Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD)
Other Title (Parallel Title in Other Language of ETD)
Vocal techniques for Phleng Hoon Krabok of the Phra Apimanee story by Khru Kanjanapakorn Sadanghan
Year (A.D.)
2021
Document Type
Thesis
First Advisor
ขำคม พรประสิทธิ์
Faculty/College
Faculty of Fine and Applied Arts (คณะศิลปกรรมศาสตร์)
Department (if any)
Department of Music (ภาควิชาดุริยางคศิลป์)
Degree Name
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level
ปริญญาโท
Degree Discipline
ดุริยางค์ไทย
DOI
10.58837/CHULA.THE.2021.617
Abstract
วิทยานิพนธ์นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามูลบทที่เกี่ยวข้องกับการแสดงหุ่นกระบอกและศึกษากลวิธีการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผลการศึกษาพบว่า พุทธศักราช 2436 หม่อมราชวงศ์เถาะ พยัคฆเสนาได้นำรูปแบบหุ่นครูเหน่งมาสร้างและตั้งเป็นคณะหุ่นคุณเถาะที่กรุงเทพมหานครและได้เกิดคณะหุ่นขึ้นอีกหลายคณะ อาทิ คณะหุ่นนายเปียก คณะหุ่นนายวิง เป็นต้น การแสดงหุ่นกระบอกนิยมแสดงโดยใช้วรรณคดีเรื่องพระอภัยมณี บรรจุด้วยเพลงหน้าพาทย์ เพลงเกร็ด และเพลงหุ่นกระบอก บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์เครื่องห้าหรือเครื่องคู่มีซออู้ทำหน้าที่สีเพลงหุ่นกระบอก การขับร้องสำหรับการแสดงหุ่นกระบอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ ขับร้องเพลงเกร็ดสองชั้น ชั้นเดียว และขับร้องเพลงหุ่นกระบอก ซึ่งลักษณะการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเป็นการร้องเคล้าไปกับทำนองซอโดยมีระดับเสียงทางกลางแหบ (มฟซXทดX) เป็นระดับเสียงหลัก ในการขับร้องมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ การขับร้องร้องลงธรรมดาเพื่อเจรจาหรือรับด้วยเพลงดำเนินทำนองทั่วไป การขับร้องทำนองหุ่นตลก การขับร้องสำหรับรับด้วยเพลงเชิด รัว และเสมอ การขับร้องสำหรับรับด้วยเพลงโอด จากการศึกษาทั้ง 4 รูปแบบพบว่า มีการใช้กลวิธีขับร้องทั้งหมด 13 กลวิธี ได้แก่ การปั้นคำ การเน้นเสียงเน้นคำ การเล่นเสียง การเอื้อนสามเสียง การโปรย หางเสียง การสะบัดเสียง การกระทบ การช้อนเสียง การผันเสียง การครั่นเสียง การโยกเสียง และการลักจังหวะ
Other Abstract (Other language abstract of ETD)
This study aimed to study the contexts of puppet performance and to study vocal techniques accompanying the performance. It employed qualitative research methodology focused on Master Kanjanapakorn’s vocal techniques found in his performance to the story of Phra Apaimanee. The research findings showed that in 1893 M.R. Thaw Bhayakhasana developed a puppet anatomy and a technique of construction from Master Neng’s puppet model. He founded his puppet troupe known as Khun Thaw’s puppet troupe in Bangkok. His troupe led other puppet masters to the formation of further puppet troupes such as Nai Piak’s troupe, Nai Wing’s troupe. Phra Apaimanee was one of the most popular literature to be adapted for puppet shows accompanied by sacred repertoire, miscellaneous pieces, and phleng hoon krabok. The performance was accompanied by a pipat khraung ha ensemble. A saw-u presented the melodies of phleng hoon krabok. The vocal parts for the puppet performance can be divided into two categories: (1) singing secular pieces in moderate and fast tempo; (2) singing phleng hoon krabok, which often accompanied by saw/u melodies in thang klang hap. Four tyeps of vocal forms were identified: (1) normal ending in order to lead to either a speech dialogue or general melodies; (2) singing to a comedian puppet (3) singing to choed, rua, and sa-mer melodies; (4) singing oad melodies. According to these four types, thirteen vocal techniques were employed to execute all four types of vocal performances. Thirteen techniques included word formulation, dynamics-word accentuation, mirroring, triple wordless vocalization, gliding, high pitch sudden ending, two syllable decoration, upward vocalization, tonal precision, vocal spasm, vocal melisma, and syncopation.
Creative Commons License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-No Derivative Works 4.0 International License.
Recommended Citation
เลื่องลือ, นรพิชญ์, "กลวิธีการขับร้องเพลงหุ่นกระบอกเรื่องพระอภัยมณีของครูกัญจนปกรณ์ แสดงหาญ" (2021). Chulalongkorn University Theses and Dissertations (Chula ETD). 5159.
https://digital.car.chula.ac.th/chulaetd/5159