Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Echocardiogram abnormalities in previously hospitalized patients with Post-acute COVID-19 syndrome

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

สุดารัตน์ สถิตธรรมนิตย์

Second Advisor

สมนพร บุณยะรัตเวช สองเมือง

Third Advisor

ปัทมา ต.วรพานิช

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.1028

Abstract

ความเป็นมา : จากการศึกษาที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome มีการตรวจพบความผิดปกติของคลื่นเสียงความถี่สูงหัวใจได้ถึง 1 ใน 3 แต่การศึกษายังมีจำนวนค่อนข้างน้อย อีกทั้งยังไม่มีการศึกษาที่มีการติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือด วัตถุประสงค์การวิจัย : การศึกษานี้มีเพื่อศึกษาหาความชุกของความผิดปกติของหัวใจในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome และทำการติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 เดือนและ 6 เดือน วิธีการวิจัย : รูปแบบการวิจัยเป็น prospective cohort study ศึกษาในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome จำนวน 81 คนที่เคยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และยังมีอาการของ Post-acute COVID-19 syndrome ผู้ป่วยได้รับการตรวจหาความผิดปกติของหัวใจโดยคลื่นความถี่สูงหัวใจที่ 2 เดือนหลังออกจากโรงพยาบาล โดยศึกษา left ventricular global longitudinal strain (LV-GLS) และ right ventricular free wall longitudinal strain (RV-FWLS) รวมถึง parameter อื่นๆที่สำคัญ นอกจากนี้ยังมีการเก็บข้อมูลที่อาจเป็นปัจจัยในการตรวจพบความผิดปกติทางหัวใจ และติดตามดูเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 และ 6 เดือน ผลการวิจัย : จำนวนประชากรทั้งหมด 81 คน อายุเฉลี่ยอยู่ที่ 65 ปี เป็นเพศหญิง 54 คน (66%) โรคประจำตัวส่วนใหญ่ที่พบคือ ความดันโลหิตสูง 34 คน (42%) เบาหวาน 20 คน (24%) ความรุนแรงของโรค COVID-19 ส่วนใหญ่อยู่ที่ระดับรุนแรงน้อย เป็นจำนวน 59 คน (72%) และรุนแรงปานกลาง 21 คน (25%) อาการของ Post-acute COVID-19 syndrome ของผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่พบคือ อ่อนเพลีย 32 คน (39.5%) อาการหอบเหนื่อย 32 คน (39.5%) จากการติดตามที่ 3 เดือน พบผู้ป่วยที่ยังมีอาการหลงเหลืออยู่ 31 คน (39.7%) และเมื่อติดตามที่ 6 เดือน พบผู้ป่วยที่ยังมีอาการหลงเหลืออยู่ 26 คน (33.8%) ผู้ป่วยได้รับการทำ Echocardiogram เฉลี่ยอยู่ที่ 62 วันนับจากวันที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ผลตรวจพบความผิดปกติของค่า Longitudinal strain 18 คน (22.22%) โดยพบความผิดปกติของ LV-GLS 8 คน (9.87%) พบความผิดปกติของ RV-FWLS 12 คน (14.8%) พบค่ามัธยฐานของ LVEF อยู่ที่ 68% และไม่พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เลยที่ 3 และ 6 เดือน สรุปผลการวิจัย : จากการศึกษานี้พบว่าอุบัติการณ์ในการตรวจพบความผิดปกติของหัวใจด้วยการตรวจ echocardiogram พบได้ไม่มากในผู้ป่วย Post-acute COVID-19 syndrome นอกจากนี้ยังไม่พบ เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของหัวใจและหลอดเลือดที่ 3 และ 6 เดือนในผู้ป่วยรายใดเลย จากผลการศึกษานี้อาจจะช่วยลดการตรวจทางด้านหัวใจที่ไม่จำเป็นในผู้ป่วยที่ยังมีอาการอยู่ได้อีกด้วย

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background : Limited data show that approximately 30% of Post-acute COVID-19 syndrome patients have abnormal echocardiograms. Nevertheless, no data to date study about the correlation with major adverse cardiac event (MACE) outcome. Objective : To find the prevalence and predictors of abnormal echocardiograms in patients with Post-acute COVID-19 syndrome and to determine MACE in the third and sixth months. Method : Prospective cohort study enrolled 81 patients with Post-acute COVID-19 syndrome who were previously hospitalized as COVID-19 patients. Echocardiograms were performed two months after admission. Left ventricular global longitudinal strain (LV-GLS) and right ventricular free wall longitudinal strain (RV-FWLS), along with other parameters, were measured. The study also followed up for MACE in the third and sixth months. Result : A total of 81 patients were enrolled. Fifty-five patients (66%) were female, and the median age was 65. Twenty patients (24%) had diabetes, and 34 (42%) had hypertension. According to the WHO covid severity classification, 59 patients (72%) had mild severity, and 21 patients (25%) had moderate severity. The most reported symptoms of Post-acute COVID-19 syndrome were fatigue (39.5%) and dyspnea (39.5%). In the third and sixth-month follow-ups, there were reports of persistent symptoms at 39.7% and 33.8%, respectively. The echocardiographic parameters showed a mean LVEF of 68%. The reduced longitudinal strain was found in 18 patients (22.22%). RV-FWLS was reduced in 12 patients (14.8%), LV-GLS was reduced in 8 patients (9.87%), and both RV-FWLS and LV-GLS were reduced in 2 patients (2.46%). No patients experienced MACE outcomes in the third and sixth months of follow-ups. Conclusion : The prevalence of subclinical LV and RV dysfunction in Post-acute COVID-19 infection with low cardiovascular risk was lower than previous studies in general post COVID-19 infection. Interestingly, there were no short-term MACE outcome. The extensive cardiac investigation in Post-acute COVID-19 syndrome with low cardiovascular risk might not be necessary.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.