Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
การพัฒนาเครื่องมือวัดการดูแลแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์ในระบบบริการปฐมภูมิในประเทศไทย: การวิเคราะห์กลุ่มพหุ
Year (A.D.)
2022
Document Type
Thesis
First Advisor
Pagaporn Pantuwadee Pisarnturakit
Faculty/College
Faculty of Dentistry (คณะทันตแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Community Dentistry (ภาควิชาทันตกรรมชุมชน)
Degree Name
Doctor of Philosophy
Degree Level
Doctoral Degree
Degree Discipline
Dental Public Health
DOI
10.58837/CHULA.THE.2022.117
Abstract
Purposes: 1. to develop a conceptual construct of patient-centered dental care for primary care dentists in Thailand. 2. to create reliable and valid instruments to measure patient-centered care from both the patient's and dentist's perspectives. 3. to test the measurement invariance of the two scales 4. To examine the effect of personal attributes of patients and dentists on the level of patient-centered care. Materials and Methods: In Phase 1, preliminary questionnaires were developed through a comprehensive process involving a literature review, in-depth interviews, content validity tests, cognitive interviews, and pre-tests. Exploratory factor analysis (EFA) was used to identify the constructs. In phase 2, confirmatory factor analysis (CFA) was performed. The reliability of the instruments was tested. A multi-group analysis was conducted to test measurement invariance between large and small community hospitals. Additionally, multiple linear regression was performed to examine the effect of personal attributes on the level of patient-centered care. The two newly developed tool were administered to test-retest reliability with a one-week interval A multistage sampling strategy was employed to recruit dental patients and dentists from community hospitals across Thailand. Self-administered questionnaires were utilized, and the response data were divided for EFA and CFA. Results: The analysis of the interviews yielded 12 attributes. The Patient-Centered Care of Dentist Scale (PCCDS-P Version) underwent validation through EFA and CFA (χ2= 10.113, χ2/df = 1.448, df=7, p=.181, CFI=.999, TLI=.998, RMSEA=.020). The final scale consisted of 42 items across seven domains: dentist-patient relationship, disease-illness, integrated care, communication, shared information and decision-making, holistic care, and empathy and anxiety management. The findings indicated that the scale was metric measurement invariant across patient groups. The second instrument developed, the Patient-Centered Care of Dentist Scale (PCCDS-D version), also underwent validation through EFA and CFA (χ2= 10.770, χ2/df = 1.346, df=8, p=.215, CFI=.998, TLI=.996, RMSEA=.021). This scale consisted of 36 items across the same seven domains as the PCCDS-P version. The findings indicated residual invariance across dentist groups. The scales exhibited excellent reliability and stability. The analysis revealed significant effects of hospital size on PCCD-P version (β = 0.999, p < 0.015) Additionally, the number of dental visits within 24 months emerged as a significant predictor of P-PCCD (β = 1.364, p < 0.003). Dentists who rotated to primary care units 1-3 times per week exhibited a significant effect on PCCD-D version (β = 2.863, p < 0.001). Conclusions: This study provides evidence that the newly developed P-PCCDS, consisting of seven domains and 42 items, and the PCCDS, consisting of seven domains and 36 items, demonstrate excellent reliability and validity. The PCCDS-P version was metric invariance, and the PCCDS-D version was residual invariance. The study demonstrated that hospital size and the frequency of dental visits significantly affect the level of patient perception of PCCD. Additionally, the rotation of dentists to primary care units showed a significant effect on the level of PCCD. Overall, this comprehensive study contributes to the understanding and implementation of patient-centered dental care in primary care dentistry in Thailand.
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
วัตถุประสงค์: 1.เพื่อพัฒนาโครงสร้างแนวคิดการดูแลทางทันตกรรมแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางสำหรับทันตแพทย์ในระบบบริการสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทย 2.สร้างเครื่องมือที่น่าเชื่อถือและมีความตรงในการวัดทั้งในมุมมองของทันตแพทย์ และของผู้ป่วย 3.ทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของการวัดของเครื่องมือทั้งสอง 4.ทดสอบผลกระทบของคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้ป่วยและทันตแพทย์ต่อระดับการดูแลแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง วัสดุและวิธีการ: แบ่งเป็น 2 ระยะ ในระยะที่ 1 สร้างแบบสอบถามขึ้นจากการทบทวนวรรณกรรม การสัมภาษณ์เชิงลึก ตรวจสอบความตรงตามเนื้อหา การสัมภาษณ์ การทดสอบก่อนใช้ วิเคราะห์ปัจจัย (Exploratory Factor Analysis: EFA) ระยะที่ 2 วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis: CFA) การประเมินความเชื่อมั่น และการทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนของโมเดลการวัดระหว่างโรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่และขนาดเล็ก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ป่วยทางทันตกรรมและทันตแพทย์ในโรงพยาบาลชุมชนทั่วประเทศ ใช้การสุ่มตัวอย่างหลายขั้นตอน และแยกข้อมูลเป็นสองกลุ่มเพื่อวิเคราะห์ EFA และ CFA นอกจากนี้ยังทำวิเคราะห์การถดถอยเชิงเส้น เพื่อตรวจสอบผลของคุณสมบัติส่วนบุคคลของทันตแพทย์และผู้ป่วยต่อระดับการดูแลแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง และทำ Test-retest ของเครื่องมือในกลุ่มตัวอย่างทั้งสองห่างกัน 1 สัปดาห์ ผลการวิจัย: การศึกษาในระยะที่ 1 พบว่าการดูแลผู้ป่วยทันตกรรมแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง มี 12 องค์ประกอบ แบบสอบถามที่สร้างได้แก่ “แบบสอบถามการดูแลผู้ป่วยทันตกรรมแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์-ฉบับสำหรับผู้รับบริการ” วิเคราะห์ EFA พบว่ามี 42 ข้อ ใน 7 องค์ประกอบ ได้แก่ ความสัมพันธ์ระหว่างทันตแพทย์และผู้ป่วย การวินิจฉัยแยกโรคและความเจ็บป่วย การดูแลแบบผสมผสาน การสื่อสาร การให้ข้อมูลและร่วมตัดสินใจการรักษา การดูแลแบบองค์รวม และ ความเห็นอกเห็นใจและการจัดการความวิตกกังวล การวิเคราะห์ CFA พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 10.113, χ2/df = 1.448, df=7, p=.181, CFI=.999, TLI=.998, RMSEA=.020) การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนพบว่าโมเดลการวัดมีระดับความไม่แปรเปลี่ยน metric invariance พบมีความเชื่อมั่นดีมาก เครื่องมือชิ้นที่สองคือ "แบบสอบถามการดูแลผู้ป่วยแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์ ฉบับทันตแพทย์" การวิเคราะห์ EFA พบว่ามี 36 ข้อ ใน 7 องค์ประกอบ เช่นเดียวกัน เมื่อวิเคราะห์ CFA พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (χ2= 10.770, χ2/df = 1.346, df=8, p=.215, CFI=.998, TLI=.996, RMSEA=.021). การทดสอบความไม่แปรเปลี่ยนพบว่าโมเดลการวัดมีระดับความไม่แปรเปลี่ยน residual invariance พบมีความเชื่อมั่นดีมาก การวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อระดับการรับรู้การดูแลผู้ป่วยทางทันตกรรมของผู้ป่วย พบว่าขนาดโรงพยาบาลมีอิทธิพลต่อระดับการรับรู้การรับรู้ต่อการดูแลผู้ป่วยทันตกรรมแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์ (β = 0.999, p < 0.015) จำนวนครั้งที่ไปรับบริการทันตกรรมภายในระยะเวลา 24 เดือนเป็นตัวทำนายที่สำคัญของ P-PCCD (β = 1.364, p < 0.003) นอกจากนี้ทันตแพทย์ที่หมุนเวียนไปให้บริการที่หน่วยบริการปฐมภูมิ 1-3 ครั้งต่อสัปดาห์มีอิทธิพลต่อระดับของการดูแลผู้ป่วยแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์อย่างมีนัยสำคัญ (β = 2.863, p < 0.001) สรุป: การพัฒนาแนวคิดการดูแลผู้ป่วยแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์ในระบบสุขภาพปฐมภูมิของประเทศไทยพบมี 7 องค์ประกอบ โดยใน ฉบับผู้รับบริการ มี 42 ข้อ และ ฉบับทันตแพทย์ มี 36 ข้อ พบความเชื่อมั่นและความตรงในระดับดีมาก ขนาดโรงพยาบาลและจำนวนครั้งที่ไปรับบริการส่งผลต่อระดับการรับรู้ดูแลผู้ป่วยแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์ และการหมุนเวียนของทันตแพทย์ไปให้บริการในหน่วยบริการปฐมภูมิมีผลต่อระดับการให้บริการแบบยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลางของทันตแพทย์อีกด้วย
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
Khamnil, Yutthana, "Development of patient-centered care scales of dentists in primary health care of Thailand: A multigroup analysis" (2022). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5828.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5828