Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

ทัชชมัย ทองอุไร

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.30

Abstract

ปัจจุบันประเทศไทยอยู่ในสถานการณ์ที่มีอัตราการเกิดและการตายของประชากรต่ำ ซึ่งทำให้ ประเทศไทยเข้าสู่ “สังคมผู้สูงอายุ” (Aging Society) และส่งผลให้ภาครัฐมีภาระหน้าที่ในการดูแล ผู้สูงอายุเพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงจำเป็นที่ภาครัฐจะต้องดำเนินนโยบายและมาตรการเพื่อรองรับสังคม ผู้สูงอายุในด้านต่างๆ ได้แก่ ด้านหลักประกันรายได้ ด้านสาธารณสุข และด้านสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ มาตรการทางภาษีเป็นเครื่องมือหนึ่งที่ภาครัฐนำมาใช้เพื่อสนับสนุนนโยบายดังกล่าว จาก การศึกษาพบว่ามาตรการภาษีของประเทศไทยมีหลากหลายมาตรการ แต่บางมาตรการยังมีข้อจำกัด ในการใช้ เช่น ข้อจำกัดของการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับรายจ่ายในการจ้างงานผู้สูงอายุที่ไม่ช่วยสนับสนุนการจ้างงานที่เพียงพอ การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพและเบี้ยประกันชีวิตที่ยังไม่ครอบคลุมถึงกลุ่ม ประชาชนส่วนใหญ่ที่ไม่มีการทำประกันด้วยตนเอง ส่งผลให้ประชาชนยังคงต้องพึ่งพาการช่วยเหลือ จากภาครัฐในการรักษาพยาบาล และข้อจำกัดของการลดหย่อนเงินบริจาคให้แก่กองทุนผู้สูงอายุ สถานสงเคราะห์ สถานพักฟื้นบำบัดและฟื้นฟูสุขภาพคนสูงอายุ ซึ่งเงินที่ได้รับจากการบริจาคไม่มี ความสม่ำเสมอและไม่แน่นอน นอกจากสถานสงเคราะห์จะไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้สูงอายุแล้ว ยังมี ผู้สูงอายุที่มีรายได้น้อยที่ยังขาดที่พักอาศัยที่เหมาะสมในการดำรงชีพ ซึ่งเป็นภาระหน้าที่ของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุกลุ่มนี้ด้วย จากการศึกษามาตรการทางภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นประเทศที่มี อัตราประชากรผู้สูงอายุมากที่สุดในโลก พบว่ามีแนวทางในการนำมาตรการทางภาษีของประเทศ ญี่ปุ่นมาปรับใช้กับประเทศไทย โดยการเพิ่มเติมมาตรการทางภาษีที่สำคัญ คือ มาตรการการลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาล เพื่อส่งเสริมการดูแลรักษาสุขภาพของประชาชนและผู้สูงอายุ โดยการบรรเทาภาระค่ารักษาพยาบาลส่วนเกินจากระบบประกันสุขภาพและประกันชีวิต รวมถึงค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลที่หลักประกันไม่คุ้มครอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการให้สิทธิลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นค่ารักษาพยาบาลสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีภาระในการดูแลบิดามารดาและอุปการะดูแลผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ร่วมกัน เป็นต้น ทั้งนี้ การใช้มาตรการดังกล่าวควรมีการกำหนดขอบเขตของค่าใช้จ่ายที่นำมาลดหย่อนให้ชัดเจนเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีของภาครัฐ และมาตรการทางภาษีเพื่อสนับสนุนการสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นโครงการที่ภาครัฐกำลังดำเนินการอยู่ในปัจจุบันแต่ยังขาดแรงจูงใจที่จะได้รับความร่วมมือจากภาคเอกชนในการดำเนินการเพื่อรองรับประชากรผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งที่พักอาศัยดังกล่าวต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการดำรงชีพของผู้สูงอายุ และมีการบริการทางการแพทย์และการรักษาพยาบาลที่เหมาะสม โดยภาครัฐควรให้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น สิทธิในการหักค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น สิทธิการได้ลดภาษีทรัพย์สิน และสิทธิการได้ลดภาษีจาการซื้ออสังหาริมทรัพย์ ซึ่งเป็นมาตรการทางภาษีที่สร้างแรงจูงใจให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการมากขึ้น และลดความกังวลในเรื่องความคุ้มค่าของการลงทุน สิ่งที่ต้องพิจารณาในการนำมาตรการทางภาษีมาใช้คือ การกำหนดช่วงระยะเวลาในการใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี และความเหมาะสมของสิทธิประโยชน์แต่ละประเภท มาตรการทางภาษีเพื่อรองรับสังคมผู้สูงอายุที่มีประสิทธิภาพในการรองรับผู้สูงอายุนั้น จะช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถพึ่งพาตนเองและส่งเสริมการดูแลผู้สูงอายุจากภาคประชาชนมากขึ้น ซึ่งส่งผลให้งบประมาณค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุของภาครัฐลดลงได้ส่วนหนึ่ง อันเป็นการบรรเทาภาระหน้าที่ของภาครัฐในการดูแลผู้สูงอายุที่สำคัญ

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.