Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Beliefs and rituals in Isan communities with place names related to Khanthanam folktales
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
ปรมินท์ จารุวร
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Department (if any)
Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)
Degree Name
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.709
Abstract
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาและวิเคราะห์เรื่องเล่าที่อธิบายภูมินามในชุมชนอีสานที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคันธนาม และวิเคราะห์บทบาทของความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าวในชุมชนอีสานในปัจจุบัน ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามระหว่างปี พ.ศ. 2563 – พ.ศ. 2566 ในบางชุมชนอีสานที่มีความเชื่อและพิธีกรรม เกี่ยวข้องกับเรื่องคันธนาม ได้แก่ บ้านขุมคำ อำเภอกุดข้าวปุ้น จังหวัดอุบลราชธานี บ้านด่าน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ บ้านกู่คันธนาม อำเภอโพนทราย จังหวัดร้อยเอ็ด และอำเภอเมืองสรวง จังหวัดร้อยเอ็ด ผลการศึกษาพบว่า เรื่องคันธนามเป็นวรรณคดีท้องถิ่นอีสานที่มีเนื้อเรื่องขนาดยาว ประกอบไปด้วยเหตุการณ์หลัก 10 ตอน แต่ละตอนสะท้อนความคิดสำคัญของเรื่องคือความกตัญญูจากการตามหาพ่อของตัวละครเอก การศึกษา อนุภาคพบว่ากลุ่มอนุภาคตัวละคร กลุ่มอนุภาคของวิเศษ และกลุ่มอนุภาคเหตุการณ์ ต่างก็มีความสำคัญต่อการดำเนินเรื่อง สะท้อนความหมายทางวัฒนธรรม และมีความสำคัญต่อการจดจำเรื่องเล่า โดยเฉพาะเรื่องเล่าที่ไปสัมพันธ์กับภูมินาม ในภาคอีสาน ในการวิเคราะห์เรื่องคันธนามที่ใช้อธิบายภูมินามในชุมชนอีสาน พบว่าทั้ง 4 ชุมชนอีสานรับรู้เรื่องราว ในลักษณะชาดกพื้นบ้านและตำนานสถานที่ และนำเรื่องดังกล่าวไปเชื่อมโยงกับสภาพภูมิประเทศ สถานที่สำคัญ เรื่องเล่าท้องถิ่น และวิถีชีวิต ในเหตุการณ์และอนุภาคที่ต่างกัน สะท้อนให้เห็นความสำคัญทางวัฒนธรรมของ เรื่องคันธนามที่มีต่อชุมชนอีสานได้เป็นอย่างดี การศึกษาความเชื่อและประเพณีพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับเรื่องคันธนามพบว่า ทั้ง 4 ชุมชนมีความเชื่อเกี่ยวกับการนับถือ ตัวละครศักดิ์สิทธิ์เชื่อมโยงกับสถานที่สำคัญของชุมชน และเป็นพื้นที่ประกอบพิธีกรรมสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องดังกล่าว ทั้งหมด 4 ประเพณีพิธีกรรม ได้แก่ ประเพณีบวงสรวงพระธาตุสีดา บุญสรงกู่บูชาท้าวคันธนาม บุญชาวเมือง และบุญเบิกบ้านบวงสรวงเจ้าปู่คัทธนาม ประเพณีเหล่านี้นำเรื่องคันธนามไปใช้เป็นรูปเคารพ เครื่องประกอบพิธีกรรม และบทอัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ การนำเรื่องคันธนามไปใช้ประกอบพิธีกรรมสะท้อนวิธีคิดในการสืบทอดความเชื่อเกี่ยวกับ ตัวละครที่มีอยู่แต่เดิมในชุมชน และวิธีคิดในการเลือกบทบาทของตัวละครที่มีในเรื่องมาสร้างความศักดิ์สิทธิ์ในพิธีกรรม ทำให้ตัวละครมีลักษณะเป็นผีอารักษ์ที่ผนวกกับผีวีรบุรุษ การนำไปใช้ดังกล่าวยังมีบทบาทในการอธิบายและสืบทอด พิธีกรรมเปลี่ยนผ่านในรอบปีและพิธีกรรมเปลี่ยนผ่านฤดูกาล และพิธีกรรมเพื่อความอุดมสมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีบทบาท ในการสร้างกิจกรรมในบริบทการท่องเที่ยวซึ่งเกี่ยวข้องกับนโยบายรัฐ บทบาทในการเป็นที่พึ่งทางกายและทางใจแก่คน ในชุมชน บทบาทในการแสดงความสัมพันธ์ของกลุ่มคนระหว่างชุมชน และบทบาทในการสะท้อนปัญหาความขัดแย้ง ทางความคิดในชุมชน การศึกษาเรื่องเล่าอธิบายภูมินาม ความเชื่อ และพิธีกรรมดังกล่าวจึงแสดงให้เห็นถึงพลวัต ของเรื่องคันธนามในชุมชนอีสานในปัจจุบัน
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this thesis were to study and analyze the Khanthanam Folktales, explainning place names, and the functions of beliefs and rituals related to that tales in Isan communities of present day. The researcher collected data from field studies carried out during 2020 – 2023, namely 1) Ban Khumkham, Kudkhaopun District, Ubon Ratchathani Province, 2) Ban Dan, Rasisalai District, Sisaket Province, 3) Ban Ku Khanthanam, Phon Sai District, Roi Et Province and 4) Mueang Suang District, Roi Et Province. The results found that the Isan local literature, Khanthanam, has a long story consisting of 10 parts comprising main events and each part reflects the main idea, the gratitude of looking for father of important characters. The motifs comprising characters, objects and events are important to story’s continuing and memorizing. They reflect the cultural meaning, especially the tales that related to place names in Isan. There are four Isan communities recognizing the Khanthanam as Local Jataka and Located Legend, use the tales to associate with geographies, places, local narratives and the ways of life by different parts and motifs. Therefore the implementation also reflects the importance in culture of Khanthanam Folktales to Isan communities splendidly. To study beliefs and rituals about Khanthanam tales found that four communities believe in the sacred characters related to important places being areas to practise four traditions involving with the tales, they are 1) The tradition of Buangsuang Phra That Sida (Sida pagoda), 2) Bun Song Ku Bucha Thao Khanthanam, 3) Bun Chao - mueng, and 4) Bun Berg Ban Buangsuang Chao Pu Khatthanam. These traditions bring the tales to be used as icons of worship, ceremonial objects and invocation prayer text calling upon sacred beings in the rituals. The traditions reflect the ways of thinking in the transmission belief in the Khantanam that existed originally and the selection of roles of characters to create sanctity in the rituals. Inaddition they also have important functions in transmitting of the rites of passage, transition of a year and seasons, and fertility rites and in the promotion of governmental tourism. In the meantime they have functions to be help for the people, to reflect the relationship between communinities and the conflicts for using the tales. Therefore to study the tales, beliefs and rituals about the Khanthanam legibly proves that tales have dynamic in Isan communities in present day.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
มาพบ, ปฏิวัติ, "ความเชื่อและพิธีกรรมในชุมชนอีสานที่มีภูมินามเกี่ยวข้องกับเรื่องคันธนาม" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6419.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6419