Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

คุณลักษณะโมเลกุลและความไวของยาต้านจุลชีพของเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอี สายพันธุ์แยกได้ในประเทศไทย และการตอบสนองภูมิคุ้มกันของไก่ที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอี ชนิดเชื้อเป็น

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

Somsak Pakpinyo

Second Advisor

Nataya Charoenvisal

Faculty/College

Faculty of Veterinary Science (คณะสัตวแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Veterinary Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะสัตวแพทยศาสตร์))

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Veterinary Medicine

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.364

Abstract

Mycoplasma synoviae infection in chickens which has been increasing worldwide is mostly controlled by pathogen-free flocks’ maintenance, medication in infected flocks and vaccination in high-risk flocks. The effective control strategy requires the information of diagnostic assays for detecting and differentiating M. synoviae strains, the understanding of immune response mechanisms in vaccinated chickens, and the reliable drug susceptible evidents for making decision in antimicrobial usage. This study aimed to develop a convenient assay for evaluation of quality or uniformity of vaccination with live MS-H vaccine, to characterize the immune response mechanisms in chickens receiving 3 different vaccination programs immunizing single dose at either 9 or 12 weeks of age or two doses at both 9 and 12 weeks of age, and to determine the antimicrobial susceptible profiles of current Thai M. synoviae isolates. Based on sequence analysis of partial vlhA gene in this study, Thai M. synoviae isolates collected from articular joint and respiratory tract of chickens during 2020, consisted of types E and L with 19 and 35 amino acid length, respectively, differing from MS-H vaccine strain classified as type C with 32 amino acid length. Consequently, the developed PCR-RFLP assay using restriction enzyme TasI to digest vlhA gene-targeted PCR amplicons, was verified to detect MS-H vaccine strain in vaccinated chickens and differentiate it from non-vaccine strains; WVU1853 reference strain (ATCC 25204) and Thai M. synoviae field strains. Besides, this study also demonstrated that vaccination with live MS-H, whether single or two doses, could similarly stimulate immune response mechanisms including both humoral and cellular immune responses. Antibody response in vaccinated chickens were initially detected at 2 weeks post first vaccination, and continuously increased to the highest level at 3 and 5 weeks post first vaccination examined by RPA assay and ELISA, respectively. Cellular immune response against both homologous and heterologous antigens, examined by MTS Tetrazolium assay, were similar at early period post immunization while the responses against homologous antigen was better at late period post immunization. Furthermore, antimicrobial susceptible profiles of current Thai M. synoviae isolates was performed strong susceptible to tylvalosin, tylosin, and tiamulin at MIC50 value of 0.0098, 0.0391 and 0.0781 µg/ml, respectively; moderate susceptible to doxycycline, oxytetracycline and lincomycin-spectinomycin at MIC50 value of 0.1563, 0.1563 and 0.625 µg/ml, respectively; and resistance to enrofloxacin at MIC50 value of 10 µg/ml. Interestingly, at least three subpopulations of Thai M. synoviae isolates were presented with different MIC values; ranging 0.0195-0.625 µg/ml; from strong susceptibility to resistance to tilmicosin.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ปัญหาโรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีในไก่ที่พบมากขึ้นทั่วโลกจะถูกควบคุมได้ด้วยการจัดการฝูงไก่แบบปลอดโรค การรักษาด้วยยาต้านจุลชีพในฝูงสัตว์ที่ติดเชื้อ และการทำวัคซีนในฝูงสัตว์ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งการควบคุมโรคที่มีประสิทธิภาพนั้นจะต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในข้อมูลหลายๆด้านด้วยกัน ทั้งด้านข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจวินิจฉัยโรคทางห้องปฏิบัติการที่สามารถตรวจแยกสายพันธุ์ของเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีได้ ด้านข้อมูลเกี่ยวกับกลไกการตอบสนองทางระบบภูมิคุ้มกันจากการทำวัคซีนชนิดเชื้อเป็น และด้านข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ยาต้านจุลชีพที่เหมาะสมกับหลักฐานการตรวจไวรับต่อยาต้านจุลชีพที่ใช้ การศึกษานี้จึงได้ออกแบบมาเพื่อพัฒนาวิธีการทดสอบที่สะดวกในการใช้งานและมีความเหมาะสมสำหรับการนำไปใช้ตรวจติดตามผลภายหลังการทำวัคซีนชนิดเชื้อเป็น เพื่อศึกษากลไกการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากการทำวัคซีนชนิดเชื้อเป็น และเพื่อประเมินความไวรับต่อยาต้านจุลชีพของเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีที่ตรวจพบในปัจจุบัน สำหรับผลการวิเคราะห์ลำดับยีนบางส่วนของยีนวีเอลเอชเอในการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่าเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีที่ตรวจพบจากการเก็บตัวอย่างข้อและตัวอย่างอวัยวะในทางเดินหายใจสามารถจำแนกชนิดตามขนาดความยาวของยีนวีเอลเอชเอได้เป็นเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีชนิดอีและชนิดแอลที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโน ๑๙ ตัวและ ๓๕ ตัวตามลำดับ ซึ่งต่างจากวัคซีนเชื้อเป็นสายพันธุ์เอชที่ถูกจัดให้เป็นเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีชนิดซี ที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนจำนวน ๓๒ ตัว ดังนั้นวิธีการทดสอบพีซีอาร์-อาร์เอฟแอลพีที่พัฒนาขึ้นมาโดยอาศัยเอ็นไซม์ทีเอเอสแอลในการตัดย่อยสายดีเอนเอที่ได้จากการทำพีซีอาร์ที่มีความจำเพาะกับยีนวีเอลเอชเอจึงถูกนำมาทดสอบประสิทธิภาพในการตรวจหาวัคซีนสายพันธุ์เอชในไก่ที่ได้รับวัคซีนและการตรวจแยกความแตกต่างระหว่างสายพันธุ์ที่ไม่ใช่วัคซีน ทั้งสายพันธุ์มาตรฐานดับเบิลยูวียู๑๘๕๓ (ATCC 25204) และสายพันธุ์อื่นๆที่ตรวจพบในประเทศไทย การศึกษานี้ยังแสดงให้เห็นว่าการทำวัคซีนชนิดเชื้อเป็นสายพันธุ์เอชสามารถกระตุ้นกลไกการตอบสนองของภูมิคุ้มกันได้เหมือนกัน ไม่ว่าจะดำเนินการทำวัคซีนแค่ครั้งเดียวหรือทำสองครั้งก็ตาม ซึ่งการตอบสนองทางซีรัมวิทยาในไก่ที่ได้รับวัคซีนจะสามารถตรวจพบได้ในสัปดาห์ที่ ๒ หลังการทำวัคซีนครั้งแรก และการตอบสนองจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนถึงระดับสูงสุดที่สัปดาห์ที่ ๓ และ ๕ หลังการฉีดวัคซีนครั้งแรกเมื่อตรวจด้วยวิธีการอาร์พีเอและวิธีการอีไลซา ตามลำดับ สำหรับผลการทดสอบด้วยวิธีการเอ็มทีเอส เตตระโซเลียมนั้นก็แสดงให้เห็นว่าการตอบสนองของภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ต่อแอนติเจนชนิดเดียวกันและแอนติเจนต่างชนิดกันนั้นจะมีความคล้ายกันในช่วงแรกหลังจากได้รับวัคซีน แต่หลังจากที่ได้รับวัคซีนไปสักพักแล้ว ภูมิคุ้มกันชนิดเซลล์ต่อแอนติเจนชนิดเดียวกันจะมีการตอบสนองที่ดีกว่าแอนติเจนต่างชนิดกัน นอกจากนี้ ข้อมูลความไวรับต่อยาต้านจุลชีพที่ได้จากการศึกษานี้ได้แสดงให้เห็นว่าตัวเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีที่ตรวจพบในปัจจุบันนี้มีความไวรับอย่างมากต่อยาไทลวาโลซิน ยาไทโลซิน และยาไทอะมูลิน โดยมีค่าเอ็มไอซี๕๐อยู่ที่ ๐.๐๐๙๘, ๐.๐๓๙๑ และ ๐.๐๗๘๑ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ; มีความไวรับปานปลางต่อยาด๊อกซี่ไซคลิน ยาอ๊อกซี่เตตร้าไซคลิน และยาลินโคมัยซิน-สเปคติโนมัยซิน โดยมีค่าเอ็มไอซี๕๐อยู่ที่ ๐.๑๕๖๓, ๐.๑๕๖๓ และ ๐.๖๒๕ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ; และมีการดื้อต่อยาเอนโรฟลอกซาซิน โดยมีค่าเอ็มไอซี๕๐อยู่ที่ ๑๐ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร ซึ่งประเด็นที่น่าสนใจอย่างยิ่งก็คือเชื้อมัยโคพลาสมา ซิโนวิอีสามารถแบ่งกลุ่มได้อย่างน้อย ๓ กลุ่มย่อยที่มีค่าเอ็มไอซี๕๐ที่แตกต่างกันตั้งแต่ ๐.๐๑๙๕-๐.๖๒๕ ไมโครกรัม/มิลลิลิตร หรือตั้งแต่กลุ่มเชื้อที่มีความไวรับสูงไปจนถึงกลุ่มที่ดื้อต่อยาทิลมิโคซิน

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.