Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
The effects of population decline on education infrastructure : a case study of Udonthani province
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
พรสรร วิเชียรประดิษฐ์
Faculty/College
Faculty of Architecture (คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Urban and Regional Planning (ภาควิชาการวางแผนภาคและเมือง)
Degree Name
การวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
การวางผังและออกแบบเมือง
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.508
Abstract
งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายการลดลงของประชากรที่ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างพื้นฐานทางการศึกษา กล่าวคือโรงเรียนของรัฐ ที่เป็นสาธารณูปการขั้นพื้นฐานที่มีความสำคัญ ซึ่งปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเป็นผลกระทบในมิติหนึ่งจากการลดลง ของประชากรในพื้นที่ คล้ายกับภาพความเสื่อมถอยของโครงสร้างพื้นฐาน ตามบริบทของปรากฏการณ์ เมืองหดที่ถูกกล่าวถึงในระดับสากล โดยมีระเบียบวิธีวิจัย ได้แก่ การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้อง และการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้เกี่ยวข้องกับการบริหารการศึกษา ผลการวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงจำนวนและสัดส่วน รวมถึงการกระจายตัวของประชากรแสดงให้เห็นว่า การลดลงของประชากรเกิดขึ้นในระดับโครงสร้าง ประชากรวัยเด็กเป็นกลุ่มที่มีการลดลงอย่างชัดเจนที่สุดทั้งในพื้นที่เมืองและชนบท สอดคล้องกับจำนวนนักเรียนที่ลดลงในโรงเรียนของรัฐที่ทำให้โรงเรียนส่วนใหญ่ในจังหวัดอุดรธานีมีขนาดที่เล็กลง ขณะที่อัตราการลดของประชากรวัยเด็กที่มีแนวโน้มสูงขึ้นในทุกช่วงปีทำให้ภาพปรากฏการณ์ของโรงเรียนถูกยุบชัดเจนมากขึ้น การเปลี่ยนแปลงขนาดสะท้อนถึงสถานภาพโรงเรียนในแต่ละช่วงปี การถูกยุบ ลดขนาด ขยายขนาด เกิดขึ้นทั้งในพื้นที่เมืองและชนบทด้วยสัดส่วนที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่การวิเคราะห์สหสัมพันธ์เชิงพื้นที่แบบครอบคลุม ไม่พบรูปแบบของการพึ่งพาหรือสหสัมพันธ์ระหว่างโรงเรียนแต่ละแห่งในภาพรวมของจังหวัดอย่างชัดเจน เนื่องจากการลดลงของนักเรียนในโรงเรียนแต่ละแห่งอาจไม่ได้มีความสัมพันธ์กันด้วยปัจจัยเชิงภูมิศาสตร์เพียงปัจจัยเดียว นอกเหนือปัจจัยอัตราการเกิดต่ำที่ทำให้จำนวนนักเรียนในโรงเรียนลดลงในภาพรวมแล้ว การลดลงของจำนวนนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กที่อยู่ในพื้นที่ชานเมืองและพื้นที่ชนบทเกิดจากการย้ายถิ่นเข้าสู่โรงเรียนที่มีขนาดใหญ่ซึ่งถูกมองว่ามีความพร้อมมากกว่าในพื้นที่เมือง ขณะที่โรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทต้องดิ้นรนในการสร้างคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานที่ส่วนกลางได้กำหนดไว้ภายใต้ภาวะข้อจำกัดด้านงบประมาณและบุคลากรเพื่อไม่ให้ถูกยุบ ซึ่งเป็นความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นระหว่างโรงเรียนขนาดใหญ่ในพื้นที่เมืองและโรงเรียนขนาดเล็กในพื้นที่ชนบทห่างไกล งานวิจัยนี้จึงมีข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในประเด็นการจัดการให้บริการด้านการศึกษาอย่างทั่วถึงและมีส่วนร่วม และการส่งเสริมให้เกิดการกระจายอำนาจ โดยผลักดันให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้ามีบทบาทด้านการศึกษาเพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการ และรับมือกับปัญหาที่มีความเฉพาะเจาะจงเชิงพื้นที่มากยิ่งขึ้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This research aims to explain the effects of population decline on education infrastructure, i.e., public schools which are important public facilities. The changes which occur with school service and administration can be considered as one of several dimensions of the effects, according to decline of infrastructure caused by the phenomena of Shrinking City in global perspective. Research methods are analyses of relevant secondary statistics data and in-depth interviews with key informants who involve in education administration in Udonthani Province. The results of population analyses show that changes occur at the structural level. The child population has been obviously declining in both urban and rural areas, resulting in decreasing number of total students in public schools. Most schools in Udonthani are downsizing since the rate of shrinkage in child population tends to increase annually. Consequently, more schools are closed down. The proportions of size changing of public schools, such as closing down, downsizing, and upsizing, are different between urban and rural areas with statistical significance in Chi-square test of independence. However, as the results of spatial statistics test, there was no pattern of autocorrelation shown between areas in provincial level, because declining situations may not only be correlated by geographical factors. Beside low fertility factor causes decreasing numbers of students in the big picture, size declining of small schools in suburban and rural area are caused by migration of students to larger schools in urban area which are seen to have higher quality. Small schools in rural area have difficulties in increasing their educational quality to respond to the benchmark of the central government under budget and personnel constraints in order to prevent closing down. This can be seen as a disparity between large schools in urban areas and small schools in rural areas. Therefore, several policies are recommended, e.g., management of educational service in more comprehensive and participatory approach, promotion of decentralization so that local government can allocate their resources efficiently and can deal with specific local context.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ปัทมะสุวรรณ์, สิรวิชญ์, "ผลกระทบจากปรากฏการณ์การลดลงของจำนวนประชากรต่อโครงสร้างพื้นฐานด้านการศึกษา กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 6218.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/6218