Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2018
Document Type
Independent Study
First Advisor
วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2018.1
Abstract
อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเป็นภาคธุรกิจที่สำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศไทยฉะนั้นการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข สำหรับการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มของนักท่องเที่ยวที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการในประเทศ จึงเป็นปัจจัยสำคัญในการขยายฐานรายได้ในภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในประเทศไทย การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยว (VAT Refund For Tourist : VRT) จึงถือเป็นกลไกสำคัญที่นานาประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยนำมาใช้เป็นเครื่องมือสำหรับส่งเสริมอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว และกระตุ้นให้นักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่นักท่องเที่ยวมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะในมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งได้ให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากร กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีสิทธิขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 91) เรื่องการกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียนเพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักรของคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 และกำหนดลักษณะของผู้ประกอบการร้านค้าและสินค้าที่นักท่องเที่ยวสามารถขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มได้ไว้ในประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 90) เรื่องการกำหนดคุณลักษณะและหลักเกณฑ์ของผู้ประกอบการจดทะเบียนที่ขายสินค้าให้ผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักร ลงวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2542 อีกทั้งยังได้กำหนดมาตรการชั่วคราวให้นักท่องเที่ยวสามารถนำเงินภาษีที่ได้รับคืนดังกล่าวมาใช้สอยในประเทศได้อีกทอดหนึ่ง ภายใต้หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2561 ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 225) เรื่องกำหนดเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากรลงวันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 226) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ให้ผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรที่ซื้อสินค้าจากผู้ประกอบการจดทะเบียน เพื่อนำออกไปนอกราชอาณาจักร มีสิทธิตั้งตัวแทนเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ที่ถูกเรียกเก็บไว้แล้วได้ตามมาตรา 84/4 แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2562 อย่างไรก็ดีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าว ก่อให้เกิดปัญหากับนักท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก เนื่องจากกฎหมายดังกล่าว มีขั้นตอนและวิธีการในการปฏิบัติที่ยุ่งยากซับซ้อน ทำให้มีผู้ประกอบการร้านค้าที่ได้รับอนุมัติเป็นจำนวนน้อยมากเมื่อเทียบกับผู้ประกอบการทั้งหมดในประเทศ อีกทั้งขั้นตอนในการดำเนินการเพื่อขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากกรมสรรพากร มีความยุ่งยากซับซ้อน ทำให้การใช้มาตรการส่งเสริมอุตสาหกรรมท่องเที่ยวในรูปแบบการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มจากการซื้อสินค้าในประเทศไม่ได้รับความสนใจจากทั้งนักท่องเที่ยวและผู้ประกอบการไทยมากเท่าที่ควร ดังนั้น การพัฒนากฎหมายการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักร จึงเป็นเรื่องสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ เนื่องจากประเทศในภูมิภาคอาเซียนอันได้แก่ ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีการใช้การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับผู้เดินทางออกไปนอกราชอาณาจักรเป็นกลไกในระบบเศรษฐกิจเช่นดียวกันกับประเทศไทย โดยมีการกำหนดนโยบาย หลักเกณฑ์ การคืนภาษีมูลค่าเพิ่มในรูปแบบของ Electronic Tourist Refund Scheme (“eTRS”) ซึ่งเป็นวิธีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ดำเนินขึ้นตอนต่าง ๆ ผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดได้ ทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วต่อนักท่องเที่ยว ทั้งยังสามารถควบคุมบุคคล สินค้า และจำนวนเงินที่รัฐต้องนำมาสำรองไว้ในการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้นักท่องเที่ยวได้อย่างเป็นระบบ และปิดช่องโหว่มิให้กลุ่มมิจฉาชีพขอคืนเงินภาษีจากรัฐโดยไม่ถูกต้องได้อย่างเป็นอย่างดี ฉะนั้น หากประเทศไทยนำรูปแบบวิธีการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับผู้เดินทางออกนอกราชอาณาจักรของประเทศสิงคโปร์ มาปรับใช้เพื่อปรับปรุงและกำหนดมาตรการเพื่อพัฒนากฎหมายสำหรับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มให้กับนักท่องเที่ยวที่มีอยู่ในปัจจุบัน ย่อมเป็นการก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งภาครัฐและเอกชน และกระตุ้นการท่องเที่ยวของประเทศได้อีกทางหนึ่งด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ขีปนวัฒนา, ธมนวรรณ, "ประเด็นการส่งเสริมประสิทธิภาพการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับนักท่องเที่ยว: กรณีศึกษาการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มผ่านตัวแทน" (2018). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6823.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6823