Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Non-enhanced magnetic resonance imaging for detection of hepatocellular carcinoma in cirrhosis patients receiving hepatocellular carcinoma surveillance

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

รุ่งฤดี ชัยธีรกิจ

Second Advisor

สมบัติ ตรีประเสริฐสุข

Third Advisor

รังสรรค์ ฤกษ์นิมิตร

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1164

Abstract

วัตถุประสงค์: เปรียบเทียบความสามารถในการตรวจจับโรคมะเร็งตับของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีเทียบกับอัลตราซาวด์ ในผู้ป่วยโรคตับแข็งที่ได้รับการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับ วิธีการศึกษา: ศึกษาข้อมูลของผู้ป่วยโรคตับแข็งในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ที่ได้รับการตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับด้วยอัลตราซาวด์แล้วพบว่ามีความผิดปกติ จำนวน 465 ราย ซึ่งได้รับการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่มีสารทึบรังสี โดยรังสีแพทย์ 2 ท่านแปลผลภาพถ่ายรังสีคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสี ซึ่งประกอบด้วย T1-weighted, T2-weighted และ diffusion-weighted imaging (DWI) วินิจฉัยโรคมะเร็งตับจากการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่มีสารทึบรังสีและหรือพยาธิวิทยาของก้อนมะเร็งตับ ศึกษาความไว ความจำเพาะ ค่าการคาดหมายที่เป็นบวกและลบ ความแม่นยำของการตรวจคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ ผลการศึกษา: ในผู้ป่วยโรคตับแข็งทั้งสิ้น 465 ราย พบก้อนมะเร็งตับจำนวน 217 ก้อน ในผู้ป่วย 138 ราย พบว่าคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีมีความไวน้อยกว่าอัลตราซาวด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยความไวต่อผู้ป่วยของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 68.8% และ 81.1%, p=0.02 ตามลำดับ และความไวต่อรอยโรคของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 49.7% และ 41.4%, p=0.1 ตามลำดับ คลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีมีความจำเพาะต่อผู้ป่วยและต่อรอยโรคมากกว่าอัลตราซาวด์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โคยความจำเพาะต่อผู้ป่วยของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 92.9% และ 62%, p<0.05 ตามลำดับ และความจำเพาะต่อรอยโรคของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีและอัลตราซาวด์ คือ 94.6% และ 75.4%, p<0.05 ตามลำดับ สรุป: คลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็กที่ไม่มีสารทึบรังสีมีความจำเพาะมากกว่าอัลตราซาวด์ ในการตรวจจับโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยโรคตับแข็ง สามารถนำมาใช้ในตรวจคัดกรองเฝ้าระวังโรคมะเร็งตับในผู้ป่วยโรคตับแข็งได้

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Objective: We aimed to compare the performance of non-enhanced magnetic resonance imaging (MRI) and ultrasonography for hepatocellular carcinoma (HCC) detection specifically in cirrhotic patients. Method: We enrolled 465 cirrhotic patients who underwent ultrasonography for HCC surveillance and gadoxetic acid enhanced MRI for evaluation abnormal findings on ultrasonography. HCC was diagnosed by radiologically using the dynamic contrast-enhanced MRI and/or histologically. Non-enhanced MRI images consisting of T1-weighted, T2-weighted and diffusion-weighted imaging (DWI) were independently interpreted by 2 radiologists. Sensitivity, specificity, positive predictive value (PPV), negative predictive value (NPV), and accuracy of non-enhanced MRI and ultrasonography were compared. Results: Of the 465 patients, 217 HCCs were diagnosed in 138 patients. Non-enhanced MRI and ultrasonography had per-patient sensitivities of 68.8% and 81.1%, p=0.02; with per-lesion sensitivities of 49.7% and 41.1%, for non-enhanced MRI and ultrasonography, p=0.1 Non-enhanced MRI had significantly higher per-patient and per-lesion specificities than ultrasonography (92.9% vs. 62% and 94.6% vs. 75.4%, p<0.001 both, respectively. Conclusion: Non-enhanced MRI has higher specificities than ultrasonography in detecting HCC in cirrhotic patients, but not higher in sensitivity. It has a potential to be used as a tool for HCC surveillance in cirrhotic patients.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.