Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

Effect of protein supplement in patients with peritoneal dialysis-related peritonitis on complicated outcome

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

เถลิงศักดิ์ กาญจนบุษย์

Second Advisor

ปิยวรรณ กิตติสกุลนาม

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1163

Abstract

ที่มาของงานวิจัย: ภาวะทุพโภชนาการเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญต่อการเสียชีวิตในผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่มีภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ ข้อมูลของการให้โปรตีนเสริมในผู้ป่วยที่มีภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องยังค่อนข้างจำกัด ระเบียบวิธีวิจัย: เป็นการศึกษาแบบการทดลองหลายแหล่งวิจัยแบบเปิดที่ศึกษาในศูนย์ล้างไตทางช่องท้องทั้งหมด 9 แห่งในประเทศไทย ที่ศึกษาผู้ป่วยล้างไตทางช่องท้องที่อายุมากกว่าหรือเท่ากับ 18 ปีที่ล้างไตทางช่องท้องและได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง ร่วมกับมีระดับแอลบูมินในกระแสเลือดต่ำกว่า 3.5 กรัม/ดล. และคัดผู้ป่วยที่ติดเชื้อจากวัณโรค เชื้อรา ติดเชื้อแบบทุติยภูมิ หรือมีภาวะติดเชื้อในกระแสโลหิตรุนแรงออกจากการศึกษา โดยทำการสุ่มผู้ป่วยในอัตรา 1:1 เพื่อเข้าสู่กลุ่มศึกษา และกลุ่มควบคุม ในกลุ่มที่ศึกษาผู้ป่วยจะได้รับโปรตีนเวย์ปริมาณ 30 กรัม/วัน เป็นระยะเวลา 30 วัน โดยที่กลุ่มควบคุมจะไม่ได้รับโปรตีนเสริม ผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่มจะได้รับคำแนะนำทางโภชนาการจากนักกำหนดอาหารตามแนวทางการดูแลผู้ป่วยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้อง โดยศึกษาผลลัพธ์ของการศึกษาหลักเป็นผลลัพธ์รวมของการเสียชีวิตจากภาวะติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องและการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องซ้ำแบบ relapsing และ repeat และผลลัพธ์ของการศึกษารองคือระดับแอลบูมินในกระแสเลือดระหว่างทั้งสองกลุ่ม ผลการศึกษา: ผู้ป่วยทั้งหมด 74 คนจากเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2564 ถึงเดือนกุมภาพันธ์ 2565 เข้าร่วมการศึกษาและได้รับการสุ่มไปยังกลุ่มศึกษา 37 คน และกลุ่มควบคุม 37 คน ลักษณะผู้ป่วยในทั้งสองกลุ่มไม่ได้มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ จากผลการศึกษาพบว่าผู้ป่วยในกลุ่มศึกษามีอัตราการเสียชีวิตหรือการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องซ้ำแบบ relapsing หรือ repeat ที่ 15 คน (ร้อยละ 41) และ 19 คน (ร้อยละ 51) (hazard ratio 0.84; ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 0.43-1.67) แต่พบว่าระดับแอลบูมินในกระแสเลือดในกลุ่มศึกษามีระดับสูงกว่ากลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญเมื่อวิเคราะห์แบบตลอดการศึกษา (P<0.001) โดยมีค่าแตกต่างที่วันที่ 120 เฉลี่ยอยู่ที่ 0.35 กรัม/ดล. (ช่วงเชื่อมั่นร้อยละ 95 0.06-0.64) อาการผิดปกติที่พบในผู้ป่วยไม่แตกต่างในทั้งสองกลุ่ม โดยส่วนมากเป็นอาการระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ ถ่ายอุจจาระเหลว อืดแน่นท้อง คลื่นไส้อาเจียน และเบื่ออาหาร สรุปผลการศึกษา: การให้โปรตีนเสริมในผู้ป่วยติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องจากการล้างไตทางช่องท้องส่งผลให้ระดับแอลบูมินในกระแสเลือดสูงขึ้นได้อย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามผลต่อการเปลี่ยนแปลงการเสียชีวิตหรือการติดเชื้อเยื่อบุช่องท้องซ้ำยังไม่พบอย่างชัดเจน จำเป็นต้องการมีการศึกษาเพิ่มเติมในผู้ป่วยที่มากกว่านี้และมีการติดตามผู้ป่วยที่ยาวนานกว่านี้เพื่อศึกษาผลที่แท้จริงต่อไป

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

BACKGROUND: Malnutrition is associated with increased mortality in peritoneal dialysis (PD) patients with peritonitis. Data on protein supplementation during peritonitis episodes are limited. METHODS: A multicenter, open-label, randomized trial across 9 PD centers was conducted. Adult PD patients above 18 years, diagnosed with peritonitis with serum albumin below 3.5 g/dL were randomly assigned in a 1:1 ratio to receive protein supplementation (intervention group) or none (control group). Exclusion criteria were tuberculous/fungal/secondary/chemical peritonitis, and septic shock. Whey protein supplementation of 30 grams/day was given to the intervention group for 30 days. Participants in both groups received nutritional counseling according to SPENT guideline. The primary outcome was a composite outcome of peritonitis-related death and relapsing/repeat peritonitis. The secondary outcome was serum albumin levels between group across 120 days. RESULTS: From June 2021 to February 2022, 74 patients were randomized to the intervention group (N=37) and control group (N=37). The median age of the participants was 63 years, 53% were male, and 50% had diabetes. Both groups had comparable demographics and baseline serum albumin (2.61±0.53 vs. 2.62±0.54 g/dL). Primary outcome events were reported in 15 (41%) and 19 (51%) participants in the intervention and control groups, respectively (hazard ratio 0.84; 95% confidence interval (CI) 0.43-1.67). Serum albumin levels were significantly higher in the intervention group throughout the study period (p<0.001), with a mean difference on the 120th day of 0.35 g/dL (95%CI 0.06-0.64). Adverse events, including diarrhea, abdominal pain, nausea/vomiting, and decrease in appetite, were comparable between the intervention group (6 cases) and the control group (8 cases). CONCLUSIONS: Serum albumin concentrations in patients with PD-associated peritonitis were higher with protein supplementation compared with nutritional counseling alone, although peritonitis-related death and relapsing/repeat peritonitis were not affected. Further studies with a longer follow-up period and a larger number of participants are warranted to verify the benefits of protein supplementation on the clinical outcomes.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.