Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

A randomized trial comparing the duration of procedure using rigid mini-thoracoscopy and semirigid thoracoscopy in undiagnosed or malignant pleural effusion

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ธิติวัฒน์ ศรีประสาธน์

Second Advisor

วรวุฒิ ตันติทวีวัฒน์

Faculty/College

Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)

Department (if any)

Department of Medicine (ภาควิชาอายุรศาสตร์ (คณะแพทยศาสตร์))

Degree Name

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาโท

Degree Discipline

อายุรศาสตร์

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.1145

Abstract

ที่มาและวัตถุประสงค์: การส่องกล้องช่องเยื่อหุ้มปอดมีข้อบ่งชี้ในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ไม่ทราบสาเหตุ โดยในปัจจุบันมีกล้องที่ใช้ในการส่องช่องเยื่อหุ้มปอด 2 ชนิด คือ กล้องส่องช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดแข็งและกล้องส่องช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดกึ่งแข็ง โดยที่ข้อมูลจากการศึกษาก่อนหน้านี้พบว่าประสิทธิภาพในการวินิจฉัยด้วยกล้องทั้ง 2 ชนิดไม่มีความแตกต่างกัน แต่ระยะเวลาในการทำหัตถการยังมีความแตกต่างกันในแต่ละการศึกษา วิธีการวิจัย: ทำการวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มในผู้ป่วยที่มีน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดที่ไม่ทราบสาเหตุและผู้ป่วยที่สงสัยภาวะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดจากมะเร็งแพร่กระจายที่เข้ามารับการรักษาในโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวนทั้งหมด 44 ราย แบ่งผู้ป่วยออกเป็น 2 กลุ่มการศึกษา และทำการเปรียบเทียบระยะเวลาการทำหัตถการด้วยกล้องทั้ง 2 ชนิด ผลการศึกษา: จากการศึกษาในผู้ป่วยทั้งหมด 44 รายพบว่า การส่องกล้องช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยกล้องชนิดแข็งขนาดเล็กใช้ระยะเวลาในการรักษาและระยะเวลารวมในการทำหัตถการน้อยกว่าการส่องกล้องช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยกล้องชนิดกึ่งแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยที่ประสิทธิภาพในการวินิจฉัย ภาวะแทรกซ้อนจากหัตถการ ปริมาณยาชาและยาแก้ปวดที่ใช้ และคะแนนความเจ็บปวดของผู้ป่วยไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ สรุปผล: การส่องกล้องช่องเยื่อหุ้มปอดด้วยกล้องส่องช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดแข็งขนาดเล็กใช้ระยะเวลาในการรักษาและระยะเวลารวมในการทำหัตถการน้อยกว่ากล้องส่องช่องเยื่อหุ้มปอดชนิดกึ่งแข็งอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

Background: Thoracoscopy was used for the diagnosis of exudative pleural effusion. Currently, there are two types of thoracoscopes which are rigid and semirigid thoracoscopes. The previous studies showed similar diagnostic yields between the two types of thoracoscopes. However, the duration of the procedure was different and varied between studies. Method: Randomized trial was conducted to compare the duration of thoracoscopy using rigid-mini and semirigid thoracoscope. The undiagnosed exudative or malignant pleural effusion patients were enrolled and randomized. Then, duration of the procedure was compared. Results: A total of 44 patients were enrolled in the study. The rigid-mini thoracoscope provided a shorter therapeutic time and total procedure time while the diagnostic yield was not different. The dose of analgesic and sedative medication, patient’s pain score, the outcome of pleurodesis, and complications were similar between the two groups. Conclusion: The rigid-mini thoracoscope provided a shorter therapeutic time and total procedure time without significant differences in dose of analgesic and sedative medication, patient’s pain score, complications, and diagnostic yield.

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.