Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Prevalence of electrocardiographic abnormalities of hospitalized COVID-19 infected patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

สุพจน์ ศรีมหาโชตะ

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.1015

Abstract

ที่มาของการวิจัย ในปลายปี 2019 เริ่มมีการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 (COVID-19) โดยอาการและภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยมักเกี่ยวข้องกับระบบทางเดินหายใจ และยังสามารถก่อให้เกิดอาการและภาวะแทรกซ้อนทางหัวใจต่างๆ รวมถึงการมีหัวใจเต้นผิดปกติ จากการศึกษาที่ผ่านมา พบว่าคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางรูปแบบนั้นมีความสัมพันธ์กับพยากรณ์โรคที่ไม่ดี อย่างไรก็ตาม การศึกษาในไทยยังขาดข้อมูลที่ชัดเจน การวิจัยนี้จึงเป็นการรวบรวมข้อมูลที่ช่วยให้ทราบถึงความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล และความสัมพันธ์ของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติกับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล กระบวนการและระเบียบวิธีวิจัย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยโดยการสังเกตเชิงวิเคราะห์ชนิดย้อนหลัง รวบรวมเวชระเบียนผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ด้วยวิธี RT-PCR ร่วมกับมีอาการหรืออาการแสดงของโรค และเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตั้งแต่เดือนมกราคม 2563 ถึงเดือนธันวาคม 2564 โดยเก็บข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจและการเสียชีวิตในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการทำคลื่นไฟฟ้าหัวใจหรือมีเครื่องกระตุ้นหัวใจจะถูกคัดออกจากการวิจัย ผลลัพธ์หลักคือความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติรูปแบบต่างๆ และผลลัพธ์รองคือรูปแบบคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล ผลการศึกษา จากผู้ป่วยทั้งหมด 180 ราย อายุเฉลี่ย 61.01 ± 16.17 ปี เพศชายร้อยละ 56 พบว่า ความชุกของผู้ป่วยที่มีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติมีจำนวน 154 ราย (ร้อยละ 85.6) คลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบได้บ่อย ได้แก่ การมีระยะ QT ยาวผิดปกติ (ร้อยละ 36.8), การมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (ร้อยละ 29.1), การเบี่ยงเบนลงของ ST segment (ร้อยละ 23.4), และการมี pathologic Q wave (ร้อยละ 19.5) ตามลำดับ มีผู้ป่วยเสียชีวิตในระหว่างนอนโรงพยาบาลจำนวน 33 ราย (ร้อยละ 18.3) โดยพบว่าลักษณะคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่มีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล ได้แก่ การมีอัตราการเต้นของหัวใจเร็วกว่าปกติ (OR 7.86 95% CI 2.75-22.44 p-value <0.001), การเกิดภาวะหัวใจห้องบนเต้นเร็วก่อนกำหนด (OR 5.06; 95% CI 1.29-19.78; p-value 0.02), การมีระยะ QTc ยาวผิดปกติ (OR 4.71; 95% CI 1.6-13.9; p-value 0.005), และการเบี่ยงเบนลงของ ST segment (OR 2.96; 95% CI 1.04-8.4; p-value 0.042) โดยในกลุ่มผู้ป่วยที่เสียชีวิตจะมีความผิดปกติของคลื่นไฟฟ้าหัวใจอย่างน้อยรูปแบบใดรูปแบบหนึ่ง สรุป จากการวิจัยนี้พบว่า ความชุกของคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติที่พบในผู้ป่วยติดเชื้อโคโรนาไวรัส 2019 ที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์อยู่ที่ร้อยละ 85.6 และคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติบางรูปแบบมีความสัมพันธ์กับอัตราตายในระหว่างนอนโรงพยาบาล

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Coronavirus disease 2019 (COVID-19) was recognized as an outbreak in December 2019. While the main symptoms and severe complications of Coronavirus disease 2019 involve the respiratory system, this disease can also result in cardiac complications including cardiac dysrhythmias. In previous studies, several electrocardiographic patterns were associated with poor outcomes. However, there is still sparse data on electrocardiographic abnormalities and their prognostic outcomes in Thailand. This study will summarize the prevalence of relevant abnormal electrocardiographic findings in hospitalized COVID-19 infected patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital and their association with clinical outcomes regarding in-hospital mortality. Objectives: This study aimed to describe the prevalence of electrocardiographic abnormalities of hospitalized COVID-19 infected patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital and electrocardiographic patterns which were associated with in-hospital mortality. Materials and methods: This study was a retrospective, single-center, observational study. The medical records of admitted symptomatic patients with a diagnosis of COVID-19 infection confirmed by RT-PCR from January 2020 to December 2021 were reviewed. Data from each electrocardiogram and in-hospital mortality of patients were collected. Patients without electrocardiogram and patients who had pacemaker were excluded. The primary outcome was the prevalence of electrographic abnormalities. The secondary outcome was abnormal electrocardiographic patterns which were associated with in-hospital mortality. Results: There were 180 patients included in this study with mean age of 61.01 ± 16.17 years old, male 56%. From this study, 154 patients (85.6%) had abnormal electrocardiogram during admission. The most common abnormal electrocardiographic patterns were prolonged QT interval (36.8%), tachycardia (29.1%), ST depression (23.4%), and pathologic Q wave (19.5%), respectively. 33 patients (18.3%) died in admission, and electrocardiographic patterns which were associated with in-hospital mortality include tachycardia (OR 7.86 95% CI 2.75-22.44 p-value <0.001), premature atrial complexes (OR 5.06; 95% CI 1.29-19.78; p-value 0.02), prolonged QTc interval (OR 4.71; 95% CI 1.6-13.9; p-value 0.005), and ST depression (OR 2.96; 95% CI 1.04-8.4; p-value 0.042). All patients in the dead group had at least one electrographic abnormality. Conclusion: Prevalence of electrocardiographic abnormalities of hospitalized COVID-19 infected patients in King Chulalongkorn Memorial Hospital was 85.6%. In addition, some electrocardiographic patterns were associated with in-hospital mortality.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.