Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

ผลของสารเสริมซีรั่มชนิดต่างๆต่อพิกกี้แบคซีดีสิบเก้าไคเมอริกแอนติเจนรีเซพเตอร์ทีเซลล์

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

Koramit Suppipat

Second Advisor

Nattiya Hirankarn

Faculty/College

Graduate School (บัณฑิตวิทยาลัย)

Degree Name

Master of Science

Degree Level

Master's Degree

Degree Discipline

Medical Microbiology

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.230

Abstract

Chimeric Antigen Receptor (CAR) T cell is a novel therapy for relapse and refractory hematologic malignancy. Characteristics of CAR T cells is associated with clinical efficacy and toxicity. Type of serum supplements used during cultivation affect the immunophenotype and function of viral-based CAR T cells. This study explores the effect of serum supplements on non-viral piggyBac transposon CAR T cell production. PiggyBac CD19 CAR T cells were expanded in cultured conditions containing either fetal bovine serum, human AB serum, human platelet lysate or xeno-free serum replacement. Then, the effect of different serum supplements on cell expansion, transfection efficiency, immunophenotypes and anti-tumor activity were evaluated. Xeno-free serum replacement exhibited comparable CAR surface expression, cell expansion, and short-term anti-tumor activity comparing with conventional serum supplements. However, CAR T cell cultivated with xeno-free and serum-free cultured condition exhibited increase naïve T cell population and better T cell expansion after long term co-culture as well as during tumor rechallenge assay. This study supports the usage of xeno-free serum replacement as an alternative source of serum supplements for PiggyBac based CAR T cell expansion.

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

ไคเมอริกแอนติเจนรีเซพเตอร์ทีเซลล์เป็นวิธีการรักษาแนวใหม่สำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวที่มีโรคกลับมาเป็นซ้ำหรือไม่ตอบสนองต่อการรักษา คุณลักษณะของคาร์ทีเซลล์ที่ได้จะมีความเกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและผลข้างเคียงของการรักษาทางคลินิก ชนิดของสารเสริมซีรั่มที่ใช้ในขั้นตอนเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ในห้องปฏิบัติการมีผลต่อคุณลักษณะและคุณสมบัติของคาร์ทีเซลล์ที่ใช้วิธีไวรัสในการผลิต ในงานวิจัยชิ้นนี้จะศึกษาผลกระทบของการใช้สารเสริมซีรั่มชนิดต่างๆในการผลิตพิกกี้แบคคาร์ทีเซลล์ ซึ่งเป็นวิธีการผลิตที่ไม่ใช้ไวรัส พิกกี้แบคซีดีสิบเก้าคาร์ทีเซลล์จะถูกเพาะเลี้ยงในห้องปฏิบัติการด้วยสารเสริมซีรั่มที่แตกต่างกัน ได้แก่ fetal bovine serum, human AB serum, human platelet lysate และ xeno-free serum replacement จากนั้นทำการประเมินผลของการใช้สารเสริมซีรั่มที่แตกต่างกัน ต่อการเพิ่มจำนวนของเซลล์, transfection efficiency, ลักษณะและส่วนประกอบของเซลล์ที่ได้ รวมถึงประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งเป้าหมายในหลอดทดลอง ผลการทดลองพบว่าการใช้ xeno-free serum replacement มีการแสดงของคาร์โมเลกุลบนทีเซลล์,อัตราการเจริญเติบโตของเซลล์ และประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งเป้าหมายในหลอดทดลองเมื่อเพาะเลี้ยงร่วมกันเป็นเวลา 24 ชั่วโมงที่ไม่แตกต่างจากการใช้สารเสริมซีรั่มชนิดอื่นๆ อย่างไรก็ตามพบว่า ในกลุ่มที่มีการใช้ xeno-free serum replacement มีจำนวนของ naïve T cell ที่เพิ่มขึ้น และ มีอัตราการเพิ่มจำนวนของคาร์ทีเซลล์หลังจากมีการกระตุ้นเซลล์ด้วยเซลล์มะเร็งที่มีการแสดงออกของซีดีสิบเก้าเป็นระยะเวลานานและต่อเนื่องที่สูงกว่าสารเสริมซีรั่มชนิดอื่น ดังนั้นงานวิจัยนี้แสดงผลสนับสนุนการใช้ xeno-free serum replacement เป็นสารเสริมซีรั่มทางเลือกสำหรับการเพาะเลี้ยงเพื่อเพิ่มจำนวนคาร์ทีเซลล์ด้วยวิธีพิกกี้แบค

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.