Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Resilience and mental health of pre-cadet in armed forces academies prearatory school
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
รัศมน กัลยาศิริ
Faculty/College
Faculty of Medicine (คณะแพทยศาสตร์)
Department (if any)
Department of Psychiatry (ภาควิชาจิตเวชศาสตร์)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
สุขภาพจิต
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.1088
Abstract
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทางอารมณ์และสุขภาพจิต ของนักเรียนเตรียมทหารกลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนเตรียมทหารชั้นปีที่ 1 และ 2 ที่กำลังศึกษาอยู่ในปีการศึกษา 2563ในโรงเรียนเตรียมทหาร สถาบันวิชาการป้องกันประเทศ จำนวน 528 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล แบบวัดความยืดหยุ่นทางอารมณ์และแบบวัดดัชนีชี้วัดความสุขของคนไทยฉบับสั้น ผลการศึกษาพบว่า นักเรียนเตรียมทหาร มีสุขภาพจิตสูงกว่าปกติ ร้อยละ 66.7 มีสุขภาพจิตปกติ ร้อยละ 28.0 และมีสุขภาพจิตต่ำกว่าปกติ ร้อยละ 5.3 มีความยืดหยุ่นทางอารมณ์สูงกว่าปกติ ร้อยละ 43.4 มีคะแนนความยืดหยุ่นทางอารมณ์เท่ากับปกติ ร้อยละ 49.8 และมีความยืดหยุ่นทางอารมณ์ต่ำกว่าปกติ คิดเป็นร้อยละ 6.8 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับกับระดับสุขภาพจิตพบว่า จำนวนสมาชิกในครอบครัว เกรดเฉลี่ยสะสมปัจจุบัน รายวิชาที่ชอบ และ จำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหามีความสัมพันธ์กับระดับสุขภาพจิตอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยจำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหาและรายวิชาที่ชอบ สามารถทำนายระดับสุขภาพจิตได้ โดยสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ ระดับสุขภาพจิต =.540 + .708FriendGroup(2)+ .716Subjectgroup(3) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความยืดหยุ่นทางอารมณ์พบว่า การดำรงตำแหน่งบังคับบัญชา จำนวนสมาชิกในครอบครัว จำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหา และ การมีคณะหรือสาขาที่อยากเรียนในโรงเหล่าทัพ มีความสัมพันธ์กับระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 โดยจำนวนเพื่อนสนิทที่สามารถปรึกษาได้เมื่อมีปัญหาและการมีคณะหรือสาขาที่อยากเรียนในโรงเรียนเหล่าทัพสามารถทำนายระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์โดยสามารถเขียนสมการทำนายได้ดังนี้ ระดับความยืดหยุ่นทางอารมณ์ =1.190 + .967 FriendGroup(2) + .428Faculty(1) ผลการศึกษาวิจัยแสดงให้เห็นว่าสุขภาพจิตและและความยืดหยุ่นทางอารมณ์ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับความยืดหยุ่นทางอารมณ์อยู่ที่ .736อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า สุขภาพจิตมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับด้านความมั่นคงทางอารมณ์อยู่ที่ .683อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับด้านกำลังใจอยู่ที่ .635อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 และมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับสูงกับด้านการจัดการกับปัญหาอยู่ที่ .636อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 ผลการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่าจำนวนเพื่อนสนิทมีความสำคัญต่อความยืดหยุ่นทางอารมณ์และสุขภาพจิตของนักเรียนเตรียมทหาร ซึ่งเป็นประโยชน์ในการใช้เป็นแนวทางในการฝึกศึกษาของนักเรียนเตรียมทหาร เช่น การพัฒนามนุษยสัมพันธ์และการส่งเสริมการให้คำปรึกษาแก่เพื่อนนักเรียนเตรียมทหารเป็นต้น
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The current study was cross-sectional descriptive research. The sample was 528 pre-cadet students in Armed Forces Academies Preparatory School. The instruments were a set of questionnaires that consisted of 3 parts (1) demographic questions, (2) resilience quotient questionnaires, and (3) Thai Mental Health Indicator (TMHI-15). The result was shown that most pre-cadet students had higher mental health than normal (66.7%) and normal level of resilience (49.8%). The significantly associated factors with mental health level were family members, current Grade Point Average (GPA), the favorable subject, and the number of close friends who can advise in case of having trouble. After using Binary Logistic Regression found that the favorite subject and the number of close friends who can advise in case of having trouble can predict mental health levels. The significantly associated factors with resilience level were having the position of command, family members, the number of close friends who can advise in case of having trouble and having a goal of field or program to study in academic. The last two factors can predict resilience levels. The study was shown a significant positive correlation between Mental health and Resilience (r=.736). As for the resilience subscale, Mental health had a positive high correlation with emotional stability (r =.683), will power (r=.635), and coping skill (r=.636) The number of close friends or peers who can advise in case of having trouble played an important role to predict both mental health and resilience level among pre-cadet students. Thus, the finding from current research can be useful in Armed Forces Academies Preparatory School for training or teaching the value of counseling to the students wherewith they feel safer when talking to their close friends.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
ทิพโสต, รชฏ, "ความยืดหยุ่นทางอารมณ์และสุขภาพจิตของนักเรียนเตรียมทหาร" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5630.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5630