Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)

Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)

The transmission of E-sarn mural painting's value

Year (A.D.)

2021

Document Type

Thesis

First Advisor

ดวงกมล บางชวด

Second Advisor

ชวลิต อธิปัตยกุล

Faculty/College

Faculty of Education (คณะครุศาสตร์)

Department (if any)

Department of Educational Policy, Management, and Leadership (ภาควิชานโยบาย การจัดการและความเป็นผู้นำทางการศึกษา)

Degree Name

ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Degree Level

ปริญญาเอก

Degree Discipline

พัฒนศึกษา

DOI

10.58837/CHULA.THE.2021.772

Abstract

วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์องค์ประกอบของงานฮูบแต้มอีสาน 2) วิเคราะห์ คุณค่าตามมุมมองทางมนุษยศาสตร์ผ่านงานฮูบแต้มอีสาน และ 3) นำเสนอแนวทางการสืบทอดคุณค่าของงาน ฮูบแต้มอีสาน โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก และการ สนทนากลุ่ม ใน 3 พื้นที่ คือ 1) วัดโพธิ์ชัย บ้านนาพึง อำเภอนาแห้ว จังหวัดเลย 2) วัดสระบัวแก้ว บ้านวังคูณ อำเภอหนองสองห้อง จังหวัดขอนแก่นและ 3) วัดท่าเรียบ อำเภอนาโพธิ์ จังหวัดบุรีรัมย์ ผลการศึกษาพบว่า 1) องค์ประกอบของงานฮูบแต้มอีสาน ประกอบไปด้วย บริบท ภูมิปัญญา ความเชื่อ ค่านิยม พื้นที่ที่ใช้ ในการศึกษาทั้ง 3 แห่ง ตั้งอยู่ในศูนย์กลางของชุมชน สร้างขึ้นในเวลาไล่เลี่ยกัน ระหว่างปี พ.ศ.2450-2466 สภาพ ฮูบแต้มในปัจจุบันได้รับผลกระทบเชิงลบจากสภาพอากาศ แมลง โครงสร้างสิมที่ทรุดโทรมและการใช้พื้นที่ของ คนในชุมชน ภูมิปัญญาที่พบคือ ภูมิปัญญาในการผลิตสีและวัสดุอุปกรณ์ท้องถิ่น และกรรมวิธีการเขียนและจัด วางภาพของช้างแต้ม ความเชื่อที่สะท้อนผ่านฮูบแต้มเรื่องศาสนานำไปสู่ค่านิยมที่แสดงให้เห็นว่าวัดยังคงเป็น ศูนย์กลางของชุมชน 2) คุณค่าด้านสุนทรียศาสตร์และด้านจริยศาสตร์ที่สะท้อนผ่านฮูบแต้มอีสาน ส่งผลให้ผู้ชมผลงานเกิด ความซาบซึ้งในวัฒนธรรมอีสาน ขัดเกลาให้ตระหนักในการทำความดี อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมสำนึกร่วมด้านความ เป็นอีสาน ซึ่งเป็นสิ่งชี้นำต่อพฤติกรรมการอนุรักษ์และการสืบทอดคุณค่าฮูบแต้มอีสาน 3) แนวทางการสืบทอดคุณค่าฮูบแต้มอีสาน ดำเนินการได้ใน 2 แนวทาง คือ 1) ผ่านระบบการศึกษา กล่าวคือ การศึกษาในระบบ ด้วยการแทรกเนื้อหาหรือกิจกรรมเข้าไปในหลักสูตรและกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการศึกษาตามอัธยาศัยผ่านสื่อสาธารณะ 2) ผ่านวิถีชุมชน อันได้แก่ พิธีกรรมทางศาสนา ซึ่งเกิดขึ้นระหว่าง การเข้าร่วมพิธีหรือกิจกรรมตามเทศกาลและตามอัธยาศัย ภูมิปัญญาชุมชน เป็นไปในลักษณะของการใช้ฮูบแต้ม เป็นแรงบันดาลใจในการสร้างผลิตภัณฑ์ชุมชน วรรณกรรมมุขปาฐะผ่านพิธีกรรมทางศาสนา การบอกเล่าภายใน ครอบครัวและตามอัธยาศัย และวิถีชุมชนที่ทำให้เกิดวิถีท่องเที่ยว ในลักษณะการสร้างเส้นทางการท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรม อย่างไรก็ตามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและการขับเคลื่อนกิจกรรมหรือโครงการของหน่วยงานที่ เกี่ยวข้องที่เป็นรูปธรรมและต่อเนื่องเป็นปัจจัยส่งเสริมที่ทำให้เกิดการสืบทอดคุณค่าฮูบแต้มอีสาน

Other Abstract (Other language abstract of ETD)

The objectives of this thesis were to 1) analyze the components of E-sarn mural painting 2) analyze the values from a humanities perspective through E-sarn mural painting, and 3) present a guideline for the transmission of the E-sarn mural painting by using a qualitative research methodology data were collected by observation, deep interview and Focus Group Discussion discussion in 3 areas, namely 1) Wat Pho Chai, Ban Na Phueng, Na Haeo District, Loei Province 2) Wat Sra Bua Kaeo, Ban Wang Koon, Nong Song Hong District, Khon Kaen Province 3) Wat Thareap, Naa Pho District, Buriram Province. The results of the study found that 1 ) The components of E-sarn mural painting consisted of context, wisdom, beliefs, and values. The three areas used in the study were in the center of the community which were built around the same time between the years 1907- 1923. The current state of E-sarn mural painting (Hoop Team) is negatively impacted by weather, insects, deteriorated chapel (Sim) structures, and the use of the area by people in the community. The wisdom found is Wisdom in producing local paints, materials, the process of painting, and arranging the elements in the image of the mural painter (Chang Tam). Beliefs reflected in E-sarn mural painting (Hoop Tam) on religion lead to values that show that temples remain the center of the community. 2) Aesthetic and ethical values reflected through the E-sarn mural painting, as a result, can make the audiences appreciate the E-sarn culture and polish them to be aware of doing good as well as help to promote the common sense of E-sarness which is a guide to conservation behavior and inheritance of the E-sarn mural painting value. The aesthetic and ethical values that have been reflected through E-sarn mural painting can make the audience to appreciate E-sarn tradition, refine them to aware of doing good and promote the mutual advocacy of E-sarness which are the behavioral indicators of conservation and transmission of E-sarn mural painting. 3) The Guidelines for the transmission of E-Sarn Mural Painting’s Values are 1) through the education system, that is, formal education to blend in a contents or activities into the curriculum and extra-curricular activities and informal education through public media 2) through the community way such as religious ceremonies which occurs during people participation in ceremonies or festivals/leisure activities, the community wisdom in the way of using E-sarn mural painting as inspiration to create community products, oral literature through religious ceremonies, family and personal storytelling and the way of the community that causes the way of cultural tourism. However, inter-agency cooperation as well as the concrete and continuous driving of activities or projects of relevant agencies are the supporting factors that contribute to the transmission of E-sarn mural painting values.

Included in

Education Commons

Share

COinS
 
 

To view the content in your browser, please download Adobe Reader or, alternately,
you may Download the file to your hard drive.

NOTE: The latest versions of Adobe Reader do not support viewing PDF files within Firefox on Mac OS and if you are using a modern (Intel) Mac, there is no official plugin for viewing PDF files within the browser window.