Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.4
Abstract
วิสาหกิจเพื่อสังคมเป็นนิติบุคคลรูปแบบหนึ่งที่จัดตั้งขึ้นมาโดยมีเป้าหมายและวัตถุประสงค์ทางสังคมเป็นหลักและมีการนำกำไรที่เกิดขึ้นจากการประกอบกิจการกลับไปลงทุนซ้ำเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางสังคมที่ตั้งไว้ โดยมิใช่เพื่อการสร้างความมั่งคั่งและเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล โดยมีการใช้โมเดลทางธุรกิจและกลไกทางตลาดมาเป็นหลักในการดำเนินการ ส่งผลให้วิสาหกิจเพื่อสังคมพึ่งพาตนเองทางการเงินได้ในระยะยาว จึงแตกต่างกับมูลนิธิหรือสมาคมทั่วไปที่ต้องอาศัยเงินบริจาคมาหล่อเลี้ยงองค์กร การดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมจึงมีความยั่งยืนสามารถทำการแข่งขันกับวิสาหกิจอื่นตามกลไกทางการตลาดได้ อย่างไรก็ตาม วิสาหกิจเพื่อสังคมยังไม่เป็นที่แพร่หลายในประเทศไทยมากนัก รัฐบาลไทยเห็นความสำคัญของการจัดตั้งวิสาหกิจเพื่อสังคม จึงได้มีการออกมาตรการต่างๆเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมมากมายดังจะเห็นได้จาก พระราชบัญญัติวิสาหกิจเพื่อสังคม พ.ศ. 2562 ที่ได้กำหนดมาตราการเพื่อการส่งเสริมไว้ 4 ลักษณะ ได้แก่ การสนับสนุนเงินลงทุน การสนับสนุนให้เกิดความรู้ความเชี่ยวชาญในการดำเนินงานของวิสาหกิจเพื่อสังคมการสนับสนุนเงินกู้ยืม และสนับสนุนให้มีระบบจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐ เและพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 ที่ได้กำหนดมาตรการทางภาษีไว้ โดยเป็นการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่วิสาหกิจเพื่อสังคมและผู้ลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคม จากการศึกษาพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559 พบว่าสิทธิประโยชน์ทางภาษีที่ให้แก่วิสาหกิจเพื่อสังคมบางประการยังมีข้อบกพร่องบางประการที่อาจจะทำให้การส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคมและการสร้างความจูงใจให้เกิดการลงทุนในวิสาหกิจเพื่อสังคมไม่เป็นผลสำเร็จเท่าที่ควร เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรการทางภาษีของประเทศอังกฤษและประเทศเกาหลีใต้พบว่ามีการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแตกต่างกันไปแต่ทั้งสองประเทศต่างก็ประสบความสำเร็จในการส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม ดังนั้น หากรัฐบาลไทยทบทวนและปรับปรุงการให้สิทธิประโยชน์ดังกล่าวอย่างรอบคอบก็จะทำให้มาตรการทางภาษีนี้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เติมรุ่งเรืองเลิศ, กรกช, "ข้อจำกัดทางกฎหมายของมาตรการทางภาษีเพื่อส่งเสริมการประกอบวิสาหกิจเพื่อสังคม : ศึกษากรณีมาตรการตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรฉบับที่ 621 พ.ศ. 2559" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6826.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6826