Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Prevalence and risk factors of obstructive sleep apnea in acute ischemic stroke patients using overnight pulse oximetry.
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
อรอุมา ชุติเนตร
Second Advisor
พงศ์ภัทร์ วรสายัณห์
Third Advisor
นฤชา จิรกาลวสาน
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
อายุรศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.1159
Abstract
วัตถุประสงค์ : การศึกษานี้เป็นการนำเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วแบบต่อเนื่องโดยใช้การวิเคราะห์ ผลดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดมาเพื่อตรวจคัดกรองภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในกลุ่มผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่เข้ารับการรักษาที่หอผู้ป่วยหลอดเลือดสมองโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อที่จะทำให้สามารถวินิจฉัยได้อย่างรวดเร็ว นำข้อมูลที่ได้มาคำนวณเป็นค่าความชุกและเพื่อหาปัจจัยเกี่ยวข้องที่สัมพันธ์กับภาวะภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบ วิธีการวิจัย : ศึกษาผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันอายุมากกว่า 18 ปี ที่ได้รับการวินิจฉัยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันภายใน 72 ชั่วโมง และเข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองระหว่างวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2564 ถึง วันที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 โดยติดเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้วขณะนอนหลับ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบต่อเนื่อง ผลการศึกษา : มีผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันที่เข้าเกณฑ์การเข้าร่วมและยินยอมเข้าร่วมการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 83 คน เพศชาย 61.4% ค่ามัธยฐานอายุ 65 ปี และมัธยฐานค่าดัชนีมวลกาย 23.8 กิโลกรัมต่อตารางเมตร พบผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้น (ดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดตั้งแต่ 5 ครั้งต่อชั่วโมงขึ้นไป) 60 ราย คิดเป็น 72% และผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นระดับปานกลางขึ้นไป (ดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดตั้งแต่ 15 ครั้งต่อชั่วโมงขึ้นไป) 29 ราย คิดเป็น 35% และเมื่อจำแนกผู้ป่วยออกเป็นสองกลุ่มคือ กลุ่มผู้ป่วยที่ไม่มีภาวะหายใจอุดกั้นขณะหลับและกลุ่มที่มีภาวะหายใจอุดกั้นขณะหลับในกลุ่มอาการน้อย (ดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดน้อยกว่า 15) กับกลุ่มที่มีภาวะหายใจอุดกั้นขณะหลับในกลุ่มอาการตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป (ดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดตั้งแต่ 15 ครั้งต่อชั่วโมงขึ้นไป) พบว่า ดัชนีมวลกายที่มากขึ้น, ขนาดเส้นรอบวงคอที่มากขึ้น, คะแนนจากแบบสอบถาม STOP-Bang, ประวัติโรคไขมันในเลือดสูง และคะแนนจากแบบสอบถามเบอร์ลินหมวดหมู่ที่หนึ่งถึงสาม มีความสัมพันธ์กับภาวะหยุดหายใจอุดกั้นขณะหลับในกลุ่มอาการตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป (ดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดตั้งแต่ 15 ครั้งต่อชั่วโมงขึ้นไป) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่เมื่อวิเคราะห์ข้อมูลแบบพหุตัวแปรพบว่า มีเพียงคะแนนจากแบบสอบถามเบอร์ลินหมวดหมู่ที่สาม เท่านั้นที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล : ในกลุ่มผู้ป่วยหลอดเลือดสมองตีบเฉียบพลันในประเทศไทยพบความชุกของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นปริมาณมาก ใกล้เคียงกับประชากรที่มีการศึกษามาในต่างประเทศ และมีปัจจัยที่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในกลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะหยุดหายใจอุดกั้นขณะหลับในกลุ่มอาการตั้งแต่ปานกลางขึ้นไป (ดัชนีการพร่องของออกซิเจนในเลือดตั้งแต่ 15 ครั้งต่อชั่วโมงขึ้นไป) คือแบบสอบถามเบอร์ลินหมวดหมู่ที่สาม
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
Objective: Obstructive sleep apnea (OSA) is linked with ischemic stroke (IS) and transient ischemic attack (TIA), but it remains underdiagnosed because of the inaccessible of polysomnography. Our objectives were to determine the prevalence and to generate the predictive score for the diagnosis of moderate-to-severe OSA among patients with Ischemic Stroke and TIA. Materials and Methods: Patients who were diagnosed with IS or TIA, aged ≥ 18 years, were consecutively enrolled between April and November 2021 into this cross sectional study conducted at the Stroke Unit, the KCMH. Oxygen saturation index (ODI) was assessed using the WristOx2 3150. The Berlin’s questionnaire(BQ), STOP- Bang questionnaire(SBQ), and Epworth Sleepiness Scale (ESS) were evaluated. Patients were categorized into two groups: ODI of < 15 (no OSA or had mild OSA) and ODI ≥ 15 (moderate-to-severe OSA) Results: Among 83 patients enrolled, 51 (61.4 %) were male, median (IQR) age was 65 (25-99) years, and body mass index (BMI) was 23.8 (14.8-38.7) kg/m2, and 60 (72.2%) had OSA. Patients who had ODI ≥ 15 were significantly more likely to had higher BMI (median 22.8 vs 24.9, p= 0.08) and neck circumference (36 vs 38, p=0.08) those who had ODI ≥ 15. Conclusions: We found a high prevalence of moderate-to-severe OSA among IS and TIA patients. Patients who had ODI ≥ 15 were statistical significant more likely to had higher score of Berlin’s questionnaire(BQ) category 3.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
รุ่งเรือง, ศิริกัญญา, "ความชุกและปัจจัยเสี่ยงของภาวะหยุดหายใจขณะหลับจากการอุดกั้นในผู้ป่วยโรคสมองขาดเลือดเฉียบพลันโดยใช้เครื่องวัดระดับออกซิเจนในกระแสเลือดขณะหลับ" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5701.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5701