Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2017
Document Type
Independent Study
First Advisor
ศุภลักษณ์ พินิจภูวดล
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2017.40
Abstract
ปัจจุบันคนทุกเพศทุกวัยต่างให้ความสำคัญและหันมาใส่ใจดูแลสุขภาพตนเองมากขึ้น เนื่องจากการมีสุขภาพที่ดีนั้นถือเป็นลาภอันประเสริฐที่ไม่สามารถหาซื้อได้ แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าเราจะมีวิถีในการดำเนินชีวิตอย่างไร การเจ็บป่วยก็ยังเป็นภัยที่ไม่มีใครสามารถหลีกเลี่ยงได้ ซึ่งก่อให้เกิดความเสียหายต่อร่างกายและทรัพย์สินจากการที่ต้องใช้เงินในการรักษาพยาบาล อีกทั้งอาจกระทบต่อครอบครัวด้วยได้ แม้ว่าเราอาจป้องกันการเจ็บป่วยได้ด้วยการหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพตนเองหรือการมีวิถีที่ถูกสุขลักษณะ ทั้งนี้ การมีประกันสุขภาพก็อาจบรรเทาความเสี่ยงต่อภาวะเศรษฐกิจของตนเองและครอบครัวอันเกิดจากความเจ็บป่วยดังกล่าวได้ ซึ่งคนทั่วไปจึงปรารถนาให้ตนและครอบครัวได้มีการประกันสุขภาพอย่างหนึ่งอย่างใด เพื่อผลักความเสี่ยงนี้ออกไปจากตนเอง ในปัจจุบันภาครัฐได้ออกกฎหมายเกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ในการลดหย่อนค่าเบี้ยประกันสุขภาพ ตาม กฎกระทรวง ฉบับที่ 34 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากรและได้กำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการเพื่อการลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพ ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 315) เกี่ยวกับเงินได้ที่เท่าที่ผู้มีเงินได้จ่ายเป็นเบี้ยประกันภัย สำหรับการประกันสุขภาพของผู้มีเงินได้ แต่เนื่องจากค่าลดหย่อนนี้ต้องนำมารวมคำนวณกับค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิต ซึ่งการประกันทั้งสองประเภทนี้มีวัตถุประสงค์และจุดมุ่งหมายแตกต่างกัน โดยการประกันสุขภาพนั้นมุ่งถึงการเจ็บป่วยหรือการเสียสุขภาพ ในขณะที่การประกันชีวิตนั้นมุ่งถึงชีวิต ซึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาคทางภาษี ในขณะที่ต่างประเทศนั้น เช่น ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ได้แยกการประกันสุขภาพ และการประกันชีวิตออกจากกัน รวมทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งในส่วนของผู้มีเงินได้และรวมถึงครอบครัวของผู้มีเงินได้ ในขณะที่ประเทศไทยได้รับสิทธิประโยชน์ในส่วนของผู้มีเงินได้ และบิดามารดาของผู้มีเงินได้เท่านั้น ดังนั้นเอกัตศึกษาฉบับนี้จึงศึกษาถึงหลักภาษีอากร และหลักเกณฑ์การให้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกัน สุขภาพและเบี้ยประกันชีวิต ประกอบกับการศึกษากฎหมายต่างประเทศ ซึ่งประเทศที่ได้ทำการศึกษา คือ ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ซึ่งหลังจากการศึกษาข้อมูลต่าง ๆ พบว่า มาตรการดังกล่าวไม่เหมาะสมและไม่สอดคล้องกับหลักความเสมอภาคและก่อให้เกิดภาระค่าใช้จ่ายและค่าภาษีแก่ผู้มีเงินได้จึงสมควรให้กำหนดหลักเกณฑ์ที่เหมาะสมแตกต่างกัน โดยการแยกสิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพแยกออกจากเบี้ยประกันชีวิต รวมถึงการให้สิทธิลดหย่อนเบี้ยประกันสุขภาพที่ครอบคลุมถึงคู่สมรสของผู้มีเงินได้และบุตร เพื่อให้เกิดความเสมอภาคทางภาษีและบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายและค่าภาษีของผู้มีเงินได้
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
กระแสสินธุวานนท์, สุทธิพร, "ความเหมาะสมในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับค่าเบี้ยประกันสุขภาพ" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6790.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6790