Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Year (A.D.)

2017

Document Type

Independent Study

First Advisor

วุฒิพงษ์ ศิริจันทรานนท์

Faculty/College

Faculty of Law (คณะนิติศาสตร์)

Degree Name

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

กฎหมายเศรษฐกิจ

DOI

10.58837/CHULA.IS.2017.6

Abstract

เอกัตศึกษาเล่มนี้มุ่งเน้นศึกษาเกี่ยวกับประเด็นการกำกับดูแลการออกบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเองของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินและ การประเมินเงินได้พึงประเมินจากนำเงินที่ได้รับล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ผลของการศึกษาพบว่าการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (e-Payment) ผ่านสื่อกลาง การชำระเงินแทนเงินสดอย่าง “บัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์” (e-Money card) ซึ่งเป็นบัตรหรืออุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ประกอบการออกให้แก่ผู้บริโภค เพื่อใช้บันทึกมูลค่าเงินอิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้บริโภค ได้รับจากการจ่ายชำระเงินสดไว้เป็นการล่วงหน้าเพื่อให้ได้เงินอิเล็กทรอนิกส์นั้น มาใช้ชำระค่าสินค้า ค่าบริการหรือค่าอื่นใดตามข้อกำหนดการใช้บัตรของผู้ออกบัตรในอนาคตแทนการชำระด้วยเงินสด ทำให้ผู้ออกบัตรมีภาระหน้าที่ในการถือครองเงินสดของผู้บริโภคไว้ โดยที่กรรมสิทธ์ในเงินสดยังเป็น ของผู้บริโภค เนื่องจากยังไม่เกิดรายการซื้อขายสินค้าหรือให้บริการแก่ผู้บริโภค ผู้ประกอบการจึงยัง ไม่ได้รับกรรมสิทธ์ในเงินสดที่ตนถือครอง ซึ่งการรับเงินล่วงหน้าจากการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ ดังกล่าวอาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อสาธารณะชนได้ จึงทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด การควบคุมดูแลธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินไว้เป็น การเฉพาะเพื่อเสริมสร้างความน่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับในระบบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดแก่สาธารณชน อย่างไรก็ตาม การควบคุมดังกล่าวไม่ได้ครอบคลุมถึงการประกอบธุรกิจของ (1) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่าง (Single purpose) ตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการเพียงรายเดียว และ (2) ผู้ประกอบการที่เป็นผู้ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ซื้อสินค้าหรือรับบริการเฉพาะอย่าง (Single purpose) ตามรายการที่กำหนดไว้ล่วงหน้าจากผู้ขายสินค้าหรือให้บริการหลายราย ณ สถานที่ที่อยู่ภายใต้ระบบการจัดจำหน่ายและการให้บริการเดียวกัน จึงถือเป็นช่องโหว่ที่ทำให้ ผู้ประกอบการดังกล่าวไม่ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการดำเนินงานที่มีการประกาศกำหนด และเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการนำเงินรับล่วงหน้าคงค้างจากผู้บริโภคไปใช้ในการดำเนินธุรกิจ ได้อย่างไม่มีเงื่อนไข ทำให้เกิดประเด็นในการจัดเก็บภาษีเงินได้ของผู้ประกอบการดังกล่าว กล่าวคือ ผู้ประกอบการอาจจะได้รับรายได้หรือประโยชน์จากการใช้เงินรับล่วงหน้าของผู้บริโภค โดยที่ไม่ต้อง เสียค่าตอบแทนใดๆ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน ซึ่งเข้าข่ายการเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากร และการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น โดยปราศจากภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ใดๆ เข้าข่ายอำนาจการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร ดังนั้น ผู้เขียนจึงได้เสนอแนะให้มีการกำหนดวิธีพิจารณาและหลักเกณฑ์ในการประเมิน ประโยชน์จากเงินรับล่วงหน้ากรณีการออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์ไว้อย่างชัดเจน โดยใช้หลักเกณฑ์ และเงื่อนไขการดำเนินงานตามประกาศธนาคารแห่งประเทศไทยที่ สนส. 6/2559 เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการประกอบธุรกิจบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เป็นแนวทาง เพื่อควบคุมการออกบัตร เงินอิเล็กทรอนิกส์ของผู้ประกอบการที่ออกบัตรเงินอิเล็กทรอนิกส์เพื่อใช้ในธุรกิจของตนเอง และให้เจ้า พนักงานประเมินใช้อำนาจในการประเมินรายได้จากการใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินของผู้อื่น โดย ปราศจากภาระต้นทุนหรือค่าใช้จ่าย ตามมาตรา 65 ทวิ (4) แห่งประมวลรัษฎากร

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.