Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Year (A.D.)
2017
Document Type
Independent Study
First Advisor
วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์
Faculty/College
Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
กฎหมายเศรษฐกิจ
DOI
10.58837/CHULA.IS.2017.12
Abstract
การดำเนินธุรกิจในรูปแบบของเครือบริษัทหรือกลุ่มบริษัทนั้น มักมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง เพื่อต้องการความมั่นคงของโครงสร้างภายในกลุ่มบริษัท รวมไปถึงประโยชน์ในด้านต่างๆ ที่จะได้รับด้วยทั้งด้านการจัดการความเสี่ยงทางการเงิน และการให้ความช่วยเหลือทางด้านการเงินกับบริษัทในเครือซึ่งเป็นไปตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินธุรกิจที่มีเป้าหมายเพื่อให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง อย่างไรก็ดียังคงมีช่องโหว่ของกฎหมายที่ทำให้บริษัทอาศัยเป็นแนวทางปฏิบัติเพื่อประโยชน์ทางภาษีของกลุ่มบริษัท โดยพยายามที่จะลดภาระภาษีของกลุ่มบริษัทให้ต่ำลงหรือการหลีกเลี่ยงภาษีเกิดขึ้นเอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการรับรู้รายจ่ายผลขาดทุนของ เงินลงทุนที่ไม่ได้รับคืนภายหลังการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้ ซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มทุนให้แก่ กิจการของลูกหนี้เพื่อนำมาชำระหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืมแก่บริษัทผู้ลงทุนเอง ซึ่งจากผลของ การศึกษาพบว่า วัตถุประสงค์หลักของการปลดหนี้โดยผ่านการเพิ่มเงินลงทุนดังกล่าวนั้นไม่มี ความแตกต่างกันระหว่างหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืม ซึ่งมีคำสั่งกรมสรรพากรกำหนดให้บริษัท ไม่สามารถรับรู้ผลขาดทุนของเงินลงทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเพิ่มทุนในกรณีของหนี้การค้า แต่ในกรณีของหนี้เงินให้กู้ยืม บริษัทสามารถเลือกวิธีการเพิ่มทุนให้แก่กิจการของลูกหนี้เพื่อนำเงินมาชำระหนี้เงินให้กู้ยืมแก่ตนเอง เพื่อให้บริษัทสามารถนำผลขาดทุนของเงินลงทุนดังกล่าวมารับรู้เป็นรายจ่ายทางภาษีอากรได้มากขึ้นแทนที่จะทำการปลดหนี้เงินกู้ยืมให้แก่กันโดยตรงซึ่งไม่สามารถนำมาลงเป็นรายจ่ายได้ ซึ่งถือเป็นการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance) อย่างหนึ่งของบริษัท โดยการวางแผนที่จะรับรู้รายจ่ายที่สูงเพื่อจะได้เสียภาษีในจำนวนที่น้อยลงได้ ดังนั้นการกำหนดแนวทางปฏิบัติที่มีความเสมอภาคกันในการรับรู้รายจ่ายผลขาดทุนจาก การเพิ่มทุนที่ไม่ได้รับคืนจากการเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้การค้าและเงินให้กู้ยืมของบริษัทในเครือเดียวกันภายหลังการเลิกกิจการของบริษัทลูกหนี้ โดยการเพิ่มข้อกำหนดและเงื่อนไขให้มีความชัดเจนมากยิ่งขึ้น มีความเพียงพอและน่าเชื่อถือของหลักฐานต่างๆ มีการกำหนดแผนการเงิน รวมถึง ระยะเวลาในการดำเนินกิจการอย่างต่อเนื่องของบริษัทผู้ได้รับการลงทุนที่เหมาะสม จะช่วยทำให้ กิจการปลอดการหลีกเลี่ยงภาษีอากร และรัฐบาลจะสามารถจัดเก็บภาษีเพื่อนำไปใช้ในการพัฒนา ประเทศต่อไปในอนาคตได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ด่านพิษณุพันธุ์, ณฐพร, "ปัญหาภาษีเงินได้นิติบุคคลจากการเพิ่มทุนเพื่อชำระหนี้บริษัทในเครือ : กรณีเลิกกิจการ" (2017). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6762.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6762