Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Particle swarm optimization approach for minimum connection placement in prefabricated modular housing design
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
เสวกชัย ตั้งอร่ามวงศ์
Faculty/College
Faculty of Engineering (คณะวิศวกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Civil Engineering (ภาควิชาวิศวกรรมโยธา)
Degree Name
วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิศวกรรมโยธา
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.919
Abstract
ที่อยู่อาศัยโมดูลาร์สำเร็จรูปได้รับความนิยมมากขึ้นในหลายประเทศด้วยการก่อสร้างที่รวดเร็วและประหยัดพื้นที่ที่ใช้สำหรับเตรียมการก่อสร้าง เทคโนโลยีการก่อสร้างสำเร็จรูปนี้มีข้อได้เปรียบในด้านความสามารถในการจัดเก็บและสามารถขนส่งไปยังสถานที่ต่างๆ ได้ง่าย ด้วยความหลากหลายของโครงสร้างโครงข้อแข็งทั่วไป ที่อยู่อาศัยโมดูลาร์สำเร็จรูปจะประกอบด้วยชุดแผงเหล็กสำเร็จรูปน้ำหนักเบาที่มีการออกแบบการเชื่อมต่ออย่างแม่นยำ (น็อตและสลักเกลียว และ/หรือ การเชื่อม) ต้นทุนการก่อสร้างและระยะเวลาที่ใช้ในการประกอบติดตั้งมีความสัมพันธ์กับจำนวนของการเชื่อมต่อที่มีการออกแบบไว้ ในงานวิจัยนี้นำเสนอระเบียบวิธีการเรียนรู้กลุ่มอนุภาคอย่างครอบคลุม (Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization: CLPSO) ในการหาตำแหน่งข้อต่อที่น้อยที่สุดที่จำเป็นต่อการประกอบที่อยู่อาศัยโมดูลาร์แบบกึ่งแยกส่วนภายใต้แรงกระทำที่กำหนดและข้อกำหนดตามมาตรฐานการออกแบบ AISC-LRFD การเชื่อมต่อต่างๆ ใช้การผสมผสานรูปแบบการเชื่อมต่อที่ถูกออกแบบไว้ห้ารูปแบบโดยกำหนดตำแหน่งที่เป็นไปได้ไว้ล่วงหน้า พฤติกรรมของโครงสร้างจะถูกอธิบายด้วยเงื่อนไขความสอดคล้องของระยะกระจัดที่เปลี่ยนไปของแต่ละองศาเสรี (ในระบบสามมิติ) ที่เชื่อมระหว่างจุดที่เชื่อมต่อแต่ละแผงเหล็ก ระเบียบวิธี CLPSO จะกำหนดตัวแปรเงื่อนไขของการเชื่อมต่อที่จุดต่างๆ ทั้งหมด และทำการหาคำตอบการวางตำแหน่งของการเชื่อมต่อในตำแหน่งต่างๆ ที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่ต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำที่สุด การประยุกต์ใช้ CLPSO ดังกล่าวจะนำเสนอผ่านแบบบ้านพักอาศัยของการเคหะแห่งชาติ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The modular housing has increasingly gained the popularity among communities in views of its fast construction and minimum site preparation. The prefabrication technology makes it possible for the easy storage and mass logistics to construction sites. At variance with typical frames, the modular house composes a series of prefabricated lightweight steel panels that are assembled through the precisely designed connections (nuts and bolts and/or welding). The total cost and assembly time are proportional to the number of connections predefined. This paper, therefore, proposes a so-called Comprehensive Learning Particle Swarm Optimization (CLPSO) method to determine the minimum placement of connections necessarily required for the assembly of semi-detached modular houses under applied external forces. The limit state design criteria comply with AISC-LRFD specifications. The connections adopt the combination of five specially designed nuts-and-bolts patterns, where their possible locations are predefined. Their behaviors are described by the compatibility conditions of displacements at some specific degrees of freedom (in 3D space) associated with interface nodes of steel panels. The proposed CLPSO approach assigns the binary variables to all connection locations and efficiently determines their optimal placement leading to the minimum construction cost. The applications of the proposed CLPSO method are illustrated through the realistic design of public residential houses managed by National Housing Authority of Thailand.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุวรรณศรี, ธมลวรรณ, "ระเบียบวิธีการเรียนรู้กลุ่มอนุภาคสำหรับการกำหนดตำแหน่งข้อต่อที่น้อยที่สุด
ในการออกแบบบ้านโมดูลาร์สำเร็จรูป" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5461.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5461