Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การศึกษากลไกการเกิดทรายเหลวที่จังหวัดเชียงราย

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Suched Likitlersuang

Faculty/College

Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)

Department (if any)

Department of Civil Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Civil Engineering

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.146

Abstract

ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ทางภาคเหนือของประเทศไทยได้เผชิญภัยแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ถึง 2 ครั้งคือ แผ่นดินไหวที่ศูนย์กลางอยู่ ที่เมืองทาร์เลย์ในประเทศเมียนมาปี ค.ศ. 2011 และแผ่นดินไหว ที่อ.แม่ลาว จ.เชียงรายในปี ค.ศ. 2014 งานวิจัยนี้จึงดำเนินการศึกษาการเกิดทรายเหลวระหว่างการเกิดแผ่นดินไหวโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงราย งานวิจัยนี้เริ่มจากการวิเคราะห์ด้วยสูตรเชิงประสบการณ์โดยใช้ข้อมูลในหลายพื้นที่ในภาคเหนือ การศึกษาผลตอบสนองแผ่นดินไหวสามารถนำไปใช้ประเมินผลของการแผ่ขยายของคลื่นแผ่นดินไหวในชั้นดินได้ นอกเหนือจากนี้ มีการสำรวจพื้นที่ด้วยการทดสอบไมโครทริมเมอร์และการวิเคราะห์สเปกตรัมคลื่นผิวดินบริเวณพื้นที่ที่เคยเกิดทรายเหลวในระหว่างแผ่นดินไหวทั้งสองครั้ง การวิเคราะห์ผลตอบสนองต่อการเกิดทรายเหลวแบบหนึ่งมิติเพื่อสังเกตพฤติกรรมพลศาสตร์ของชั้นดินพบว่า ชั้นทรายชั้นแรกและชั้นที่สองของบริเวณที่ทำการศึกษามีโอกาสการเกิดทรายเหลวค่อนข้างสูง นอกเหนือจากนี้ ผลวิเคราะห์การแผ่ขยายของคลื่นพบว่า ที่บริเวณอ.แม่สาย ชายแดนไทย-เมียนมา อาจเกิดความเสียหายต่ออาคารความสูงปานกลางจากการขยายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวได้ เนื่องจากการสั่นพ้องระหว่างดินและโครงสร้าง ส่วนผลการสำรวจพื้นที่ยังพบว่าสภาพทางธรณีวิทยาประกอบไปด้วยชั้นดินตะกอนของแม่น้ำที่มีความต้านทานต่อแรงเฉือนค่อนข้างต่ำ พฤติกรรมของดินพวกนี้ระหว่างการแผ่ขยายคลื่นน่าจะโอกาสเกิดทรายเหลวได้ง่าย การศึกษานี้น่าใช้แนะนำวิศวกรท้องถิ่นเพื่อให้ตระหนักถึงความไม่ปลอดภัยต่อแผ่นดินไหวและการเกิดทรายเหลวในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะในจังหวัดเชียงรายได้

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.