Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Marketing communication exposure, attitude towards online shopping application and consumer’s buying decision of non-pharmaceutical products
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
พนม คลี่ฉายา
Faculty/College
Faculty of Communication Arts (คณะนิเทศศาสตร์)
Degree Name
นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
นิเทศศาสตร์
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.671
Abstract
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ของผู้บริโภค การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยได้ดำเนินการศึกษาแบบวิจัยเชิงสำรวจ เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามออนไลน์เป็นเครื่องมือในการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริโภคที่มีอายุ 18 ปี ขึ้นไป และเคยใช้งานแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา จำนวน 400 คน ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างเปิดรับการสื่อสารการตลาดเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ โดยรวมทุกด้าน อยู่ในระดับปานกลาง มีทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับเชิงบวก และมีการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ โดยรวมอยู่ในระดับสูง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า การเปิดรับการสื่อสารการตลาดเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์โดยรวม มีความสัมพันธ์กับทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก และอยู่ในระดับต่ำ ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาผ่านแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์โดยรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีความสัมพันธ์กันในทางบวก และอยู่ในระดับต่ำ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
The purpose of this research were to explore and explain the relationship between marketing communication exposure, Attitude towards online shopping application and consumer’s buying decision of non-pharmaceutical products via online shopping application. This research was a quantitative research. The researcher conducted a survey research study, collected data using online questionnaires as a research tool. A sample was selected from 400 consumers older than 18 years who have used online shopping applications in the past one year. The findings indicated that the representative sample exposed to non-pharmaceutical products marketing communication via online shopping application in overall aspects was moderate level. The overall attitude towards online shopping application was positive level and the overall buying decision of non-pharmaceutical products via online shopping application was high level. The results of hypothesis testing found that non-pharmaceutical products marketing communication exposure via online shopping application was significantly correlated with attitude towards online shopping application at the level .01 with a positive and low correlation. Attitude towards online shopping application was significantly correlated with buying decision of non-pharmaceutical products via online shopping application at the level .01 with a positive and low correlation.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เสกสรรค์วิริยะ, ปณิธิ, "การเปิดรับการสื่อสารการตลาด ทัศนคติต่อแอปพลิเคชันชอปปิงออนไลน์ และการตัดสินใจซื้อเวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของผู้บริโภค" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5213.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5213