Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Primary productivity in river mouths and the inner gulf of Thailand in relation to nutrient variability
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
สุธาพร บุญญเจตน์พงษ์
Second Advisor
เพ็ญใจ สมพงษ์ชัยกุล
Faculty/College
Faculty of Science (คณะวิทยาศาสตร์)
Department (if any)
Department of Marine Science (ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทางทะเล)
Degree Name
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
วิทยาศาสตร์ทางทะเล
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.860
Abstract
บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นเอสทูรีขนาดใหญ่ ซึ่งรับน้ำจืดมาจากแม่น้ำ 4 สายหลัก คือ แม่น้ำแม่กลอง แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำเจ้าพระยา และแม่น้ำบางปะกง จึงทำให้บริเวณอ่าวไทยตอนในเป็นถิ่นที่อยู่อาศัย แหล่งอาหาร และที่หลบภัย ของสัตว์ทะเล ซึ่งมีคุณค่าทางเศรษฐกิจ ทำให้ผู้วิจัยมีความสนใจในการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณดังกล่าว ด้วยวิธีคาร์บอน-13 ของขวดมืดและขวดสว่าง พบว่า ปริมาณกำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชบริเวณปากแม่น้ำ ในฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (30 พฤษภาคม-14 มิถุนายน พ.ศ. 2562) และฤดูมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ (25 ตุลาคม-19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562) มีค่าอยู่ในช่วง 0.05-11.37 และ 0.02-3.07 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง และบริเวณอ่าวไทยตอนใน ฤดูมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ (9-12 ตุลาคม พ.ศ. 2562) และช่วงเปลี่ยนฤดูมรสุม (8-12 มีนาคม พ.ศ.2563) มีค่าอยู่ในช่วง 0.15-5.15 และ 0.30-10.09 มิลลิกรัมคาร์บอนต่อลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมง ตามลำดับ เนื่องจากผู้วิจัยมีความสนใจที่จะศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด จึงได้ทำการศึกษากำลังการผลิตขั้นต้นของแพลงก์ตอนพืชต่างขนาด 2 ชนิด ในห้องปฏิบัติการ คือ ไมโครแพลงก์ตอนพืช Chattonella sp. และนาโนแพลงก์ตอนพืช Isochrysis sp. ด้วยวิธีวัดปริมาณออกซิเจนละลายของขวดมืดและขวดสว่าง โดยเพาะเลี้ยงแพลงก์ตอนพืชทั้งสองชนิด ในสภาวะเลี้ยงเดี่ยว ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% และสภาวะเลี้ยงรวม ด้วยอาหารสูตร T1 ที่ความเข้มข้น 100% 50% และ 1% พบว่า (1) ความเข้มข้นของสารอาหาร ส่งผลต่อจำนวนเซลล์ ขนาดเซลล์ กำลังการผลิตขั้นต้น ปริมาณคลอโรฟิลล์เอ และช่วงชีวิต (2) นาโนแพลงก์ตอนพืชในสภาวะเลี้ยงรวม มีกำลังการผลิตขั้นต้นสูงกว่าในสภาวะเลี้ยงเดี่ยวมาก เนื่องจากมีการปรับลดจำนวนเซลล์และขนาดเซลล์ แต่เพิ่มปริมาณคลอโรฟิลล์เอ นอกจากนี้ นาโนแพลงก์ตอนพืชยังมีการปรับระยะเวลาที่ค่าประสิทธิภาพกำลังการผลิตขั้นต้นต่อหน่วยคลอโรฟิลล์เอ (PP/Chl a) สูง ให้ยาวขึ้น และปรับปริมาณคลอโรฟิลล์เอต่อเซลล์ (Chl a /cell) ให้สูงขึ้น ส่งผลให้นาโนแพลงก์ตอนพืชสามารถปรับตัวให้ดำรงชีวิตอยู่ได้ ทั้งในบริเวณที่สารอาหารมีปริมาณสูง (100% และ 50% T1) และต่ำ (1% T1) และ (3) ในขณะที่ไมโครแพลงก์ตอนพืชสามารถดำรงชีวิตได้ดีในบริเวณที่สารอาหารมีปริมาณสูง (100% และ 50% T1) แต่ต้องปรับตัวอย่างมาก เมื่อสารอาหารมีปริมาณต่ำ (1% T1) โดยปรับปริมาณ Chl a /cell ให้สูงขึ้นตลอดช่วงเวลาการดำรงชีวิต เพราะค่า PP/Chl a อยู่ในระดับต่ำกว่านาโนแพลงก์ตอนพืชมาก จึงส่งผลต่อการดำรงชีวิต และกำลังการผลิตขั้นต้นที่ต่ำ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The Inner Gulf of Thailand is a large estuary which received fresh water from 4 rivers mouths, Mae Klong river, Tha Chin river, Chao Phraya river and Bang Pakong river. Therefore, the Inner Gulf of Thailand is an important habitat, food source and refuge for marine organisms which were of economic value. This research aims to study primary productivity of four river mouths and the Inner Gulf of Thailand in relation to nutrient variability by C-13 light-dark bottle method. The primary productivity of four river mouths were conducted during May-June 2019 (southwest monsoon) and October-November 2019 (northeast monsoon). The values were in the range of 0.05-11.37 mg C m-3 h-1 and 0.02-3.07 mg C m-3 h-1, respectively. The primary productivity of the inner of Thailand were conducted during October 2019 (changing-monsoon season) and March 2020 (summer season). The values were in the range of 0.15-5.15 mg C m-3 h-1 and 0.30-10.09 mg C m-3 h-1. Moreover, the primary productivity of size-fractionated was of our interest. Therefore, the primary productivity of two phytoplankton cell sizes with the O2 light-dark bottle method was studied in laboratory. The phytoplankton Chattonella sp. and Isochrysis sp., represented as microphytoplankton and nanophytoplankton respectively, were chosen in this study. The experiment was divided into two parts; pure and mixed phytoplankton cultures were grown in the 100% T1 medium and the 100%, 50% and 1% T1 medium, respectively. The results showed that cell number, cell size, primary productivity, chlorophyll a content and lifetime were direct variation to nutrient concentration. Comparing mixed cultures to pure culture, at 100% T1 the primary productivity of nanophytoplankton was dramatically increased since the nanophytoplankton had decreased cell number and cell size but increased chlorophyll a content. Furthermore, the nanophytoplankton adapted themselves by extending the period of high PP/Chl a value from one day (day 3; pure culture) to the first five days (day 1-5; mixed culture) and increasing the Chl a/cell value in two periods, the first three day and the day that gave high cell density. Therefore, the nanophytoplankton were able to live in both area of high and low nutrient while the microphytoplankton lived well in the high-nutrient area (100% และ 50% T1) and had difficulty to live in the low-nutrient area (1% T1). At the low-nutrient condition (1% T1), the microphytoplankton adapted themselves by increasing the Chl a/cell value throughout their lifetime because their PP/Chl a value was low, comparing to it of nanophytoplankton, as a result of low primary productivity.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
สุชาติพงษ์, เจริญลักษณ์, "การศึกษาความสัมพันธ์ของกำลังการผลิตขั้นต้นและความผันแปรของสารอาหารบริเวณปากแม่น้ำและอ่าวไทยตอนใน" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5402.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5402