Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การพัฒนาวิธีสกัดเมล็ดของหมามุ่ยเพื่อให้ได้สารสกัดที่มีความคงตัวทางเคมีและกายภาพ
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
Sornkanok Vimolmangkang
Faculty/College
Faculty of Pharmaceutical Sciences (คณะเภสัชศาสตร์)
Degree Name
Master of Science
Degree Level
Master's Degree
Degree Discipline
Pharmaceutical Sciences and Technology
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.288
Abstract
Levodopa (L-DOPA) is a drug for the treatment of Parkinson's disease (PD). Currently, it derives from chemical synthesis and plants, especially Mucuna Pruriens (MP) seeds. The results of clinical studies found using the L-DOPA-containing MP for the treatment of PD could reduce side effects more than the synthetic one but patients must take MP powder in high amounts per a single dose which may cause inconvenience. Therefore, using the extract can help in the reduction of the dose. Unfortunately, the water extract from the MP seeds can be easily degraded physically and chemically; especially the physical appearance e.g., darkening color, melting, or a solid lump. Moreover, the reduction of L-DOPA content in the extract was commonly observed. Therefore, it is necessary to develop an extraction procedure to solve these problems. This study aimed to modify the extraction of MP using the traditional acidification approach to obtain a higher stable MP extract by comparing the extraction efficiency of a set of previously studied acid solutions (hydrochloric acid, citric acid, and ascorbic acid) and acid extraction from Phyllanthus emblica water (PE), which has antioxidant effects and is also useful in treating PD as well. From the comparative extraction results of the two strains of MP seeds, it was found that the amount of levodopa was not statistically different. While using the sonication-assisted extraction method can improve the extraction efficiency. When comparing different acid solutions used for extraction, it was found that PE yielded an extract with a similar amount of levodopa as using hydrochloric acid as the control solution, and also helps to maintain the quality of the extract when stored under the accelerated condition for 12 months. In addition, qualitative analysis of chemicals in PEW and MP extracted with PE by HPTLC and HPLC techniques revealed that L-DOPA in the MP extract did not interfere with the chemicals in PEW. All these studies showed that PEW is beneficial for the L-DOPA extraction process and is a safe natural solvent. The obtained extract can be used as a starting material for herbal products.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
ลีโวโดปาคือยาที่ใช้ในการรักษาผู้ป่วยพาร์กินสัน ปัจจุบันได้มาจากกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี เเละจากพืชโดยเฉพาะเมล็ดหมามุ่ย จากผลการศึกษาระดับคลินิกพบว่า การใช้ผงเมล็ดหมามุ่ยที่มีลีโวโดปาช่วยลดอาการข้างเคียงในการรักษาได้ดีกว่าการใช้ลีโวโดปาจากเคมีสังเคราะห์ เเต่ผู้ป่วยจะต้องรับประทานผงเมล็ดจำนวนมากต่อครั้ง ซึ่งอาจทำให้เกิดความไม่สะดวก ดังนั้นการใช้สารสกัดจึงช่วยลดปริมาณการใช้ต่อครั้งได้ อย่างไรก็ตามสารสกัดน้ำจากเมล็ดหมามุ่ยเสื่อมสลายได้ง่ายทั้งในด้านเคมีและกายภาพ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงของลักษณะปรากฏ เช่น ผงสารสกัดลักษณะเหนียวจับตัวเป็นก้อนมีสีที่เข้มขึ้น รวมไปถึงปริมาณลีโวโดปาที่ลดลง จะเห็นว่ากระบวนการสกัดจึงมีความสำคัญที่ต้องพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว การศึกษานี้มุ่งเป้าปรับปรุงกระบวนการสกัดหมามุ่ยด้วยกรดในวิธีดั้งเดิม เพื่อให้ได้สารสกัดที่มีความคงตัวเพิ่มขึ้น โดยทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพการสกัดด้วยชุดของสารละลายกรดที่มีการศึกษาก่อนหน้า ได้แก่ กรดไฮโดรคลอริก กรดซิตริก และ กรดแอสคอร์บิก กับการสกัดด้วยกรดจากน้ำมะขามป้อมซึ่งมีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระเเละยังมีประโยชน์ต่อการรักษาโรคพาร์กินสันอีกด้วย จากผลการสกัดเปรียบเทียบความแตกต่างของเมล็ดหมามุ่ยสองสายพันธุ์พบว่าปริมาณของสารลีโวโดปาที่ได้ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในขณะที่การใช้วิธีการสกัดด้วยเครื่องโซนิเคเตอร์สามารถช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการสกัดดีที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการนำสารละลายกรดที่แตกต่างกันเพื่อใช้ในการสกัดพบว่าน้ำมะขามป้อมทำให้ได้สิ่งสกัดที่มีปริมาณลีโวโดปาเทียบเท่าการใช้กรดไฮโรครอลิกที่เป็นสารละลายควบคุม และยังช่วยในการคงสภาพสารสกัดได้ดีที่สุด เมื่อจัดเก็บภายใต้สภาวะเร่งเป็นเวลา 12 เดือน นอกจากนี้การวิเคราะห์คุณภาพทางเคมี ของสารสำคัญในมะขามป้อมและสารสกัดหมามุ่ยที่สกัดด้วยน้ำมะขามป้อม ด้วยเทคนิค HPTLC เเละ HPLC พบว่าสารลีโวโดปาในสารสกัดหมามุ่ยไม่รบกวนกับสารในมะขามป้อม จากผลการศึกษาทั้งหมดนี้แสดงเห็นว่าน้ำมะขามป้อมมีประโยชน์ต่อกระบวนการสกัดลีโวโดปาอีกทั้งยังเป็นตัวทำละลายจากธรรมชาติที่มีความปลอดภัย สารสกัดที่ได้สามารถนำไปใช้งานเพื่อเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในผลิตภัณฑ์สมุนไพรต่อไป
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Vilairat, Chayarit, "Development of an extraction method of mucuna pruriens seeds for a chemically and physically stable extract" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5999.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5999