Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Songkran-Wan Lai festival in the eastern region of Thailand: dynamics and role of folklore in contemporary Thai society
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ปรมินท์ จารุวร
Faculty/College
Faculty of Arts (คณะอักษรศาสตร์)
Department (if any)
Department of Thai (ภาควิชาภาษาไทย)
Degree Name
อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาเอก
Degree Discipline
ภาษาไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.782
Abstract
วิทยานิพนธ์เล่มนี้มุ่งศึกษาเทศกาลสงกรานต์-วันไหลในฐานะ “คติชนสร้างสรรค์” ที่มีการนำคติชนท้องถิ่นภาคตะวันออกมาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างเทศกาลท่องเที่ยวในช่วงวันสงกรานต์ พร้อมทั้งวิเคราะห์พลวัตและบทบาทของคติชนที่นำมาใช้ในเทศกาลดังกล่าว ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนาม ระหว่างปี พ.ศ.2561-2564 ในพื้นที่ที่ปรากฏการนำคติชนมาจัดเป็นการท่องเที่ยว ได้แก่ จังหวัดชลบุรี จังหวัดจันทบุรี จังหวัดระยอง และจังหวัดสระแก้ว ผลการศึกษาพบว่า เทศกาลสงกรานต์-วันไหลเกิดจากการผนวกรวมประเพณีวันไหลเข้ากับประเพณีสงกรานต์เพื่อให้เกิดเทศกาลท่องเที่ยวตามนโยบายของภาครัฐ เทศกาลนี้มีจุดศูนย์กลางเกิดขึ้นที่งานประเพณีก่อพระทรายวันไหลบางแสน ตำบลแสนสุข อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี เมื่อปี พ.ศ.2540 จากนั้นจึงมีการประชาสัมพันธ์งานในท้องถิ่นใกล้เคียงในเวลาต่อมา จนเกิดการรับรู้เรื่องประเพณีวันไหลที่เป็นการทำบุญเนื่องในวันขึ้นปีใหม่หลังวันสงกรานต์ของชุมชนชายทะเลภาคตะวันออก ปัจจุบัน หน่วยงานภาครัฐในภาคตะวันออกมีบทบาทสำคัญในการสร้างเทศกาลสงกรานต์-วันไหล วิธีคิดสำคัญที่ใช้ประกอบสร้างเทศกาลมี 3 ประการ ได้แก่ การนำประเพณีพิธีกรรมและการละเล่นในท้องถิ่นที่มีอยู่เดิมมาสืบทอด การรื้อฟื้นประเพณีพิธีกรรมและการละเล่นที่สูญหายไปแล้วขึ้นมาจัดใหม่ จากนั้นประยุกต์และสร้างสรรค์ให้มีการแสดงแสง สี เสียงจากตำนานท้องถิ่น การสร้างขบวนแห่สงกรานต์ การประกอบพิธีบวงสรวง การประกวดแข่งขัน การสาธิตการละเล่น การจำลองความเชื่อเรื่องเทวดาและผีเป็นการแสดงเหตุการณ์สมมติ จนกลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยว นอกจากนี้ มีวิธีคิดในการผนวกพิธีกรรมในเดือน 5 ซึ่งแต่เดิมจัดขึ้นหลังสงกรานต์มาจัดรวมกับสงกรานต์เป็นงานเดียวทำให้เกิดตารางท่องเที่ยวหลังสงกรานต์ มีวิธีคิดในการจัดสรรประเพณีให้แต่ละท้องถิ่นนำไปจัดงานเพื่อสร้างอัตลักษณ์การท่องเที่ยว รวมถึงผนวกรวมประเพณีพิธีกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกมาจัดเป็นตารางการท่องเที่ยวโดยนำรูปแบบและวิธีการลำดับวันจัดงานให้ต่อเนื่องกันของวันไหลมาประยุกต์เพื่อกระจายรายได้ให้แก่ท้องถิ่นต่าง ๆ การนำพิธีกรรมในช่วงสงกรานต์และหลังสงกรานต์มาปรับใช้ในบริบทการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ส่งผลให้พิธีกรรมที่เดิมจัดขึ้นเพื่อความเป็นสิริมงคลและปัดเป่าเคราะห์ในช่วงเวลาเปลี่ยนผ่าน รวมถึงมุ่งหวังความอุดมสมบูรณ์ในวิถีเกษตรกรรมมีพลวัตไปเป็นพิธีกรรมกับการแสดงที่เน้นสีสัน ความสวยงามและความบันเทิง ปัจจุบัน เทศกาลสงกรานต์-วันไหลมีบทบาทสำคัญด้านการท่องเที่ยวเพราะทำให้เทศกาลสงกรานต์ในภาคตะวันออกมีจุดขายที่แตกต่างจากภูมิภาคอื่น โดยเฉพาะการเล่นน้ำวันไหล นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการแสดงอัตลักษณ์ของชุมชนภาคตะวันออก มีส่วนสร้างสำนึกความภูมิใจต่อท้องถิ่น และยังเป็นเวทีที่เปิดโอกาสให้นำคติชนมาแสดงจึงมีบทบาทในการรักษาคติชนประจำถิ่นและถ่ายทอดคติชนสู่คนรุ่นต่อไปด้วย
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The objectives of this thesis were to study Songkran-Wan Lai Festival as a “creative folklore” by applying eastern folklore to create a tourism festival during Songkran Festival and to conduct an analysis of the dynamics and roles of folklore used in such festival. The researcher collected field data during the years 2018-2021 in the areas where folklore was organized as tourism, namely Chonburi Province, Chanthaburi Province, Rayong Province and Sa Kaeo Province. The results of the study revealed that the Songkran-Wan Lai festival was a result of the integration of Wan Lai tradition with Songkran tradition to create a tourism festival according to the government's policy. This festival was centered on the Ko Phra Sai Wan Lai Festival in Bang Saen, Saensuk Sub-district, Mueang District, Chonburi Province, in 1997. The event was then publicized in nearby localities until the event was realized about the Wan Lai tradition, which is a merit-making ceremony on the New Year's Day after Songkran by the eastern seaside communities. Currently, government agencies in the eastern region play an important role in creating the Songkran-Wan Lai Festival. There were three key thinking methods used in the creation of the festival, namely bringing the existing local traditions, rituals and games to inherit, reviving the lost traditions, rituals and games and then applying and creating light-color-sound show from local legends, Songkran parade creation, sacrifice ceremony, competition contest, demonstration, simulation of belief in angels and ghosts to show fictitious events to become a tourism festival. In addition, there was a way of thinking about combining the rituals in the 5th month, which were originally held after Songkran, to be combined with Songkran as a single event, creating a travel schedule after Songkran. There was a way of thinking about allocating traditions for each locality to organize events to create a tourism identity including the integration of various traditions and rituals in the eastern region to organize a tourism schedule by applying the format and method of sequencing the days of the event to be consecutively applied in order to distribute income to various localities. The adoption of the rituals during Songkran and after Songkran in the context of tourism and the creative economy has resulted in the rituals that were originally held for prosperity and ward off bad luck during the transitional period, including hoping for abundance of agriculture to have the dynamics of ritualistic with performances highlighting color, beauty and entertainment. At present, the Songkran Festival - Wan Lai plays an important role in tourism because it makes the Songkran Festival in the East have a different selling point from other regions, especially playing Wan Lai water. In addition, it also plays a role in showing the identity of the eastern community, building a sense of pride in the locality, and also being an opportunity to showcase folklore, thus preserving local folklore and passing it on to the next generation.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
นิสัยสัตย์, ชลธิชา, "เทศกาลสงกรานต์-วันไหลในภาคตะวันออกของไทย: พลวัตและบทบาทของคติชนในบริบทสังคมไทยร่วมสมัย" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5324.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5324