Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศกัมพูชาตามแนวคิดทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม

Year (A.D.)

2022

Document Type

Thesis

First Advisor

Pruet Siribanpitak

Second Advisor

Sukanya Chaemchoy

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

Doctor of Philosophy

Degree Level

Doctoral Degree

Degree Discipline

Educational Management

DOI

10.58837/CHULA.THE.2022.122

Abstract

This study aimed to 1) study conceptual frameworks of academic management of secondary schools in Cambodia and innovation leadership skills, 2) study students’ innovation leadership skills levels, 3) analyze strengths, weaknesses, opportunities, and threats of academic management based on the concept of innovation leadership skills, and 4) develop academic management strategies based on the concept of innovation leadership skills. Multiphase mixed-methods design were employed. Samples included 2,662 students as respondents in Phase II and 94 public secondary schools in Phase III. Respondents included school administrators and teachers. Research instruments included evaluation forms and questionnaires. Data were analyzed using frequency, percentage, mean, standard deviation, modified priority need index (PNImodified), and content analysis. Results showed that 1) conceptual framework for academic management included curriculum development, teaching and learning, and measurement and evaluation and conceptual framework for innovation leadership skills consisted of three dimensions and 15 subdimensions: (1) innovation vision and strategy including realizing innovation vision, strategic thinking, and managing risks; (2) innovative thinking including demonstrating curiosity, developing empathy for others, opportunity exploration, assaulting assumptions, proactive thinking, idea generation, idea championing, and idea application; (3) innovation recognition and support including leading courageously, leading by example, promoting culture of trust, and recognizing the innovators. 2) Innovation leadership skills level was at the high level in the overall aspect. Innovation recognition and support and innovative thinking had the highest and lowest mean scores. All 15 subdimensions were at the high level, except for idea championing, which was at the moderate level. 3) Curriculum development was the strength; teaching and learning and measurement and evaluation were the weaknesses. Political-legal factor was the opportunity. Economic, sociocultural, and technological factors were the threats. 4) There were three strategies, six substrategies, and 28 procedures. First strategy was redesign the curriculum to develop students’ innovation leadership skills consisting of two substrategies: (1) redesign the existing expected learning outcomes with innovation leadership skills regarding innovation vision and strategy innovation recognition and support, and innovative thinking across the disciplines of the school curriculum (5 procedures) and (2) promote the use of learning outcomes in subject development and textbooks related to innovation leadership skills (4 procedures). The second strategy was transform teaching and learning to develop student innovation leadership skills comprising (1) transform in-classroom and out-classroom learning activities to develop student innovation leadership skills (4 procedures) and (2) develop learning media and resources to develop student innovation leadership skills (4 procedures). The third strategy was improve measurement and evaluation to develop student innovation leadership skills including (1) develop measurement and evaluation tools on student learning outcomes set in the curriculum related to innovation leadership skills (3 procedures) and (2) promote student assessment on learning outcomes in innovation leadership skills (8 procedures).

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดการบริหารวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษาในประเทศกัมพูชาและทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม 2) ศึกษาระดับทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียน 3) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภัยคุกคามของการบริหารวิชาการตามแนวคิดทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม และ 4) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยผสมวิธีพหุระยะ ตัวอย่างวิจัยคือนักเรียน 2,662 คน ในขั้นตอนที่ 2 ผู้ตอบแบบสอบถามคือนักเรียน และโรงเรียนมัธยมศึกษาของรัฐรวม 94 แห่งในขั้นตอนที่ 3 ผู้ตอบแบบสอบถามประกอบด้วยผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินและแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความต้องการจำเป็น (PNImodified) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการ ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดและประเมินผล และกรอบแนวคิดทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก และ 15 องค์ประกอบย่อย ได้แก่ (1) วิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม ประกอบด้วย การตระหนักวิสัยทัศน์ด้านนวัตกรรม การคิดเชิงกลยุทธ์ และการบริหารความเสี่ยง (2) การคิดเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย การแสดงความอยากรู้อยากเห็น การพัฒนาความเห็นอกเห็นใจต่อผู้อื่น การแสวงหาโอกาส การทำลายสมมติฐาน การคิดเชิงรุก การระดมความคิด การส่งเสริมความคิด และการนำความคิดไปใช้ (3) การยอมรับและสนับสนุนนวัตกรรม ประกอบด้วย ความเป็นผู้นำอย่างกล้าหาญ ความเป็นผู้นำแบบอย่าง การส่งเสริมวัฒนธรรมความไว้วางใจ และการยอมรับนวัตกร 2) ทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียนในภาพรวม อยู่ในระดับสูง โดยการยอมรับและสนับสนุนด้านนวัตกรรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงสุด และการคิดเชิงนวัตกรรมมีคะแนนเฉลี่ยต่ำสุด องค์ประกอบย่อยทั้ง 15 องค์ประกอบ อยู่ในระดับสูง ยกเว้นการส่งเสริมความคิด ซึ่งอยู่ในระดับปานกลาง 3) จุดแข็ง คือ การพัฒนาหลักสูตร จุดอ่อน คือ การเรียนการสอนและการวัดผลและประเมินผล โอกาส คือ การเมืองและนโยบายของรัฐ ภาวะคุกคาม คือ สภาพเศรษฐกิจ สภาพสังคมวัฒนธรรม และสภาพเทคโนโลยี 4) กลยุทธ์การบริหารวิชาการตามแนวคิดทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรม ประกอบด้วย 3 กลยุทธ์หลัก 6 กลยุทธ์รอง และ 28 วิธีดำเนินการ กลยุทธ์หลักที่ 1 คือ ออกแบบหลักสูตรใหม่เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียน มี 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ (1) ออกแบบผลลัพธ์การเรียนรู้ที่พึงประสงค์ที่มีอยู่ใหม่กับทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม การยอมรับและสนับสนุนนวัตกรรม และการคิดเชิงนวัตกรรมในแต่ละกลุ่มสาระของหลักสูตรโรงเรียน (5 วิธีดำเนินการ) และ (2) ส่งเสริมการใช้ผลการเรียนรู้ในการพัฒนารายวิชาและตำราเกี่ยวกับทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมเกี่ยวกับวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม การรับรู้และการสนับสนุนนวัตกรรมและการคิดเชิงนวัตกรรม (4 วิธีดำเนินการ) กลยุทธ์หลักที่ 2 คือ พลิกโฉมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียน มี 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ (1) พลิกโฉมกิจกรรมการเรียนรู้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียนเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียนโดยเน้นทักษะด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม การคิดเชิงนวัตกรรม และการยอมรับและการสนับสนุนนวัตกรรม (4 วิธีดำเนินการ) และ (2) พัฒนาสื่อและแหล่งการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียนโดยเน้นทักษะด้านวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม การคิดเชิงนวัตกรรม และการยอมรับและการสนับสนุนนวัตกรรม (4 วิธีดำเนินการ) กลยุทธ์ที่ 3 คือ ปรับปรุงการวัดและประเมินผลเพื่อพัฒนาทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมของนักเรียน มี 2 กลยุทธ์รอง ได้แก่ (1) พัฒนาเครื่องมือวัดและประเมินผลการเรียนรู้ของนักเรียนที่กำหนดไว้ในหลักสูตรที่เกี่ยวข้องกับทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมโดยเน้นวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม การคิดเชิงนวัตกรรม และการยอมรับและสนับสนุนนวัตกรรม (3 วิธีดำเนินการ) และ (2) ส่งเสริมการประเมินนักเรียนเกี่ยวกับผลการเรียนรู้ด้านทักษะความเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นวิสัยทัศน์และกลยุทธ์ด้านนวัตกรรม การคิดเชิงนวัตกรรม และการยอมรับและการสนับสนุนนวัตกรรม (8 วิธีดำเนินการ)

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.