราคงที่ หรือนำไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อเสียภาษีอีกด้วย ซึ่งปัญหาในการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้ดังกล่าวถือว่าไม่เหมาะสมและยังส่งผลกระทบต่อความไม่เป็นธรรมในสังคมกับผู้มีเงินได้ประเภทแรงงาน และผู้มีเงินได้จากทุน ซึ่งต้องเสียภาษีตามประมวลรัษฎากรในอัตราก้าวหน้า ทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมขัดต่อหลักความสามารถในการเสียภาษีและหลักผลประโยชน์ที่ได้รับ และความไม่เสมอภาคทางภาษีนอกจากนี้ยังทำให้เกิดช่องทางหลีกเลี่ยงภาษีจากการใช้ช่องโหว่ของกฎหมาย อย่างไรก็ตาม จากประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้น ประเทศไทยควรมีการกำหนดเพดานการยกเว้นภาษีการให้อย่างเหมาะสมโดยใช้หลักเกณฑ์รายได้เฉลี่ยของคนในประเทศเป็นตัวกำหนดเพดานการยกเว้น และควรยกเลิกการให้สิทธิเลือกเสียภาษีในอัตราคงที่หรือนำไปรวมกับเงินได้ประเภทอื่นเพื่อให้เกิดความเหมาะสมและเป็นธรรมในสังคมโดยนำแนวทางในการจัดเก็บภาษีการให้ของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวันปรับใช้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.