Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

การประยุกต์เฮดสเปซ-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรีสำหรับการพิสูจน์เอกลักษณ์ของสารระเหยง่ายในไข่ไก่

Year (A.D.)

2017

Document Type

Thesis

First Advisor

Thumnoon Nhujak

Second Advisor

Panita Ngamchuachit

Faculty/College

Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)

Department (if any)

Department of Chemistry (ภาควิชาเคมี)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Chemistry

DOI

10.58837/CHULA.THE.2017.114

Abstract

Volatile compounds in chicken eggs under the cold chain system and non-cold chain system were characterized by headspace-solid phase microextraction-gas chromatography-mass spectrometry (HS-SPME-GC-MS) combined with chemometrics. According to a central composite design, the following optimum HS-SPME extraction conditions were obtained: extraction temperature of 65 oC, extraction time of 45 min and the amount of NaCl of 0.4 g. In comparison of their mass spectrum and linear retention index from HS-SPME-GC-MS analysis, major volatile compounds found in egg samples included toluene, hexanal, nonanal and other minor volatile compounds were heptanal, octanal, decanal, benzaldehyde, 1-octen-3-ol and 2-ethyl-1-hexanol, with the types and amounts of these volatile compounds in order: the non-cold chain system > cold chain system, the egg yolk > the egg white and the raw egg > soft boil egg. Using PCA analysis of all egg samples at 0-4 weeks, unclearly separated datasets obtained from eggs under the cold chain system imply that non-significant change in the amounts of volatile compounds in the eggs stored at 0-4 weeks. In addition, the non-cold chain system increase the amounts of volatile compounds in the eggs stored at 0-4 weeks. The HS-SPME-GC-MS method was also applied to investigate volatile compounds in commercial eggs and unpleasant eggs.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

พิสูจน์ทราบสารระเหยง่ายในไข่ไก่ที่ผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นและไม่ผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็น ด้วยเทคนิคเฮดซเปส-โซลิดเฟสไมโครเอ็กแทรคชัน-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี (HS-SPME-GC-MS) ร่วมกับเคโมเมทริกซ์ จากการออกแบบการทดลองแบบเซ็นทรัลคอมโพซิต ได้สภาวะที่เหมาะสมในการการสกัดด้วยเทคนิค HS-SPME ดังนี้: อุณหภูมิการสกัดที่ 65 ?C เวลาสกัด 45 นาที และปริมาณเกลือโซเดียมคลอไรด์ 0.4 กรัม ในการเปรียบเทียบแมสสเปกตรัมและค่ารีเทนชั่นอินเด็กซ์เชิงเส้นตรงที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยเทคนิค HS-SPME-GC-MS พบว่าสารระเหยง่ายหลักที่พบในตัวอย่างไข่ไก่ประกอบด้วยโทลูอีน เฮกซะนาล โนนานาล และสารระเหยง่ายรองประกอบด้วยเฮปทานาล ออกทานาล เดคะนาล เบนซัลดีไฮด์ 1-ออกเทน-3-ออล และ 2-เอธิล-1-เฮกซะนอล ในจำนวนชนิดและปริมาณของสารระเหยง่ายตามลำดับดังนี้ พบในระบบ ไม่ผ่านห่วงโซ่ความเย็นมากกว่าระบบห่วงโซ่ความเย็น ในไข่แดงมากกว่าในไข่ขาว และในไข่ดิบมากกว่าไข่ลวก การวิเคราะห์ด้วย PCA กับตัวอย่างไข่ทั้งหมดตลอดทั้งสี่สัปดาห์ ชุดข้อมูลทั้งหมดของไข่ไก่ที่ผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นแยกกลุ่มกันไม่ชัดเจน แสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงสารระเหยง่ายในไข่ไก่ไม่มีนัยสำคัญตลอดการเก็บทั้งสี่สัปดาห์ นอกจากนี้ไข่ไก่ที่ไม่ผ่านระบบห่วงโซ่ความเย็นมีการเปลี่ยนแปลงปริมาณสารระเหยง่ายเพิ่มขึ้นตลอดการเก็บทั้งสี่สัปดาห์ วิธีเฮดซเปส-โซลิดเฟสไมโครเอ็กแทรคชัน-แก๊สโครมาโทกราฟี-แมสสเปกโทรเมตรี ยังสามารถตรวจวัดสารระเหยง่ายในตัวอย่างไข่ไก่ทั่วไปและไข่ไก่ที่มีความผิดปกติ

Included in

Chemistry Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.