Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.32

Abstract

เอกัตศึกษาเรื่อง “สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากร กรณีนิติบุคคลถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ” มุ่งศึกษาแนวทางในการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรแก่นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ เพื่อเป็นการเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้มีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องตามวัตถุประสงค์ของกิจการต่อไปทั้งนี้ยังเป็นไปตามหลักการบริหารภาษีอากรที่ดี จากการศึกษาพบประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการ ดังนี้ 1.นิติบุคคลได้รับความเดือดร้อนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์แตกต่างกันไปในแต่ละกิจการตามความสำคัญของอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกเวนคืนนั้นที่มีต่อกิจการ โดยนิติบุคคลต้องเตรียมตัวดำเนินการต่างๆ เพื่อให้สามารถยังคงดำเนินธุรกิจของตนต่อไปได้ตามวัตถุประสงค์ และมีกำไรตามเป้าหมาย ทั้งเรื่องที่ตั้งสถานประกอบการ แรงงาน ทุน และการบริหารจัดการภายในองค์กร อีกทั้งยังมีผลกระทบต่อบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกิจการโดยตรง ได้แก่ แรงงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้ถือหุ้น และบุคคลอื่นๆ โดยรวมส่งผลกระทบต่อการลงทุนจากต่างประเทศ การผลิตหรือการให้บริการของประเทศ การบริโภคของประชาชน การจ้างแรงงาน การกระจายรายได้ และการดำรงชีวิตอยู่อย่างสงบสุขของคนในสังคม 2.ราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมที่รัฐนำมาใช้เป็นราคาพื้นฐานในการคำนวณเงินค่าทดแทนสำหรับการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์จากประชาชน เป็นราคาประเมินทุกๆ 4 ปี และส่วนใหญ่มักจะต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อเป็นการลดค่าธรรมเนียมและภาษีอากรที่ประชาชนต้องจ่ายแก่รัฐ ทำให้ราคาประเมินไม่ได้สะท้อนมูลค่าตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่เปลี่ยนแปลงไปตลอดเวลาอย่างแท้จริง ส่งผลให้เงินค่าทดแทนที่ผู้ถูกเวนคืนได้รับอาจต่ำกว่าความเป็นจริง ซึ่งนำไปสู่ปัญหาความไม่เท่าเทียมกันในสังคม อีกทั้งโครงการบริการสาธารณะต่างๆ ของรัฐที่ต้องดำเนินการหลังจากการเวนคืนก็จะเกิดความล่าช้าและได้รับความเสียหาย 3.นิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนมีภาระภาษีที่เกิดจากเงินค่าทดแทนจากการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ได้แก่ ภาษีเงินได้นิติบุคคลหัก ณ ที่จ่าย จากจำนวนเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่รัฐจ่าย โดยถือเป็นเครดิตภาษีและภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรจากการโอนอสังหาริมทรัพย์นั้น จากการวิเคราะห์ประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นกับนิติบุคคลผู้ถูกเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ที่มีไว้ในการประกอบกิจการข้างต้น ประกอบกับการศึกษากฎหมายการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ และกฎหมายภาษีอากรที่เกี่ยวข้อง จึงเห็นควรให้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีอากรสำหรับกรณีดังกล่าวโดยเฉพาะเพื่อเยียวยาปัญหาเงินค่าทดแทนการเวนคืนที่ไม่เหมาะสม และส่งเสริมให้นิติบุคคลมีการประกอบธุรกิจอย่างต่อเนื่องต่อไป

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.